24/11/24 - 08:00 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ลาออกจากงานแต่บริษัทจะไม่จ่ายคอมมิชชั่น  (อ่าน 6085 ครั้ง)

Giant80011

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ผมทำงานเป็นเซลล์ ทำงานตจว.ประมาน20-22 วันต่อเดือน

ผมยื่นจดหมายลาออกในวันที่30/06แลให้มีผลใช้บังคับทันที่ มีการอนุมัติจาก ผจก. เรียบร้อย
และเกิดเหตุขึ้นมาว่า ทาง บริษัทจะไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่น เพราะลาออกกระทันหัน  อยากทราบว่าผมสามารถทำอย่างไรได้บ้าง
****** ปล. ในสัญญามี เขียนไว้ว่า
1.ลูกจ้างต้องแจ้งออกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนลาออก30วัน ถ้าไม่ยื่นลาออกตามกำหนดดังกล่าวถือว่าลูกจ้างผิดสัญญาและจะต้องถูกปรับอย่างน้อยเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือน โดยนายจ้างจะหักค่าจ้างและผลประโยชน์อื่นๆของลูกจ้างเพื่อชำระเบี้ยปรับ
2 นอกจากสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามสัญญานี้ ตามกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้วลูกจ้างสัญญาว่า ลูกจ้างจะไม่เรียกร้องเงินหรือสิทธิประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น


ขอคำแนะนำด้วยครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ลาออกจากงานแต่บริษัทจะไม่จ่ายคอมมิชชั่น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2020, 08:18:10 am »
การลาออก

  ต้องบอกกล่าวล่วง  ตามที่คุณบอก  ถูกต้องแล้ว  เมื่อไม่บอกฯ นายจ้างคงอ้างว่าเกิดความเสียหาย จึงไม่จ่ายค่าคอมฯ จะฟ้องร้องก็ได้ แต่ดูข้อต่อสู้ของนายจ้าง อาจสมน้ำสมเนื้อกัน  ก็ต้องพิจารณาดูเอาเอง...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ลาออกจากงานแต่บริษัทจะไม่จ่ายคอมมิชชั่น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 01:54:47 pm »
ลาออกก่อนกำหนด แล้วนายจ้างหักค่าคอมมิชชั่น ตามข้อตกลงในสัญญา แล้วถามว่า จะทำอย่างไร?

ก็ตอบว่า เท่าที่ดูจากข้อความแล้ว คงต้องพิจารณาว่า "ค่าคอมฯ" กับ  "ค่าเสียหาย" อย่างใดมากน้อยกว่ากัน

หากเรามีสิทธิได้ค่าคอมฯเยอะกว่าค่าเสียหายที่ต้องเสียตามสัญญาคือเงินเดือนเต็มเดือน ๑ เดือน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องศาลเพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าคอมฯ แต่ทั้งนี้ ในการจ่ายค่าคอมฯต้องไม่มีเงื่อนไขว่า จะจ่ายค่าคอมให้เฉพาะผู้ที่ยังมีสถานะการเป็นพนักงานอยู่นะครับ ถ้ามีข้อความนี้ เคยมีแนวคำพิพากษาศาลฏีกาว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายให้

ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อฟ้องศาลไป นายจ้างก็ต้องฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายและเอาไปหักลยกลบหนี้ได้

ดังนั้น ให้พิจารณาถึงความคุ้มค่า เพราะถ้าต้องฟ้องศาลและต้องจ้างทนายความในการให้ความช่วยเหลือ ก็หลายหมื่นอยู่นะครับ

ส่วนข้อความสละสิทธิว่าจะไม่เรียกร้องหรือผลประโยชน์นั้น เป็นข้อตกลงในเรื่องอนาคตไม่มีผลผูกมัด เว้นแต่ว่า ในหนังสือลาออก หรือเราไปทำหนังสือแยกต่างหากว่าขอสละสิทธิฟ้องร้อง กรณีเช่นนี้บังคับกันได้ตามข้อสัญญาครับ

ประมาณนี้ หากสงสัยถามเข้ามาใหม่ได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.