24/11/24 - 12:21 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: มีเรื่องปรึกษาเกี่ยวกับที่ดิน แม่ได้โอนที่ดินให้ลูก แต่ในที่ดินนั้นมีบ้าน  (อ่าน 7701 ครั้ง)

kb123401

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ มีเรื่องปรึกษาเกี่ยวกับที่ดิน
แม่ได้โอนที่ดินให้ลูก แต่ในที่ดินนั้นมีบ้านอยู่เป็นบ้านของบุคคลภายนอกโดยที่แม่ได้เซ็นยิมยอมให้สร้างในที่ได้ ลูกสามารถฟ้องรื้อถอนได้ไหมครับ หรือมีวิธีไหนบ้างครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
เจ้าของที่ดิน
  แม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในเมื่อไปยินยอม ให้ผู้อื่นปลูกบ้านบนที่ดินได้  เขาก็ย่อมมีสิทธิอาศัย ตามสัญญา หรือข้อตกลงนั้น  แม้ไม่จดทะเบียน ข้อตกลงนั้นก็ใช้ได้ ระหว่างคู่สัญญา คือ แม่ และ ผู้อาศัย  ถ้าจะให้เขาย้ายออกไป ก็ต้องเจรจาให้เขาย้ายออกในเวลาอันสมควร  ถ้าเขาไม่ย้ายออก แม่ก็ต้องฟ้องขับไล่ ถ้าเขาเป็น คนหัวหมอก็ต้องอ้างว่า ถ้าจะให้ย้ายออก ต้องจ่ายค่ารื้อถอน หรือค่าเสียหาย ซึ่งตามกฎหมาย ถ้าศาลให้รื้อถอน เจ้าของที่ดิน ไม่ต้องจ่ายค่ารื้อถอน   ถ้าไม่รื้อถอน  เจ้าพนักงานบังคับคดี  สามารถรื้อบ้านออกได้  โดยให้เจ้าของบ้า่นเสียค่าใข้จ่าย  แต่กว่าจะให้เขาย้ายออกไปได้ คงว่ากันหลายยก จนแม่ต้องปวดหัวพอสมควร  เพราะคุณแม่ลืมอ่านนิทานเรื่องชาวนากับงูเห่า แม่จึงต้องลำบาก ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
อ่านปัญหาแล้วก็น่าปวดหัวอยู่นะครับ เพราะทนายเข้าใจว่า ผู้ที่สร้างบ้านอยู่อาศัย ไม่เป็นญาติของเรา ก็ต้องเป็นคนที่สนิทกับครอบครัวกับเราจริงๆ มิเช่นนั้นก็คงไม่ได้สิทธิพิเศษอยู่ในที่ดินอันมีค่าดังทองคำเช่นนี้

เอาล่ะ ถามมาก็ตอบไป

จริงๆ ตามหลักกฎหมาย กรรมสิทธิในที่ดินเป็นของผู้ใด ผู้นั้นชอบที่จะใช้สอยที่ดินนั้นได้ หมายความว่า จะทำอะไรกับที่ดินก็ได้ เช่น ปลูกละมุด ลำใย มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะนาว มะพร้าว สมโอ ฟักแฟง แตงโม ชัยโย โห่เฮ้ววว...เอ้ย เยอะไป..แต่ก็เป็นหลักการนี้ครับ รวมทั้ง การจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นเข้ามาใช้ประโยชน์บนที่ดินของเราด้วย เช่นการให้เช่า การมอบกรรมสิทธิเหนือผืนดิน เช่น การให้ใช้ประโยชน์ การให้อยู่อาศัย เหมือนที่ท่านผู้ถามได้ถามมานี่แหละ

ดังนั้น เมื่อเป็นการให้สิทธิผู้อื่นเข้ามาใช้สอยบนที่ดิน ก็ต้องดูว่า สิทธิที่ว่า ครอบคลุมเนื้อหาเป็นแบบใด ชั่วคราว หรือตลอดไป ซึ่งในคำถามก็ไม่ได้บอกไว้ ก็เดาเอาว่าคงจะบอกกันปากเปล่า ไม่ได้ไปจดทะเบียนเป็นแน่แท้

หากเป็นเช่นนี้ เมื่อเเม่ได้โอนที่ดินเป็นของผู้ถามแล้ว ก็เป็นสิทธิของผู้ถามที่จะเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้น หากไม่มีสัญญาผูกมัดกับผู้ที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่ ก็ต้องทำหนังสือแจ้งไปว่า กรรมสิทธิในที่ดินได้เปลี่ยนมือแล้ว และเราไม่ประสงค์จะให้อยู่อาศัยอีกต่อไป ให้รื้อถอนออกไปในเวลาอันสมควร

แล้วไอ้เวลาที่สมควรมันนานมั๊ยอ่ะทนาย...อาจอยากจะถามต่อ...ไม่ต้องถามครับ...ตอบให้เลยว่า..กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ เอาตามวิจารณญาณทั่วไป ตามที่เราจะเห็นสมควรหรือเอาง่ายๆ หากเป็นเราถูกให้รือบ้านเราอยากจะได้เวลาเท่าใด...ก็เท่านั้นแหละครับ..ใจเขาใจเรา

อ้าว..ถ้าบอกแล้วเค้าไม่ยอมรือถอนออกไปล่ะ

ก็ไม่ยาก ฟ้องต่อศาลเพื่อใช้อำนาจศาลไปบังคับให้เค้าต้องออกไปตามข้อแนะนำของท่านมโนธรรมเลย คดีอย่างนี้ศาลพิจารณาไม่ยาก

แต่ที่ยากคือยากจะทำใจขับไล่นี่แหละทนายว่านะ...จริงมะ

ทนายพร