24/11/24 - 03:11 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ผมขออนุญาติรบกวนสอบถามเรื่องการร้องเรียนที่โดนไล่ออกครับ  (อ่าน 4853 ครั้ง)

Chaowat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ คุณทนายพร ผมอยากจะสอบถามเรื่องการโดนไล่ออกจากงานเรื่องของเรื่องก็คือหัวหน้าให้ผมออกเนื่องจากมาสาย ก็คือวันที่ 20 สิงหาคมผมใด้เข้างานกะบ่ายแต่ผมมาสายแล้วผมขึ้นไปเพื่อที่จะสแกนนิ้วแต่ผมลืมสแกนเพราะผมดันไปนั่งคุยกับแม่บ้านจนลืมสแกน ( เครื่องสแกนนิ้วอยู่หน้าออฟฟิตและผมก้อขึ้นไปตั้งใจจะสแกนแต่แวะคุยเลยลืมครับ ) แล้วทีนี้นายจ้างก็โทรลงมาหาหัวหน้าช่างให้ตาผมขึ้นไป่่่่้นไปเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกให้ผมเขียนผมก้อเขียนนายจ้างก้อบอกว่าจะออกวันนี้หรือวันจันทร์ผมก้อบอกว่าแล้วแต่พี่ครับนายจ้างก็บอกว่าเงินออกวันนี้เลยผมก็เดินลงมาข้างล่างแล้วทีนี้ผมนึกขึ้นได้ว่าผมจะเขียนใบลาออกทำไมเพราะผมไม่ได้อยากลาออกผมก็เลยขึ้นไปขอใบลาออกก็คืนมาแล้วผมก็กลับบ้านเลย

1  ในเรื่องการการมาสายผมรู้ว่าสมควรโดนลงโทษแต่ผมไม่เห็นด้วยกับการให้ออก แล้วที่มาสายก้อโดนหักเงินค่ามาสายตลอด ( แต่ผมไปร้องเรียนที่กรมคุ้มครองแรงงานแล้ว )
2  ผมใด้ไปยื่นเรื่องขอเงินว่างงานแต่ประกันสังคมแจ้งว่านายจ้างแจ้งว่าปลดออกทำให้ผมเสียสิทธิ์ในการขอรับเงินว่างงาน ในกรณีแบบนี้ผมควรทำอย่างไรต่อไปครับ

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
นายจ้าง/ลูกจ้าง

   แม้ไม่ลาออก  แต่ถ้ากลับมาบ้าน ไม่ไปทำงานอีก  ติดต่อกัน 3 วัน ก็เป็นเหตุให้ ถูกเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยได้  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.119 (5)...ในระบการทำงานของเอกชน  การไปทำงานสายถือว่าเป็นเรื่องใหญ่  ดังนั้นต้องตระหนักในจุดนี้ให้มากครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
อ่านคำถามแล้วก็เหนื่อยใจแทน ทนายก็พยายามให้ความรู้ว่า หากเราไม่อยากลาออก ก็ไม่ต้องไปเขียนครับ เพราะถ้าเขียนใบลาออกเมื่อใหร่ คดีก็จบครับ เพราะถือว่าเราสมัครใจที่จะออกเอง เว้นแต่ ถูกบังคับ ขุ่มขู่ อันนี้ก็ว่าไป สู้ได้แน่นอน

ส่วนที่ถามมา ๒ ข้อว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้ออก แล้วไปร้องพนักงานตรวจแรงงานแล้วนั้น ก็คงต้องรอคำวินิจฉัยและคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานว่าจะวินิจฉัยอย่างไร หากวินิจฉัยแล้วไม่พอใจก็สามารถที่จะฟ้องเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ครับ

ส่วนประเด็นประกันสังคม นั้น แน่นอนว่า นายจ้างได้แจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนว่าเรากระทำความผิด (รหัส R๕) ประกันสังคมก็จะไม่จ่ายเนื่องจากเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายนั่น เอง จนกว่าเราจะพิสูจน์ได้ว่าเราไม่ได้กระทำความผิดตามที่นายจ้างกล่าวอ้าง แล้วให้นายจ้างไปแก้ไขข้อมูลการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมให้ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับการพูดคุยละครับ หากคุยได้ก็จบ หากคุยไม่ได้ก็ตงต้องพึ่งศาลล่ะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.