24/11/24 - 08:41 am


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ่้างออกคำสั่งให้จ่ายเงินค่าวันหยุดพักผ่อนสะสมประจำปีน้อยกว่าที่ระเบียบกำหนดไ  (อ่าน 3132 ครั้ง)

YANISA

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ในสถานประกอบกิจการมีระเบียบว่าด้วยการลาและการมาปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้คือเรื่องการเบิกเงินค่าวันหยุดพักผ่อนสะสมประจำปีสำหรับผู้้ที่เกษียณอายุ โดยระเบียบกำหนดไว้ว่า สามารถสะสมวันหยุดพักผ่อนสะสมได้มีไม่เกิน 60 วัน และให้เบิกได้เมื่อเจ้าหน้าที่เกษียณตามที่เหลืออยู่จริงแต่ไม่เกิน 60 วัน แต่นายจ้างมีคำสั่งให้กำหนดวันหยุดพักผ่อนให้หมด หากไม่หยุดถือว่าลูกจ้างสละสิทธิ์วันหยุด และไม่สามารถเบิกเป็นเงินได้ จึงอยากถามว่า ระเบียบนั้นถือเป็นสภาพการจ้างหรือไม่ ตั้งแต่มีระเบียบนี้มาผู้เกษียณก็เบิกเงินค่าวันหยุดพักผ่อนตามที่ระเบียบกำหนดไว้จนถึงปีที่แล้ว  และนายจ้างออกคำสั่งที่ขัดกับระเบียบหรือไม่ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ จะเป็นผู้เกษียณในเดือน ธันวาคม 2562 นี้ค่ะ

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
วันหยุดพักผ่อน

  เป็นสิทธิตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.30 และสามารถตกลงกันให้สะสม ในปีต่อๆไปได้..ระเบียบตามบอกมา น่าจะขัดต่อ กฎหมาย คงใช้บังคับไม่ได้

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
อย่างแรกให้ไปดูในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบว่าด้วยการหยุดพักผ่อนประจำปี ว่ากำหนดไว้ว่าอย่างไร

ซึ่งวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือการสะสม ถือเป็นสภาพการจ้าง หากจะออกระเบียบใดๆมาขัดหรือแย้งกับระเบียบปฎิบัติเดิมย่อมทำไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการออกระเบียบที่ "เป็นคุณ" แก่ลูกจ้างยิ่งกว่า หมายความว่า ออกระเบียบแล้วลูกจ้างได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในกรณีนี้ นายจ้างสามารถทำได้เลย

แต่ถ้าเป็นกรณี นายจ้างออกระเบียบหรือเงื่อนไขในภายหลังแล้วไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง กรณีนี้กฎหมายวางหลักไว้ว่า นายจ้างไม่สามารถกระทำได้ "เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยิม"

และหากดูที่เล่ามาก็จะเห็นว่า นายจ้างได้ออกคำสั่งให้ลูกจ้างใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมด หากไม่หมดถือว่าสละสิทธิ์ มีปัญหาว่า ระเบียบดังกล่าวบังคับได้หรือไม่ เพียงใด

เห็นว่า การที่นายจ้างออกคำสั่งให้ลูกจ้างใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมด นั้น สามารถกระทำได้ ส่วนลูกจ้างจะปฎิบัติตามหรือไม่นั้นเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะใช้หรือไม่ใช้ แต่กรณีที่นายจ้างระบุว่า "หากลาหยุดไม่หมดถือว่าสละสิทธิ์" กรณีอย่างนี้ นายจ้างไม่สามารถออกคำสั่งเช่นนั้นได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง

ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำในตอนนี้ คือต้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว เพราะถ้าเราไม่คัดค้านไว้ ก็เท่ากับเรายอมรับโดย "ปริยาย" ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้คำสั่งนั้นขอบด้วยกฎหมายนั่นเอง

ประมาณนี้ครับ

ทนายพร.