24/11/24 - 05:09 am


ผู้เขียน หัวข้อ: โดนหักเงินเดือน ผู้ค้ำประกัน โดยยังไม่ได้ฟ้องร้องบังคับคดี  (อ่าน 12225 ครั้ง)

Skyton

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียน ท่านทนายพรที่เคารพ
        ข้าฯ ได้ค้ำประกันเงินกู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ดูได้ค้ำประกันในปีพศ. 2560 และในปีพ. ศ. 2561 ผู้กู้ได้มีได้ถูกคำสั่งให้พักราชการแล้วต่อมาผู้กู้นั้นไม่ได้ชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจจึงได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้ค้ำประกันว่าผู้กู้ไม่ได้ชำระหนี้สองงวดติดต่อกัน และหลังจากนั้น อีก 1 เดือนสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ได้ได้มีหนังสือแจ้งให้เข้าไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยใจความหนังสือมีประมาณว่าผู้กู้ได้ขาดสมาชิกภาพของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแล้ว และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หักเงินค่าหุ้น ของผู้กู้ เพื่อมาหักหนี้ ส่วนที่มีอยู่และส่วนที่เหลือ ได้เฉลี่ย ให้แก่ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบ ในจำนวน 4 คนที่ค้ำประกันผู้กู้ 1 คนและในข้อความระบุว่าหักเดือนละเท่าไหร่โดยจะหักเงินเดือนของผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้แต่ค่ากับพวกบางส่วนมีได้ลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าวแต่อย่างใด ต่อมา ทางสหกรณ์ ได้มีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อน 60 วัน ว่าลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ให้แก่ทางสหกรณ์  และหลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือน ค่ากับพวกก็ได้รับหนังสือจากสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจโดยได้แจ้งรายละเอียดในการที่จะต้องรับผิดชอบในหนี้ที่ผู้กู้ไม่ได้ชำระหนี้โดยระบุเป็นจำนวนเงินที่เฉลี่ยกันแล้ว 4 คนและระบุว่าจะหักเงินเดือนในเดือนถัดไปเป็นจำนวนตามที่ระบุในหนังสือที่แจ้งมาด้วยโดยที่ยังมิได้มีการฟ้องร้องบังคับคดี กับพวกข้าแต่อย่างใด
จึงอยากสอบถามกับท่านทนายว่า
ประเด็นที่ 1 สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ สามารถที่จะหักเงินเดือนของข้ากับพวกในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ได้เลยโดยไม่มีการฟ้องร้องได้หรือไม่
ประเด็นที่ 2 การหักเงินเดือนดังกล่าวโดยค่ากับพวกก็ไม่ได้เซ็นในหนังสือยินยอมให้หักชำระเงินเดือนของพวกข้าพเจ้านั้นเป็นการกระทำละเมิดต่อพวกข้าพเจ้าหรือไม่และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ประเด็นที่ 3 การที่สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจหักเงินข้าพเจ้ากับพวกโดยมีที่มิได้มีการฟ้องร้องบังคับคดีข้าพเจ้ากับพวกสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ข้าพเจ้ากับพวกโดยเร็วที่สุดเนื่องจากข้าพเจ้ากับพวกได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีพตามปกติ
จึงเรียนมายังท่านทนายเพื่อไขข้อกฎหมายดังกล่าวให้ข้าพเจ้ากับผู้ทราบเพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งมาณโอกาสนี้ด้วย

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
อ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อยนะครับ สำหรับผู้ค้ำประกัน แต่เท่าที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสหกรณ์ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานสหกรณ์ฯ ผู้ค้ำกับผู้กู้ ก็จะจับมือกันกู้และค้ำประกันให้แก่กันและกัน ก็ประมาณนี้

เอาละ มาเครียร์ข้อสงสัยตามที่ถามมาเลยละกัน

ผู้ถาม(คงจะเป็นข้าราชการตำรวจ) ถามว่า

ประเด็นที่ 1 สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ สามารถที่จะหักเงินเดือนของข้ากับพวกในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ได้เลยโดยไม่มีการฟ้องร้องได้หรือไม่?
ประเด็นที่ 2 การหักเงินเดือนดังกล่าวโดยค่ากับพวกก็ไม่ได้เซ็นในหนังสือยินยอมให้หักชำระเงินเดือนของพวกข้าพเจ้านั้นเป็นการกระทำละเมิดต่อพวกข้าพเจ้าหรือไม่และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
ประเด็นที่ 3 การที่สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจหักเงินข้าพเจ้ากับพวกโดยมีที่มิได้มีการฟ้องร้องบังคับคดีข้าพเจ้ากับพวกสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจคืนเงินจำนวนดัง?


ทนายก็ขอตอบว่า

ประเด็นที่ 1. ตอบว่า ต้องกลับไปดูในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า มีข้อความให้ยินยอมหักเงินเพื่อชำระหนี้แทนผู้กู้หรือไม่? และในการยินยอมให้หักเงินนั้น ต้องได้รับการยินยอมอีกครั้งก่อนหรือไม่? ซึ่งเรื่องนี้ ต้องเอาสัญญาค้ำประกันมานั่งดูตามตัวอักษรครับ ถ้ามีข้อความยินยอมและเราลงชื่อรับรองไว้ ก็เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา แต่จะรับผิดเพียงจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันเท่านั้นครับ

ประเด็นที่ 2 ตอบว่า ที่บอกว่าไม่ได้เซ็นต์ยินยอม คงจะหมายถึง หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความกระมัง ซึ่งกรณีนี้อย่างแรกต้องกลับไปดูตามที่ตอบในข้อ 1. ถ้าไม่มีการยินยอมไว้ตามข้อ 1 การที่สหกรณ์ทำหนังสือสัญญายอมฯ มาให้เซ็นต์ และเมื่อไม่เซ็นต์ยอม ก็ไม่สามารถหักเงินเดือนได้ครับ ซึ่งถ้าหักเงินไปก็เป็นการละเมิดล่ะครับงานนี้ เมื่อเป็นการละเมิดก็เป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายครับ ในทางกลับกัน หากเรายินยอมไว้ตามข้อ 1 แล้ว การที่สหกรณ์ทำหนังสือยินยอมฯมาให้เซ็นต์อีกครั้งหนึ่งก็เพื่อให้เกิดความรัดกุมและชัดเจนมากชึ้น และอย่าลืมว่า ในการค้ำประกันหนี้นั้น เป็นการค้ำประกันยอดหนี้ทั้งจำนวน มิได้แบ่งหนี้ออกตามส่วนตามจำนวนคนที่ค้ำ เมื่อสหกรณ์หารหนี้กับจำนวนคนค้ำประกันจึงได้ตัวเลขที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อจะได้รู้ยอดหนี้ของแต่ละคนที่ชัดเจน แต่ถ้าต้องฟ้องคดีกันจริงๆ ก็จะเป็นยอดหนี้รวมซึ่งผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนดังกล่าว และอาจถูกยึดทรัพย์บังคับคดีได้ (ดีหน่อยว่าเป็นข้าราชการไม่อยู่ในบังคับอายัดเงินเดือน) หากใครมีทรัพย์ก็จะถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อไป ลองกลับไปพิจารณาในข้อแรกดูนะครับ หรือจะแาส่งสำเนาหนังสือสัญญาคำประกันมาให้ทนายดูในเบื้องต้นทางอีเมล์ก่อนก็ได้ (e-mail : pornnarai2516@gmail.com) จะได้วิเคราะห์ให้แบบฟันธงครับ

ประเด็นที่ 3 ตอบว่า ถ้าเป็นการหักเงินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อย่างแรก ให้ทำหนังสือทวงถามไปถึงสหกรณ์ฯให้คืนเงินในทันที หรือถ้าปราณีก็ให้เวลาซักสามวันเจ็ดวัน(ฮา) หากไม่คืนก็ฟ้องศาลเพื่อให้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยครับ

ตอบครบทั้งสามประเด็นแล้วนะครับ หากสงสัยก็โทรสอบถามได้ครับ

ทนายพร

Nivamata

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ถือเป้ฯข้อมูลที่ดีครับผมจะได้เก็บไว้เป็นความรู้

WinWin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ขออนุญาตถามเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมนะครับ
   เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนผูักู้แล้ว ผู้ค้ำประกันต้องเป็นฝ่ายไปฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากผู้กู้เองใช่หรือไม่ครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ใช่ ครับ

BlackStarTh

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ถือว่าเป็นกรณีศึกษาดลนละครับดีนะที่เอามาแชรกัน ถือว่าเป็นความรู้จะได้ไม่เกิดกรณีแบบนี้อีก

Zearcrew

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
อันนี้เป็นเคสที่ไม่เคยเจอพึ่งรู้ว่ามีแบบนี้ด้วยหรอ