24/11/24 - 16:17 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ให้เขียนใบลาออกจากงาน  (อ่าน 4872 ครั้ง)

faeast

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ให้เขียนใบลาออกจากงาน
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2017, 04:54:44 pm »
เรียนคุณทนาย

     เรื่องมีอยู่ว่า  ภายในรั้วของบริษัทฯ  มีบ้านของเจ้าของบริษัทฯ อยู่ด้วย  ปรากฏว่า  วันหนึ่ง รั้วล็อกกุญแจไม่ได้  จึงซื้อกุญแจมาใหม่  โดยโทรคุยกับพี่บัญชีอีกคน  ให้ซ่อนกุญแจไว้ที่ไหน  ห้ามให้ใครรู้  จู่ๆ เมื่อเจ้าของกลับมา  หากุญแจไม่เจอ  จึงโทรติดต่อพี่คนนั้น  แต่ติดต่อไม่ได้  แทนที่จะไปหาพี่เค้าที่บ้าน  ซึ่งก็อยู่ใกล้ บริษัทฯ  แต่กลับมาหาเรา  ซึ่งน่าจะเป็นเวลา ห้าทุ่มกว่าแล้ว  ซึ่งเรานอนแล้ว  เราจึงไม่ลุกออกไป  วันรุ่งขึ้นเค้าจึงพักงาน เรา 7 วัน  เนื่องจากไม่ให้ความร่วมมือ  พอเรากลับไปทำงานหลังจากพักงาน 7 วัน  เค้าเอาใบลาออกมาให้เขียน  อ้างว่าบริษัทฯ ไม่ค่อยมีเงิน  และให้เงินเดือนเราอีก 1 เดือน  เราก้อเขียนในใบลาออก  แต่เขียนว่า  ไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน ประมานนั้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  เราต้องได้ค่าจ้างออก 300 วันใช่ไหมคะ  แต่เราเขี่ยนใบลาออกไปแล้ว  จะทำอย่างไรได้บ้างคะ

น้อง

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้เขียนใบลาออกจากงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 01:23:27 am »
ค่าชดเชย

  บริษัทจะจ่ายให้ตามระยะเวลาที่ทำงาน ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118...  จะได้ค่าชดเชย 300 วัน ต้องทำงานมาแล้ว 10 ปี ขึ้นไป...และถ้าไปเขียนใบลาออก สิทธิรับเงินชดเชย คงไม่มี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้เขียนใบลาออกจากงาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2017, 05:24:22 pm »
เป็นที่น่าเสียดายเลยครับกรณีนี้ ทนายเคยบอกไว้ในเว็บไซด์นี้หลายครั้งว่า หากอยากจะเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ก็อย่างไปหลงเซ็นต์เอกสารอะไรง่ายๆ ให้ถามผู้รู้ เพื่อจะได้เป็นการรักษาสิทธิของตนเอง

ซึ่งจากคำถาม อ่านแต่ต้น ตอบได้เลยว่าหากเรื่องถึงโรงถึงศาลคุณมีโอกาสชนะคดีสูงทีเดียว สั่งเหล้าให-ไก่คู่ ไว้รอได้เลย

แต่คดีมาพลัก

ตรงที่คุณผู้ถาม ไป "เซ็นต์ใบลาออก" นี่แหละ มันเป็นปัญหา

เพราะการที่เราไปเซ็นต์ใบลาออก ก็หมายความว่า เราสมัครใจและเป็นฝ่ายที่ไปขอเลิกนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างกับบริษัทนั่นเอง
เมื่อฝ่ายเราเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างเอง จึงไม่มีสิทธิไปเรียกร้องค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ หรือแม้แต่สิทธิตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ (เลิกจ้างไม่เป็นธรรม)

สรุปคือ เครสนี้ยากแล้วครับ เว้นแต่ บริษัทจะมีหนังสือเลิกจ้าง

ทนายพร