23/11/24 - 23:17 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ลาออกจากงานสิ้นเดือนนี้ แต่โดนหักค่าจ้าง ไป 1 วัน  (อ่าน 12028 ครั้ง)

vitaya

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ข้อที่ 1. เป็นพนักงานรายเดือน จ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน ค่าจ้างออกทุกวันที่ 25 ของเดือน  โดยจะลาออกสิ้นเดือน พย.นี้ ทั้งนี้ตามระเบียบบริษัทต้องการแจ้งลาออกก่อนล่วงหน้า 30 วัน โดยได้บอกด้วยวาจากับหัวหน้างานในวันที่ 28 ตุลาคม ซึ่งรับทราบเป็นการทั่วไปกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริษัทจะให้เขียนใบลาออกโดยมีเอกสารมาให้เขียนในวันที่ 20 พย. โดยได้เขียนและยื่นใบลาออกในวันที่ 22 พย. ซึ่งในใบลาออกมีหัวข้อให้กรอกว่า "วันทำงานวันสุดท้าย...........(วันที่ลาออก)"  ซึ่งได้เขียนกรอกลงไปเป็นวันที่ 29 พย. 62 เนื่องจากวันที่ 29 เป็นวันศุกร์สุดท้ายของการทำงาน(ปกติบริษัทจะหยุดเสาร์-อาทิตย์) ซึ่งความต้องการจริงๆจะทำงานถึงสิ้นเดือนแต่ได้กรอกตามเอกสารไป 
     หลังจากนั้นเมื่อเงินเดือนออก ในใบเงินเดือนก็แสดงยอดเงินที่มีการหักเงินเดือนไป 1 วัน ซึ่งเมื่อถามทาง HR ก็ได้รับแจ้งว่าเดือน พย. ทำงานไม่ครบเดือนเนื่องจากทำงานขาดไป 1 วัน เลยจะไปขอเปลี่ยนแก้"วันทำงานวันสุดท้ายเป็นวันที่ 30 (วันที่ลาออก)" แต่ทาง HR แจ้งว่าไม่ได้เพราะเป็นวันหยุด(วันเสาร์)บริษัทไม่ได้ทำงาน จะเขียนวันนั้นไม่ได้
     จึงมีคำถามว่าบริษัทเขาสามารถหักเงินเดือนออก 1 วัน ได้หรือไม่ เพราะอะไรครับ

ข้อที่ 2. โดยปกติบริษัทนี้จะมีวันหยุดประจำสัปดาห์คือวันเสาร์และอาทิตย์  และจะมีวันหยุดต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดและวันหยุดเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ในส่วนของวันหยุดเพิ่มเติมที่เพิ่มเข้ามา  ทางบริษัทจะกำหนดให้มีการทำงานชดเชยวันหยุดดังกล่าวในวันเสาร์ทุกๆ 3 เดือน(ซึ่งหมายถึงจะทำงานในวันเสาร์ 1 เสาร์ทุก 3 เดือน) โดยจะมีปฎิทินกำหนดออกมาทั้งปีว่า วันเสาร์นั้นๆจะเป็นวันทำงานแทนวันหยุดเพิ่มเติมวันไหนเดือนไหน  ประเด็นในเรื่องนี้อยู่ที่การทำงานวันเสาร์ที่ผ่านมาล่าสุดได้มีการทำไปแล้วในเดือน กันยายน โดยได้กำหนดให้ไปหยุดในเดือน ธันวาคม  ซึ่งหมายความว่า ได้ลาออกสิ้นเดือน พย. ทำให้ดือนธันวาคมไม่ได้มาทำงานแล้ว
      จึงมีคำถามว่า วันที่ทำงานวันเสาร์ของเดือนกันยายน ที่ชดเชยวันหยุดเพิ่มเติมในเดือน ธันวาคม ที่ถูกกำหนดไว้แล้วนั้น  สามารถให้ทางบริษัทจ่ายเงินคืนกลับมาได้หรือไม่ เนื่องจากมีการลาออกก่อนที่จะมีการได้ใช้หยุดดังกล่าว

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

วิทยา

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
Re: ลาออกจากงานสิ้นเดือนนี้ แต่โดนหักค่าจ้าง ไป 1 วัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2019, 07:18:04 am »
การลาออก

  คุณไปกำหนดว่าทำงานถึงวันที่ 29   นายจ้างก็จ่ายเงินค่าจ้างให้ตามที่คุณแจ้ง  ถ้าจะนำหลักการที่คุณบอกมา ไปอ้างอิง  เพื่อให้ได้ค่าจ้างอีก  1 วัน ก็สามารถทำได้  แต่จะคุ้มหรือไม่ ต้องพิจารณาดูเอาเอง ครับ

vitaya

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: ลาออกจากงานสิ้นเดือนนี้ แต่โดนหักค่าจ้าง ไป 1 วัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2019, 08:41:56 am »
ที่กำหนดวันที่ 29 เนื่องจากในเอกสารให้กรอกว่าวันทำงานวันสุดท้าย  แต่ถ้าต้องการกำหนดวันที่ 30 ก็ทำไม่ได้เนื่องจากเขาบอกว่าเป็นวันหยุดจะให้เรากำหนดไม่ได้แล้วจะให้ทำอย่างไรครับ

เรื่องนี้หากไม่คุ้มก็ไม่ได้ต้องการที่จะสู้เพื่อจะเอา 1 วันคืน(เพียงแค่ พันกว่าบาท)  ประเด็นคือ เขาสามารถทำได้ใช่หรือไม่  และคิดว่ามันถูกต้องแล้วหรือไม่ตากหาก  เพราะถ้าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย  หลายๆคนก็ไม่น้อยและก็จะทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆโดยไม่คิดว่าผิดปกติ

เพราะฉะนั้น  ประเด็นคือ  เขาทำถูกกฎหมายแรงงานหรือไม่ โดยเขาสามารถหักเงินเดือนออกได้ใช่หรือไม่  (ทั้งที่เราต้องการจะกำหนดวันที่ 30 แล้ว แต่เขาไม่ยอมเจตนาคืออะไร)
 
และข้อ 2 ที่สอบถามไปกระทู้แรก  อยากทราบว่า   เขาทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ 

รบกวนครับ  ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2019, 09:56:53 am โดย vitaya »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เล่ามายาว แต่ถามมาแค่ ๒ ข้อว่า การกระทำของนายจ้างที่หักค่าจ้างไปหนึ่งวัน นั้นผิดกฎหมายหรือไม่ และที่ลูกจ้างทำงานชดเชย(คอม) ไว้ล่วงหน้าแล้วจะขอเป็นเงินได้มั๊ย ประมาณนี้

เอาเป็นว่า ข้อแรกก่อน การระบุว่าทำงานวันสุดท้ายในวันที่ ๒๙ แล้วนายจ้างจ่ายค่าจ้างแค่วันที่ ๒๙ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากหากระบุไว้ในใบลาออกว่าการลาออกให้มีผลในวันที่ ๓๐ ย้ำว่าในใบลาออกให้มีผลการลาออกในวันที่ ๓๐ กรณีอย่างนี้ ที่นายจ้างหักค่าจ้างไป ๑ วันนั้น ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ต้องไปนึกดูครับว่าได้เขียนไว้ว่าอย่างไร เพราะถ้าเขียนว่าให้มีผลการลาออกในวันที่ ๓๐ หรือวันสิ้นเดือน ข้อความการทำงานวันสุดท้ายในวันที่ ๒๙ ก็จะสิ้นผลไปทันทีเพราะวันที่ ๓๐ เป็นวันหยุด ซึ่งพนักงานรายเดือนวันหยุดก็ได้ค่าจ้างครับ

ดังนั้น ในข้อนี้จึงต้องว่า นายจ้างอาจทำถูกหรืออาจทำผิดกฎหมายก็เป็นได้ ตามที่ได้อธิบายเหตุผลไปข้างต้นละคร๊าบบบบบ

ส่วนข้อต่อมา ถามว่าจะได้ค่าแรงที่ทำชดเชยไว้คืนมั๊ย

ตอบว่า โดยปกติ ทำงานต้องได้รับค่าจ้าง ดังนั้น เมื่อท่านทำงานก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามกฎหมายครับ ถึงแม้จะผ่านมาหลายเดือนแล้วก็ตาม ก็สามารถไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ที่ท่านเคยทำงานอยู่ ให้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินจำนวน ๑ วันให้ก็ได้ครับ เรื่องนี้ง่ายๆ ไม่ยากครับ  ทั้งนี้ ต้องไปยื่นคำร้อง(คร.๗) ภายในกำหนด ๒ ปี นับแต่วันที่ท่านมีสิทธิได้รับค่าจ้างนะครับ หากเกิน ขาดอายุความครับ

คงครบถ้วนแล้วนะครับ ถ้ายังไม่ครบหรือยังสงสัยก็ถามเข้ามาใหม่ได้นะครับ

ทนายพร.