24/11/24 - 07:46 am


ผู้เขียน หัวข้อ: กฏระเบียบของหมู่บ้านจัดสรรกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (อ่าน 11428 ครั้ง)

Koolz

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียน ท่านทนายพร ครับ

ผมรบกวนขอสอบถามแนวทางปฏิบัติของกฎระเบียบหมู่บ้านที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ครับ

พอดีที่หมู่บ้านจัดสรรที่ผมอาศัยอยู่ มีนิติบุคคลที่กำลังจะดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับการให้ผู้มาติดต่อกับผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้าน ต้องนำบัตรประชาชนมาแลกกับใบสำหรับให้ผู้อยู่อาศัยของบ้านที่จะไปติดต่อด้วยประทับตราเพื่อใช้สำหรับขาออกจากหมู่บ้าน (แลกบัตรประชาชนคืน) และทางนิติบุคคลมีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านต้องลงบันทึกชื่อ-นามสกุลของผู้มาติดต่อทุกคน รวมถึงเลขบัตรประจำตัวประชาชนและเบอร์โทรศัพท์ในสมุดของทางหมู่บ้านที่นิติบุคคลได้เตรียมไว้ทุกครั้งที่มีผู้มาติดต่อจากภายนอกหมู่บ้าน และต้องนำบัตรประชาชนที่ผู้ที่แลกไว้ไปส่องที่หน้ากล้อง CCTV ที่ติดไว้บริเวณป้อมยามเพื่อบันทึกหน้าบัตรประชาชนของผู้มาติดต่อด้วย

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ผมเลยอยากทราบว่า ในกรณีที่ผมแจ้งตามด้านบน สามารถกระทำได้โดยไม่ผิดพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ครับ และถ้าจะทำให้ข้อระเบียบดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกฏหมายฉบับนี้ ควรต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างครับ

ขอบคุณครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  พ.ศ. 2562

  พรบ.นี้ เพิ่งประกาศใช้ใหม่ ยังไม่ถึงปี  มีรายละเอียดและข้อปฏิบัติมากมายพอสมควร ควรดาวน์โหลดมาอ่านทำความเข้าใจให้ถ่องแท้  แต่หลักการหนึ่งที่พึงยึดถือไว้ให้มั่นคง  คือ หลักสุจริต  ตาม ม.22 ม.23  และการได้รับความยินยอมจากเจัาของข้อมูลเป็นสำคัญ  ถ้ากระทำการใดๆโดยสุจริต  ย่อมเป็นเกราะคุม้ภัยได้เสมอ...
   ข้อเท็จจริงที่บอกมา ถึง มาตรการรักษาความปลอดภัยของนิติฯของหมู่บ้าน ถือเป็นมาตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  คงไม่มีความผิด   แต่อยากแสดงความเห็น ขอให้ลด ความเข้มงวดลง เพื่อความพึงพอใจของผู้เข้าออก หรือมาติดต่อในหมู่บ้าน เช่น ไม่จำเป็นต้องแลกบัตรฯ เพียงขอดูบัตรฯ และขอนุญาตเจ้าของบัตรฯ ถ่ายสำเนาเก็บไว้ และมีตรายางประทับสำเนาบัตรฯว่า ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านเท่านั้น และระบุไว้ชัดเจนว่า สำเนาบัตรฯนี้ จะเก็บไว้ไม่เกิน 30 วัน เป็นต้น โดยระบุระบบการทำลายเอกสารที่ชัดเจน...การนำบัตรฯไปส่องที่กล้องฯ ไม่ควรจะต้องทำ  เพราะคงเกิดความรู้สึกไม่ดีกับผู้มาติดต่อ เพียงมีสำเนาบัตรฯ ก็น่าจะป้องกันปัญหาต่างๆ ได้พอสมควร  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เป็นคำถามที่ดีมาก...ซึ่งเราๆท่านๆ จะต้องรู้เรื่องนี้ ซึ่ง เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ มีกฎหมายเฉพาะที่ออกมาใหม่ เรียกว่า "พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วบางเช่น หมวดที่ ๑ และหมวดที่ ๔ ส่วนที่เหลือจะมีบังคับใช้หลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ๑ ปี ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจาฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๖๒ จึงมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม ๖๓ เป็นต้นไปครับ

อยากให้ทุกท่านอ่านและทำความเข้าใจนะครับ เพราะเป็นเรื่องไกล้ตัว

เอาล่ะ...มาที่คำถามที่ถามว่า...จะบันทึกบัตรประชาชน จดชื่อที่อยู่ เลขบัตรประชาชน ในกรณีเข้าหมู่บ้าน ซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคล จะได้มั๊ย จะผิดมั๊ย?

ก็ตอบว่า จากที่ถาม กับ พรบ.คุ้มครองข้อมูลฯ นั้น จะมีความเกี่ยวข้องกันพอสมควร ซึ่งกรณีผู้ "ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" จะดำเนินการเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้ ซึ่งการยินยอมต้องยินยอมโดยชัดแจ้งด้วย ยกเว้น เป็นกรณีที่การเก็บข้อมูลนั้นเป็นไปตาม มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๖ ก็สามารถกระทำได้

ในความเห็นของทนาย...การแลกบัตรโดยไม่ต้องถ่ายรูปไว้ การจดชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ แต่การจะไปจดเลขบัตรประชาชนหรือถ่ายรูปบัตรประชาชนไว้ อันนี้อาจจะเกินไป เพราะอาจจะมีมิจฉาชีพนำไปหาผลประโยชน์ได้ และอาจจะมีความผิดตาม พรบ.นี้ เพราะเจ้าของขัอมูลไม่ได้ให้ความยินยอมโดยชัดแจ้ง

ดังนั้น ทางออกก็คงหาวิธีที่จะรู้ว่าใครเข้าหมู่บ้าน ด้วยวิธีแลกบัตร และให้เปิดกระจกรถ แล้ววิ่งผ่านกล้องวงจรปิด ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีครับ

ทนายเคยเข้าไปหมู่บ้านหรูๆ ที่มีความเข้มงวดมาก เค้าใช้วิธีสอบถามว่าจะไปพบใคร แล้วโทรไปถาม (รปภ.มีเบอร์โทรภายในทุกบ้าน) ว่ารู้จักกับเรามั๊ย หรือได้นัดใครไว้มั๊ย ถ้าโอเคร ก็ให้เข้าไป ถ้าไม่โอเคร ก็ให้รออยู่หน้าป้อม รปภ. ประมาณนี้

ในกรณีที่มีการถ่ายรูปบัตรประชาชนก่อนเข้าไปในพื้นที่ มีพบอยู่ที่เดียวคือ ศาล  ซึ่งเดี๋ยวนี้ถ่ายรูปทุกศาล ตั้งแต่มียิงกันตายในศาลก็เข้มงวดมากเลยทีเดียว แต่จะนานเท่าใดไม่รู้ครับ ;D ;D ;D

คงครบถ้วนสำหรับข้อสงสัย หากยังคงใจ ก็สอบถามเข้ามาใหม่ได้ครับ

ทนายพร.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2020, 01:40:04 pm โดย ทนายพร »