24/11/24 - 08:28 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง  (อ่าน 3466 ครั้ง)

Tansaya

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง
« เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2020, 07:07:22 pm »
สวัสดีค่ะ ทนายพร พี่มีเรื่องขอคำปรึกษาค่ะ
      บริษัทปิดกิจการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 กุมภา พอสิ้นเดือนกุมภาก็จ่ายเงินเดือนเข้าบัญชีให้ตามปกติ
      วันที่ 23 มีนา ทางบริษัทได้เรียกพนักงานทุกคนเข้าไปเพื่อให้เซ็นต์ใบลาออกแล้วรับเงินเดือนของเดือนมีนาคมเป็นเงินสด พี่ไม่ได้เซ็นต์เพราะมองว่าสิ่งที่บริษัททำมันผิดกฎหมาย ทางบริษัทบอกว่าเค้าให้พนักงานทุกคนพ้นสภาพพนักงานตั้งแต่วันที่ 20 มีนาแล้ว ถ้าใครไม่เซ็นต์ก็ไม่ต้องรับเงินเดือนของเดือนมีนา พี่ไปที่กรมแรงงานยื่นคำร้องเรื่องค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง
      ยื่นคำร้องวันที่ 23 มีนา ผ่านไปประมาณ 10 วันพนักงานตรวจแรงงานเรียกคุยกันทั้ง2ฝ่าย ทางบริษัทขอจ่ายค่าชดเชยแค่ 2 เดือน พี่ไม่ตกลง  (ตามอายุงานพี่ต้องได้ค่าชดเชย 400 วัน) พอตกลงกันไม่ได้ทุกอย่างก็เงียบไป
      วันที่ 25 เมษา ทางบริษัทโอนเงินเดือนของเดือนมีนาเข้าบัญชีให้พี่แล้วโทรมาบอกว่ายังไม่ไ้ด้ให้พี่พ้นสภาพพนักงาน แล้วให้พี่ไปลงทะเบียนกับประกันสังคม เพื่อขอรับเงินชดเชยโควิด 62 % เป็นเวลา 3 เดือน ทางบริษัทบอกว่าส่งชื่อของพี่ไปที่ประกันสังคมเพื่ิอขอรับสิทธิ์ในฐานะพนักงานตั่งแต่วันที่ 1 เมษา
        **ทางบริษัทไม่เคยเปิดดำเนินกิจการใดๆตั้งแต่วันที่ 1 กุมภา และทางบริษัทขอบัตรพนักงานคืนทุกคนรวมทั้งของทุกอย่างใน ล็อคเกอร์ก็ให้พนักงานทุกคนเอาออกมาทั้งหมด
       พี่งงไปหมดแล้วว่าจะทำยังไงต่อไปพี่ไม่ได้อยากเป็นพนักงานของทางบริษัทแล้ว
( อายุงาน 22 ปี ปัจจุบันพี่อายุ 59 )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 04, 2020, 01:18:13 am โดย Tansaya »

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2020, 04:52:25 am »
ค่าชดเชย

  เมื่อถูกเลิกจ้าง  ต้องได้ค่าชดเชย  เมื่อมีการร้องเรียน   นายจ้างก็พยายามให้ลูกจ้างยังคงมีสถาพการเป็นลูกจ้าง  เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย  (ความเห็น) ถ้าในความเป็นจริงมีการเลิกจ้าง  เมื่อไม่จ่ายเงินชดเชย  ก็ต้องฟ้องศาลแรงงาน...คุณก็แก้ปัญหาได้ถูกทางแต่แรก เมื่อไม่ได้รับความเป็นการร้องพนักงานฯ เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้คงต้องฟ้องศาลแรงงาน...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2020, 05:03:57 pm »
ต้องขออภัยที่ตอบช้านะครับ เอาเป็นว่า แจ้ง ณ ที่นี้เลยว่า ถ้าเครสเร่งด่วนต้องการคำปรึกษา ให้โทรมาได้เลยครับ หรือฝากคำถามไว้ที่อีเมล์พร้อมเบอร์โทรของทนายก็ได้

ส่วนเครสนี้ได้โทรถามและได้อธิบายแล้ว แต่เพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบและเป็นแนวทางจึงจะตอบให้ทางเว็บไซด์อีกทางหนึ่ง

ถามว่า จะทำงัยดี?

เอาเป็นว่า เมื่อร้องพนักงานตรวจแรงงานแล้ว (เขียนคำร้อง คร.๗) ก็ต้องรอให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำวินิจฉัยก่อนว่า เรามีสิทธิจะได้รับเงินค่าชดเชยหรือไม่

ซึ่งจากพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า บริษัทพยายามจะแก้ตัวว่าไม่ได้เลิกจ้าง แต่เป็นการหยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งการหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา ๗๕ นั้น "มิใช่เหตุสุดวิสัย" ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ เมื่อไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ก็ต้องจ่ายเงินตามมาตรา ๗๕ เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน และ พรบ.ควบคุมโรคติดต่อ ให้ปิดสถานประกอบการเพราะไวรัสโควิด จึงจะถือว่าเข้าเหตุสุดวิสัย จึงจะไปใช้สิทธิที่ประกันสังคมกรณีว่างงาน แต่ถ้าผู้ว่าไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดก็ถือว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย(เงินตามมาตรา ๗๕ นี้ ไม่ใช่ค่าจ้าง ตามแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๗๖๗๕/๒๕๔๘) แต่ตามกฎหมายประกันสังคม ได้ประกาศให้ ไวรัสโควิด - ๑๙ เป็นเหตุสุดวิสัย ให้มีสิทธิได้รับเงินกรณีว่างงาน

ดังนั้น ดูว่าเมื่อครบรอบการจ่ายเงินในเดือนเมษายน บริษัทโอนเงินเข้าบัญชีเราหรือไม่ และถ้าเข้า เข้าเท่าใหร่ เต็มร้อย หรือ ๗๕

แต่ถ้าไม่เข้าเลย ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ได้บัญญัติว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป"

ดังนั้น เมื่อไม่ได้ทำงานและไม่ได้ค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้วครับ

เอาเป็นว่า รอคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานก่อนนะครับ ผลเป็นประการใดเเจ้งให้ทนายทราบด้วยก็จะดีมากเลยครับ

ทนายพร.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2020, 05:08:19 pm โดย ทนายพร »

Tansaya

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2020, 08:15:39 pm »
สวัสดีค่ะตอนนี้มีคำสั่งการจาก พนง.ตรวจแรงงาน ออกมาว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากยังเป็นพนักงานของบริษัท  ไปถามนิติกรที่ศาล ก็บอกมาว่าให้พี่ไปหาหลักฐานและข้อมูลเพื่อมาหักล้างคำสั่งการนี้ ถึงจะขออุทรณ์ได้ ควรทำยังไงต่อดีคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2020, 09:08:08 pm »
เครสนี้ ทนายได้อ่านคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ปรากฎข้อเท็จจริงจากการสอบข้อเท็จจริงว่า บริษัทถูกปิดตามคำสั่ง ศบค. จึงถือเป็นเหตุสุดวิสัย จึงได้ให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิว่างงานกับสำนักงานประกันสังคม กรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ ๖๒ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย และนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงมีอยู่

แต่มีข้อสังเกตุจากคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานว่า คำสั่งให้ลูกจ้างหยุดตั้งแต่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเริ่มดีขึ้น กละ ศบค.ได้ออกประกาศให้บางประเภทกิจการเปิดดำเนินการได้แล้ว ยังจะถือว่าเป็นเหตุสุดวินัยหรือไม่? ซึ่งหากไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวินัยแล้ว ลูกจ้างต้องมีสิทธิได้รับเงินในอัตราร้อยละ ๗๕ ของค่าจ้าง ตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑

ซึ่งหากอยากรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ คงต้งไปขอสำเนาหนังสือแจ้งหยุดกิจการชั่วคราว ที่นายจ้างได้แจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวิเคราะห์

ทั้งนี้ หากเห็นว่าคำสั่งไม่ถูกต้อง ก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือคำสั่งล่ะครับ

ทนายพร.