24/11/24 - 13:31 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: อยากลาออก แต่ติดสัญญาเรียนต่อ ของมหาลัย  (อ่าน 4536 ครั้ง)

seth_longinus

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
อยากลาออก แต่ติดสัญญาเรียนต่อ ของมหาลัย
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2020, 12:21:03 am »
สวัสดีครับ ทนายพร

คือ ผมทำงานเป็นอาจารย์(บรรจุแล้ว) ที่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งครับ คือ ผมอยากลาออกใจจะขาด แต่เนื่องจากติดสัญญาทุนเรียนต่อปริญญาโท แล้วในสัญญาบอกว่า ต้องใช้คืน 2 เท่า ซึ่งผมเรียนจบใน 4 ปี ต้องทำงานใช้คืน เป็น 8 ปี เอาปัจจุบัน ว่าง่ายๆ คือ สัญญาน่าจะหมดปี 2567-68 คำถามคือ ผมลาออกไม่ได้เลยใช่ไหมครับ ถ้าจะทำต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยอย่างเดียว

คำถามต่อมาครับ จากประเด็นตะกี้ คือ ทางม. จะมีเงื่อนไขตรงที่ว่า อาจารย์ต้องมีตำแหน่งผลงานวิชาการ หรือ เรียนต่อป.เอก ภายใน 5 ปี ซึ่งของผมจะมาในปี 64 แน่นอนว่า ผมไม่อยากเรียนต่อหรือมีผลงานตำแหน่งวิชาการอะไรทั้งนั้น เพราะอยากลาออก แต่ในเงื่อนไขนั้น บอกว่า ถ้าหลังจากนั้น 5 ปี ( ของผมคือ ปี 2564 ) ถ้าไม่มีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น จะให้ต่อสัญญาอีก 2 ปีหรือทำงานต่ออีก 2 ปี แต่จะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แล้วอีก 2 ปี( หมายถึง 2ปีไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนติดต่อกัน) ถ้ายังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าว ทางม. จะขอ"เลิกจ้าง" หมายความว่า ผมไม่ต้องชดใช้ทุนอะไรเพิ่มใช่ไหมครับ เพราะเขาเลิกจ้างผมตามที่กล่าวไป

สรุป เรื่องที่จะถามอีกทีนะครับ
1. ผมไม่สามารถลาออกจากม. เพราะว่าติดสัญญาทุนเรียนต่อใช่ไหมครับ ถ้าอยากลาออกต้องใช้เป็นเงินคืนอย่างเดียว
2. ถ้าภายในปี 64 ผมบอกว่า ผมไม่มีสามารถมีตำแหน่งวิชาการได้ ผมสามารถขอให้เขาเลิกจ้างได้เลยไหมครับ หรือต้องรอถึงปี 66 แล้วให้ทางม. เลิกจ้าง
3. หรือว่า มีวิธีอื่นบ้างไหมครับ ที่ทำให้ผมลาออกได้เร็วแล้วเจ็บตัวน้อยที่สุด

ขอขอบคุณ ทนายพร ล่วงหน้าครับ


มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากลาออก แต่ติดสัญญาเรียนต่อ ของมหาลัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2020, 01:51:48 am »
สัญญา...

1. ผมไม่สามารถลาออกจากม. เพราะว่าติดสัญญาทุนเรียนต่อใช่ไหมครับ ถ้าอยากลาออกต้องใช้เป็นเงินคืนอย่างเดียว

ตอบ...ใช่
2. ถ้าภายในปี 64 ผมบอกว่า ผมไม่มีสามารถมีตำแหน่งวิชาการได้ ผมสามารถขอให้เขาเลิกจ้างได้เลยไหมครับ หรือต้องรอถึงปี 66 แล้วให้ทางม. เลิกจ้าง
3. หรือว่า มีวิธีอื่นบ้างไหมครับ ที่ทำให้ผมลาออกได้เร็วแล้วเจ็บตัวน้อยที่สุด

ตอบ  2-3...ถ้าไม่สามารถมีตำแหน่งทางวิชาการ  อาจถูกเลิกจ้าง   แต่ต้องใช้ทุนคืน ตามสัญญา  อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย  ถ้าเกิดมีการเลิกจ้าง และให้ใช้ทุนคืน  คงต้องให้ศาลวินิจฉัย....ทางเจ็บตัวน้อยที่สุด ก็คือปฏิบัติตามสัญญา.... ตำแหน่งทางวิชาการ ถือเป็นความก้าวหน้าของตนเอง และเป็นชื่อเสียงเกียรติยศของสถาบัน  ไม่ว่าจะทำงานอยู่  ณ ที่ไหน  เรื่องพัฒนาตนเอง เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากลาออก แต่ติดสัญญาเรียนต่อ ของมหาลัย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 08, 2020, 11:45:14 pm »
ท่านอาจารย์ถามมาเกี่ยวกับปัญหาการรับทุน ซึ่งหลายๆท่านหลังจากที่ไปเล่าเรียนมาแล้ว จึงค้นพบตัวเองว่าไม่ได้ชอบงานสายนี้เท่าใหร่ จึงอยากจะเปลี่ยนเส้นทางเดิน แต่ก็ติดปัญหาที่ไปเซ็นต์สัญญาและเงื่อนไขการรับทุนไว้ อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหามีทางออกเสมอครับ

อาจารย์ถามมาเป็นข้อๆ ก็จะตอบเป็นข้อๆเหมือนทำข้อสอบเลยนะครับ ;D

ถามว่า..
1. ผมไม่สามารถลาออกจากม. เพราะว่าติดสัญญาทุนเรียนต่อใช่ไหมครับ ถ้าอยากลาออกต้องใช้เป็นเงินคืนอย่างเดียว
ตอบ ลาออกได้ แต่ก็ต้องปฎิบัติตามสัญญาครับ แต่ไม่ต้องกังวล มีเวลาพอให้ตั้งตัวครับ เพราะหลังจากที่ลาออก กว่าจะยื่นฟ้องก็อีกหลายเดือนอยู่ครับ อาจจะคิดอะไรดีๆหรือหาทางออกก็เป็นได้ครับ

2. ถ้าภายในปี 64 ผมบอกว่า ผมไม่มีสามารถมีตำแหน่งวิชาการได้ ผมสามารถขอให้เขาเลิกจ้างได้เลยไหมครับ หรือต้องรอถึงปี 66 แล้วให้ทางม. เลิกจ้าง
ตอบ จริงๆ ทนายอยากดูสัญญาว่าเขียนไว้อย่างไร เพราะจะดูประเด็นนี้แหละครับว่า หากมหาวิทยาลัย เลิกจ้าง ผลของสัญญาเป็นอย่างไร ต้องชดใช้ทุนตามข้อ ๑ หรือไม่ ถ้าไม่ ก็ต้องไปหาวิธีให้ ม. เลิกจ้าง แต่จะไปบังคับให้ ม. เลิกจ้างคงเป็นไปไม่ได้แน่ครับ

3. หรือว่า มีวิธีอื่นบ้างไหมครับ ที่ทำให้ผมลาออกได้เร็วแล้วเจ็บตัวน้อยที่สุด
ตอบ การที่จะให้เจ็บตัวน้อยที่สุดคือ เลิกคิดเรื่องลาออก แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำผลงานทางวิชาการตามเงื่อนไข ซึ่งไม่น่าจะยากมากมายนัก อาจจะหาผู้ช่วยเก่งๆมาช่วยเขียนช่วยค้นคว้าก็ได้ ไม่แน่ว่า ทำๆไปอาจจะชอบก็ได้ เมื่อครบกำหนดเงื่อนไขการรับทุนคือ ๘ ปีหรือปี ๖๘ หรืออีก ๕ ปีข้างหน้า ค่อยว่ากันอีกที หรือหากคิดว่าระยะเวลา ๕ ปีนี้ หากออกไปทำงานอื่นจะมีรายได้มากว่ายอดเงินที่จะต้องคืนทุนไม่น้อยกว่า ๑๐ เท่า ก็อย่ารอเลยครับ เข้าไปคุยกับอธิการฯ ขอเจรจาแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความและชดใช้ทุนตามที่ตกลงกัน ก็จะเป็นทางออกที่ดีอีกทางหนึ่งครับ

คำตอบและข้อแนะนำก็มีประมาณนี้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
[/color][/size]