24/11/24 - 23:27 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: เรียกร้องเงินชดเชย  (อ่าน 6295 ครั้ง)

bopanupong

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
เรียกร้องเงินชดเชย
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2019, 09:16:34 pm »

เรื่องมีอยู่ว่า ปี58 นาง ก.ทำหน้าที่ตำแหน่งบัญชี
แต่บริษัทให้ดูแผนกอื่นด้วย HR ปัจจุบันไปทำอีกตำแหน่งของบริษัทในเครือ
ในขณะนั้นได้รับพนักงานใหม่เข้ามาโดย จะมีสัญญา 1 ฉบับให้พนักงานเซ็น ส่วนแรกเป็นข้อมูลพนักงานและส่วนท้ายจะมีเนื้อหาข้อบังคับการทำงานให้ลงนาม(แต่พนักงานดังกล่าวไม่ได้ลงนาม)

ต่อมาปี 62 บริษัทได้ทำการตรวจปัสสาวะพนักงานเพื่อสารเสพติด โดยที่ไม่ยินยอม และพนักงานดังกล่าวได้ส่งฉี่ให้กับพนักงานด้วยกันตรวจสอบ(แต่พิสูจน์แล้วว่าเป็นน้ำเปล่า)
ในเวลาถัดมาบริษัทได้แจ้งให้พนักงานดังกล่าวออก โดยไม่มีหลักฐานความผิดใดๆ เพียงแค่ว่าส่งฉี่เป็นน้ำเปล่า โดยที่พนักงานคนดังกล่าวไม่ได้เซ็นลาออก และบริษัทไม่ได้จ่ายค่าชดเชย

หลังจากนั้นพนักงานที่ถูกไล่ออกได้ไปแจ้งแรงงานว่า
1.บริษัทให้ออกโดยไม่บอกกล่าว
2.บริษัทไม่จ่ายค่าชดเชย

คำถาม
1.สัญญาข้อบังคับการทำงานเมื่อพนักงานไม่ยอมเซ็นรับทราบข้อบังคับ แต่บริษัทได้จ่ายค่าจ้างเสมอมา  ข้อบังคับดังกล่าวมีผลไหม เมื่อพนักงานไม่ยอมเซ็น  และได้ลงโทษ นาง ก. ด้วยหนังสือตักเตือนว่าสมัยทำ HR ควบไม่ดูเอกสารดีๆ

2.พนักงานที่ถูกให้ออกฟ้องประเด็นเรื่องไม่เเจ้งให้ออกล่วงหน้าและไม่จ่ายค่าชดเชย บริษัทแจ้งว่าเพราะไม่มีลายเซ็นข้อบังคับการทำงานสู้ไปก็แพ้ เลยยอมจ่ายค่าชดเชย
  ในประเด็นที่ 2 ในเมื่อบริษัทเป็นผู้เริ่มยกเลิกสัญญาด้วยวาจาก่อนเอง จะเกี่ยวกับลายเซ็นข้อบังคับการทำงานไหม

Deausmix

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียกร้องเงินชดเชย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 19, 2019, 10:33:13 am »
แล้วตอนนี้ได้เงินชดเชยหรือยังครับผม

bopanupong

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียกร้องเงินชดเชย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 19, 2019, 01:23:22 pm »
ตอนนี้พนักงานที่ถูกให้ออกได้รับเงินชดเชยแล้ว
แต่ นาง ก โดนใบตักเตือนว่า ไม่ดูเอกสารเรื่องเซ็นข้อบังคับเป็นเหตุให้บริษัทต้องเสียเงินชดเชยดังกล่าว
ปล.เมื่อวานลองโทรไปถามนิติศาลแรง แกบอกว่า ประเด็นเรื่องเซ็นไม่เซ็นไม่เกี่ยวกับเรื่องที่พนักงานให้ออกไปร้องนะ
เขาร้องเรื่องถูกเลิกจ้างโดยไม่เเจ้งล่วงหน้าและไม่ได้รับเงินชดเชย
ในเมื่อบริษัทกระทำเริ่มด้วยวาจาว่าไม่ต้องมาทำงาน ทางพนักงานก็หยิบประเด็นนี่ไปฟ้องเพื่อเรียกค่าชดเชย เขาไม่ได้ยิงประเด็นเรื่องเซ๋นไม่เซ๋นข้อบังคับการทำงาน

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียกร้องเงินชดเชย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 19, 2019, 04:13:56 pm »
เอาเป็นว่า ตอบตามที่ถามนะครับ

ถามว่า

1.สัญญาข้อบังคับการทำงานเมื่อพนักงานไม่ยอมเซ็นรับทราบข้อบังคับ แต่บริษัทได้จ่ายค่าจ้างเสมอมา  ข้อบังคับดังกล่าวมีผลไหม เมื่อพนักงานไม่ยอมเซ็น  และได้ลงโทษ นาง ก. ด้วยหนังสือตักเตือนว่าสมัยทำ HR ควบไม่ดูเอกสารดีๆ
อืมม...อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กับ สัญญาจ้างแรงงาน มันคนละเรื่องเลยนะครับ เพียงแต่ว่า สัญญาจ้างแรงงานก็จะมีส่วนหนึ่งในสัญญาว่าลูกจ้างจะต้องปฎิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ดังนั้น ไม่ว่าจะเซ็นต์รับทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ไม่ได้มีผลอะไร และถือปฎิบัติได้ ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้บริษัทจะต้องติดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้พนักงานทราบอยู่แล้ว และขอแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของบริษัทนะครับว่า กรณีที่จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสภาพการจ้างใดๆก็แล้วแต่ ก็ควรจะจัดอบรมหรือชี้แจงให้ความรู้กับพนักงาน ได้รับทราบ เพื่อจะปฎิบัติได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ
ส่วน นาง ก.ถูกลงโทษทางวินัยนั้น ทนายเห็นว่ามันคนละเรื่องเลยนะครับ เอาเป็นว่า ถ้านาง ก. เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ควรจะร้องทุกข์ไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดการร้องทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่ามีกำหนดไว้ในข้อบังคับฯอยู่แล้ว และหากยังไม่เป็นผล ก็สามารถฟ้องศาลเพื่อเพิกถอนใบเตื่อนได้ครับ

2.พนักงานที่ถูกให้ออกฟ้องประเด็นเรื่องไม่เเจ้งให้ออกล่วงหน้าและไม่จ่ายค่าชดเชย บริษัทแจ้งว่าเพราะไม่มีลายเซ็นข้อบังคับการทำงานสู้ไปก็แพ้ เลยยอมจ่ายค่าชดเชย
  ในประเด็นที่ 2 ในเมื่อบริษัทเป็นผู้เริ่มยกเลิกสัญญาด้วยวาจาก่อนเอง จะเกี่ยวกับลายเซ็นข้อบังคับการทำงานไหม

ข้อนี้ขอตอบว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นข้อกฎหมายนะครับว่า กรณีที่บริษัทจะเลิกจ้างต้องแจ้งเป็นหนังสือโดยต้องระบุความผิดในหนังสือเลิกจ้างนั้นด้วย ตามมาตรา 119 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น การที่นายจ้างแจ้งเลิกจ้างด้วยวาจาโดยที่ไม่ได้แจ้งเลิกจ้างเป็นหนังสือและไม่ได้ระบุความผิด จึงจะยกความผิดเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ในภายหลังไม่ได้นั่นเอง ไม่เกี่ยวกับว่าลูกจ้างจะเซ็นต์หรือไม่เซ็นต์รับทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามข้อกฎหมายที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นเเล้ว

หวังว่าจะเครียร์ในทุกคำถามนะครับ

ทนายพร.

bopanupong

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียกร้องเงินชดเชย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 19, 2019, 06:10:49 pm »
ขอบพระคุณคุณทนายพรเป็นอย่างสูงครับ

Thanaratt

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียกร้องเงินชดเชย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 23, 2019, 02:33:06 pm »
ตามเงินได้ยังครับ

Pavalned

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • gclub
Re: เรียกร้องเงินชดเชย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2019, 02:35:38 pm »
ขอให้สำเร็จนะค่ะ
FIFA555 the article on the website Fifa55. Inside, there will be an example of the picture with the illustration to be easy to understand. There are also videos to watch together as well. Which will start from the