24/11/24 - 01:33 am


ผู้เขียน หัวข้อ: การยึดทรัพย์  (อ่าน 11094 ครั้ง)

นายกรกฎ

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
การยึดทรัพย์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2019, 11:25:35 pm »
สอบถามครับกรณีเราจำนำเล่มทะเบียนรถกับสถาบันการเงินเมื่อเดือนก.ค.2561และทำการผ่อนชำระต่อเนื่องเป๋นต้นมาแต่ยังไม่หมดได้ทำโอนลอยไว้แล้ว...ต่อมาเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสืบได้ว่าผมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวซึ่งผมไม่อาจชำระหนี้ได้ตามคำพิพากษา เช่นนี้เจ้าหนี้จะสามารถยึดรถยนต์ดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ได้หรือไม่ครับแต่เนื่องจากผมจำนำเล่มทะเบียนรถและโอนลอยไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วผมต้องทำอย่างไรครับ และรถดังกล่าวเป็นพาหนะซี่งผมใช้ประกอบอาชีพราคาซื้อมาแค่60,000บาทเองครับ

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
Re: การยึดทรัพย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2019, 02:19:38 am »


การบังคับคดี

  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  สามารถยึดรถไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้   เพราะเพียงโอนลอยไว้     ก็อ้างกับ สนง.บังคับคดีได้ว่า เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพ ที่ราคาไม่เกินหนึ่งแสนบาท อาจไม่ถูกยึดก็ได้  ตามป.วิแพ่ง ม.301 (2)  คงต้องยื่นคำร้องคัดค้านฯ ถ้าไม่ได้ผล คงต้องร้องศา่ล...

นายกรกฎ

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: การยึดทรัพย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2019, 10:41:22 am »
ถามต่อครับหากผู้รับจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์นำรถไปขายไปประมูลชายเพราะผมไม่ได้ผ่อนชำระต่อเล่มทะเบียนอยู่ที่เขาพร้อมชุดเอกสารโอนลอยของเพราะหากมีผู้ซื้อได้ไป ผมจะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้หรือไม่ครับเพราะแน่นอนรถต้องเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ ผมกังวลมากครับผมต้องทำอย่างไร  ขอคำแนะนำด้วยครับทั้งเจ้าหนี้ตามตำพิพากษา กับผู้รับจำนำเล่มทะเบียนไม่รู้จักกัน

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
Re: การยึดทรัพย์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2019, 01:12:39 am »


การโกงเจ้าหนี้
  ถ้าผู้รับจำนำ  นำรถไปขาย  คุณคงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนา  คือโอนลอยไว้แต่แรก ไม่ได้โอนเพื่อหนีหนี้...ถ้ามีการดำเนินคดี  ก็นำข้อเท็จจริงนี้ไปอ้างอิง หรือใช้เป็นข้อต่อสู้ให้พ้นผิดได้...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: การยึดทรัพย์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 04, 2020, 02:56:19 am »
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจนะครับ ปัญหาเช่นนี้หลายคนก็ประสพพบเจอ และการหาทางออกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เอาเป็นว่า ทนายขอให้กำลังใจทุกๆท่านให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะครับ

ที่ถามว่าจะมีความผิดมั๊ย ต้องทำอย่างไร?

เอาเป็นว่า อย่างแรก ท่านไม่ต้องคิดมากนะครับ ทำใจให้สบาย ไม่ต้องเครียด ทำมาหากินไปตามปกติ รถถูกยึดก็หาใหม่ได้

กรณีนี้รถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถาม เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตรวจสอบพบว่าเป็นทรัพย์สินของท่านก็สามารถที่จะยึดนำขายทอดตลาดได้ เว้นแต่ว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้ถูกโอนไปเป็นกรรมสิทธิของผู้อื่นก่อนที่จะมีคำพิพากษาหรือโจทก์ได้ใช้สิทธิในทางศาลแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ก็มิใช่ของท่านอีกต่อไป กรณีอย่างนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่สามารถยึดรถยนต์คันนั้นได้ แต่สามารถยึดทรัพย์สินอื่น(หากมี) ของท่านได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ

และหากไฟแนนท์ (คาดว่าน่าจะเป็นเงินด่วนติดล้อ เพราะเจ้านี้จะให้เซ็นต์ชุดโอนลอยไว้) ยึดรถท่านไป ก็ให้ไปครับ โดยปกติก็จะนำไปประมูลขาย โดยผู้ซื้อได้ก็สามารถนำไปโอนกรรมสิทธิ์ได้ หรือถ้าโอนไม่ได้ผู้ซื้อก็จะนำรถไปคืนบริษัทที่ประมูลและขอรับเงินคืน เว้นแต่มีเงื่อนไขว่าไม่รับผิดชอบการโอน

ส่วนจะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบ "ภายใน" หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "เจตนา"  หากท่านรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนี้บุคคลอื่นและบุคคลนั้นได้ใช้สิทธิทางศาล ท่านทำการจำหน่าย จ่าย แจก หรือกระทำด้วยประการอื่นใดให้ทรัพย์พ้นจากการครอบครองของท่านโดยเจตนาเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ อันนี้แหละงานจะเข้าครับ เพราะเข้าข่ายโกงเจ้าหนี้

เว้นแต่ว่า ท่านมีทรัยพ์สินอื่น เช่น เงินฝาก ที่ดิน ที่มีมูลค่ามากกว่ายอดหนี้ที่ท่านมีอยู่ ถ้าอย่างนี้ ก็ไม่เป็นไรครับ

เอาเป็นว่า ตอนนี้ท่านไม่ต้องทำอะไร ถ้าเป็นไปได้ ก็ติดต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ขอปรับโครงสร้างหนี้ หากพอผ่อนจ่ายได้ก็จ่ายไปครับ หรือถ้าไม่มีทางเลือกจริงๆก็ปล่อยไปเลยครับ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป รถจะถูกยึดก็ปล่อยให้ยึดไป หรือหากถูกฟ้องอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ ก็คงต้องติดต่อให้ทนายความอาสาช่วยเหลือได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.