ถามมาสั้นๆ แต่เป็นข้อกฎหมายล้วนๆ
เอาเป็นว่า ทนายขอทำความเข้าใจก่อนว่า การนับวันแบบปกติ กับการนับวันฝากขัง จะไม่เหมือนกันโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
ซึ่งถ้าเป็นเรื่องฝากขังนั้น จะนับเป็น "ชั่วโมง" ตามความหนักเบาของข้อหาครับ ซึ่งแยกได้ดังนี้
๑. ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน ๗ วัน
๒. ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า ๖ เดือน แต่ไม่ถึง ๑๐ ปี หรือปรับเกินกว่า ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกัน ทั้งหมดต้องไม่เกิน ๔๘ วัน
๓. ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน ๘๔ วัน
ส่วนระยะเวลาเริ่มนับนั้น ให้เริ่มนับตั้งแต่พนักงานตำรวจผู้จับกุม นำตัวเราไปส่งมอบให้กับพนักงานสอบสวน หรือเอาง่ายๆ หากเราไปถึงสถานีตำรวจก็เริ่มนับเมื่อนั้นแหละครับ (ปัญหาที่พบคือถ้าเป็นคดียาเสพติด ตำรวจผู้จับกุมก็จะพาตัวผู้ต้องหาไปเก็บไว้ก่อน ยังไม่ส่งตัวให้พนักงานสอบสวน โดยอาจจะอ้างเรื่องการขยายผล หรืออาจรอเวลาให้ญาติผู้ต้องหามาเครียร์ เมื่อผู้ต้องหายังไปไม่ถึงพนักงานสอบสวน ระยะเวลาก็ยังไม่เริ่มนับนั่นเอง)
ส่วนการนับวันตามกฎหมาย เป็นไปตามประมวลกฎหมาย ว.แพ่ง มาตรา ๑๙๓/๓ โดยจะไม่นับวันแรก แต่จะนับวันถัดไปเป็นวันแรกครับ
ดังนั้น จากคำถาม ถามว่า โดนจับไวันที่ ๑๑ กันยายน มาศาลวันที่ ๑๓ กันยายน จะเริ่มนับเมื่อไหร่?
ทนายก็ตอบว่า คงจะเริ่มนับวันที่ ๑๔ เป็นวันแรกครับ ทั้งนี้จะต้องดูระยะเวลาครบกำหนดการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนเป็นหลักนะครับ
ทนายพร