18/04/24 - 18:36 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ทำผิดกฎของบริษัทแต่ไม่ได้รับการเตือนจาก ผจก. โดนลงโทษโดยการพ้นสภาพพนักงาน  (อ่าน 3918 ครั้ง)

Kraken

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ เพื่อนโดนลงโทษโดยการให้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน(โดนไล่ออก)เนื่องด้วยทำผิดกฎของบริษัทแต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง คือทางบริษัทห้ามไม่ให้เล่นโทรศัพท์มือถือ หรือ แอบหลับนอนในพื้นที่การทำงาน ซึ่งเพื่อนผมทำสองข้อข้างต้น แล้ว ผจก.มาเจอจึงกล่าวโทษว่าทำผิดกฎของบริษัท แต่ความผิดที่ทำนั้นคือความผิดครั้งแรก ไม่มีการเตือนด้วยวาจา หรือ ออกหนังสือเตือน แต่ ผจก. แผนกกลับลงโทษโดนการให้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน อยากทราบว่า ผจก. มีสิทธิ์สั่งปลดพนักงานหรือไม่ และเราสามารถเอาผิด ผจก. แผนกได้หรือปล่าว

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
การเลิกจ้าง 

  มีระบุไว้ ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  ม.119  คือ....

มาตรา ๑๑๙  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ในกรณี (๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

    การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

ตามข้อเท็จจริง   การเล่นมือถือ   หรือ แอบหลับนอนฯ  นายจ้างอาจจะถือว่า เป็นกรณีร้ายแรง  ที่นายจ้างไม่ต้องเตือน ตาม ม.119(4) จึงสามารถเลิกจ้างได้....จะร้ายแรงหรือไม่ เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง  และปัญหาข้อกฎหมาย ประกอบมุมมองของแต่ละคน โดยเฉพาะนายจ้าง เรื่องแบบนี้ ต้องใช้การเจรจาต่อรองกัน   ถ้าไม่ได้ผล   คงต้องฟ้องศาลแรงงานให้วินิจฉัยว่า เป็นการเลิกจ้างที่ชอบหรือไม่....

Kraken

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
ขอทราบอีกเรื่องนะครับ ผจก.แผนกมีสิทธิ์ตัดสินใจแทนนายจ้างหรือต้องส่งเรื่องให้ทางHR ทำการสอบสวนก่อนถึงจะมีสิทธิ์ตัดสินใจครับ แล้วในกรณีแบบนี้เราต้องรอหนังสือเลิกจ้างจากทางบริษัทมั้ยครับ ??
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2021, 12:18:23 pm โดย Kraken »

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
การบริหารงานในบริษัท

   จะมีการแต่งตั้งตัวแทนฯ มาบริหารจัดการเรื่องต่างๆในบริษัท คือผู้จัดการ ดังนั้นการกระทำการของ ผจก.  ย่อมได้รับไฟเขียวจาก ซีอีโอ (ประธานกรรมการบริหาร) และน่าจะเป็น นโยบายของบริษัท...ส่วนเรื่องเอกสารการเลิกจ้าง ควรรับจากบริษัท  เพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน...

Kraken

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
กรณีเอกสารเลิกจ้าง จะมีผลต่อการสมัครงานมั้ยครับ เช่นโดนเลิกจ้างเนื่องจากทำผิดกฎของบริษัท(แต่ไม่ร้ายแรง) บริษัทจึงประสงค์จะเลิกจ้างพนักงาน พอเราไปสมัครงานที่ใหม่ประวัติตรงนี้จะส่งผลในการสมัครงานของเรามั้ยครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ใบผ่านงาน

    ก็ต้องเป็นไปตาม ปพพ. ม.585  คือ...."มาตรา ๕๘๕  เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร่และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร"....ส่วนเรื่องความผิดที่ต้องถูกเลิกจ้าง  จะมีระบุไว้หรือไม่  คงเป็นไปตาม นโยบายของบริษัทนั้นๆ....หลักการสำคัญ  ที่กฎหมายให้มีใบผ่านงาน เพื่อ ประโยชน์ของลูกจ้าง เป็นสำคัญ  เพื่อให้มีโอกาสไปสมัครงานใหม่  กรณีเคยผ่านงานมา คงได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ.....กรณีแบบนี้คงต้องใช้การเจรจาปราศรัยกับ  นายจ้างหรือตัวแทน  แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ให้เขา เพียงระบุว่า ทำงานงานนานเท่าไร และงานนั้นคืองานอะไร  ตามที่กฎหมายกำหนด  ถ้ามีพฤติกรรมแบบจากกันด้วยดี นายจ้างไม่น่าจะมีความอาฆาตมาดร้าย ขอให้โชคดี ครับ

 

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
อ่านแล้ว ถามแทนเพื่อน....ว่างั้น ;D

เอาเป็นว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นความผิดครั้งแรก ต้องดูพฤติการณ์ของการกระทำความผิดนั้นประกอบด้วย เช่น อาจบอกว่า เล่นโทรศัพท์ขณะปฎิบัติหน้าที่ แต่การเล่นโทรศัพท์นั้นก่้มหน้าก้มตาเล่น ไม่สนใจงาน ส่งผลต่องานทำงานงานเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายบาท อย่างนี้จะถือว่าเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อ ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ส่วนจะร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงก็อยู่ที่มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น จะตีความเพียงเล่นโทศัพท์แล้วถูกเลิกจ้างไม่ได้ ต้องดูผลของมันด้วยว่าเป็นเช่นไร และกรณีนอนหลับก็เช่นกันครับ

ส่วนอำนาจของหัวหน้างานจะเลิกจ้างได้หรือไม่นั้น ให้ไปดูใน "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน" ว่าให้อำนาจในการเลิกจ้างหรือไม่? แต่โดยปกติเท่าที่สัมผัสจากการเป็นคนงานในโรงงานมาหลายสิบปี หัวหน้าแผนกมักมีอำนาจในการเลิกจ้างด้วย

ทั้งนี้ ไม่ต้องห่วงเรื่องหนังสือเลิกจ้างนะครับ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร หากเห็นว่า เราถูกเลิกจ้างโดยกังขาว่าจะถูกกลั่นแกล้งหรือเกินกว่าเหตุ ก็ให้ไปใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้มีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชยให้เราได้ครับ รวมแจ้งไปที่บริษัทเพื่อขอหนังสือรับรองการทำงานหรือที่เรียกว่าใบผ่านงาน ด้วย

ส่วนประเด็นเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องเครียร์ "พฤติการณ์" หรือ "ผล" ให้ชัดเจนเสียก่อนว่าเรามีความผิดหรือไม่ เพียงใด หากเราไม่ได้ทำผิดหรือมีความผิดแต่ไม่ร้ายแรง หรือมีลักษณะกลั่นแกล้ว ก็อาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ มีสิทธิได้รับความเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.