24/11/24 - 06:37 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกเลิกจ้าง  (อ่าน 11906 ครั้ง)

Tiger_A

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ถูกเลิกจ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2020, 04:15:08 pm »
สวัสดีครับ ขอสอบทราบเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานเรื่องการลูกเลิกจ้างครับ ผมทำงานที่บ. นี้มาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2556 โดยทุกสิ้นปีจะมีการเซ็นสัญญาในทุกๆปี จนสิ้นปี 2562 บริษัทแจ้งว่าจะส่งเอกสารสัญญาให้ทาง e-mail จนถึง มกราคม 2563 ผมและเพิ่อนร่วมงานได้ถามหาถึงหนังสือสัญญาดารทำงารกันมาตลอด ทางบริษัทก็บอกว่าเดียวทำให้ จนวันที่29 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัทแจ้งว่าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 ระบาด จึงของปรับลดงานเดือนพนักงานลง ถ้าอยากให้บริษัทอยู่ได้ ทุกคนต้องช่วยกัน พนักงานทุกคนยอมรับสภาพในการถูกลดเงินเดือนโดยบริษัทออกหนังสือ ปรับลงเงินเดือนให้ โดยที่เราไม่ได้เซ็นรับทราบ ต่อมาในเดือน พฤษภาคม บ. แจ้งว่าต้องเลิกจ้างในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 พอมาถึงวันที่ 2 กรกฎาคม ผมไปสำนักงานประกันสังคมเพื่อไปยื่นหนังสือ สปส. 2-01/7 ประกันสังคมแจ้งว่านายจ้างแจ้งว่า ยกลิกจ้างงานเท่ากับ พนักงานมีสถานะลาออก อผมก็ห้ประกันสังคมว่าไปว่าบ. เลิกจ้าง ประกันสังคมรับเรื่องและบอกให้คุยกับนายจ้างเพื่อปรับข้อมูลจะได้ตรงกัน และเราจะได้รายงานตัวผ่านเว็บกรมแรงงานและรับเงินได้เร็ว พอแจ้งไปที่บ. วันที่ 3 กรกฎาคม บ.กลับออกหนังสือรับทราบการยกเลิกสัญญาจ้างแทนที่จะออกหนังสือเลิกจ้างให้พนักงานเซ็นรับทราบ  อยากทราบว่า
1.บริษัทมีเจตนาในการไม่เซ็นสัญญากับพนักงานตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่เพราะปกติมีมีการเซ็นทุกปี
2.หนังสือยกเลิกการจ้างงานกับหนังสือเลิกจ้าง เหมือนกันไม ถ้าเซ็นไปจะมีผลกระทบอะไรไม
3.ถ้าทางนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง
ขอบคุณมากครับ
หนังสือแจ้งยกเลิกจ้างงาน

Anieto

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
Re: ถูกเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 10:24:18 am »
ถูกเลิกจ้างเหมือนกันครับต้องหางานใหม่

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ถูกเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2020, 11:49:56 am »
ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านที่ตั้งคำถามไว้ แล้วทนายเข้ามาตอบช้านะครับ เนื่องจากขณะนี้คนงานถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้คดีแรงงานในแต่ละศาลมากขึ้นเช่นกัน และศาลได้เปิดพิจารณาคดีตามปกติแล้ว คดีที่เคยค้างการพิจารณาจากเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ก็จะมาถั่งโถมเอาในช่วงนี้ ทนายเลยต้องมีภารกิจต้องไปทำคดีในทุกวัน จึงขออภัยมา ณ นี้นี้

เอาล่ะ ออกตัวกันแล้ว ก็มาตอบคำถามกันเลย

เครสนี้ ถามมา ๓ คำถาม
1.บริษัทมีเจตนาในการไม่เซ็นสัญญากับพนักงานตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่เพราะปกติมีมีการเซ็นทุกปี
2.หนังสือยกเลิกการจ้างงานกับหนังสือเลิกจ้าง เหมือนกันไม ถ้าเซ็นไปจะมีผลกระทบอะไรไม
3.ถ้าทางนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ก่อนที่ทนายจะตอบ ขอทำความเข้าใจก่อนว่า โดยกฎหมายในการทำสัญญาจ้างแรงงานมีอยู่หลักๆ ๒ ประเภท คือ ประเภทไม่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน และประเภทที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน แต่ทั้งสองประเภทที่กล่าวมา หากเลิกจ้างก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ เช่น กัน เว้นแต่จะเป็นงานที่ได้รับการยกเว้น เช่น งานตามโครงการ งานฤดูกาล อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเดิมเป็นสัญญาจ้างที่ "กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่แน่นอน" แล้วนายจ้างไม่ทำสัญญาหรือไม่เอาสัญญาฉบับใหม่มาให้เซ็นต์ ก็ไม่ต้องตกใจหรือไปทวงถามแต่อย่างใด เมื่อนายจ้างไม่นำสัญญามาให้เซ็นต์ต่อ ก็จะกลายเป็น "สัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด" เมื่อจะเลิกจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ทราบตามกฎหมายก่อน แต่ถ้าเป็นสัญญาที่กำหนดที่ชัดเจนแล้ว เมื่อครบสัญญานายจ้างก็ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะรู้อยู่แล้วในสัญญาว่าสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้น สรุปเลยว่า หากไม่เอามาให้เซ็นต์ก็จงดีใจ และไปฉลองได้ เย้ๆๆ

เอาละ มาที่คำถาม
ถามว่า ๑.บริษัทมีเจตนาในการไม่เซ็นสัญญากับพนักงานตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่เพราะปกติมีมีการเซ็นทุกปี
ตอบ..ได้อธิบายไปแล้วตอนต้น การที่นายจ้างไม่นำสัญญามาให้เซ็นต์เป็นผลดีกับเรามากกว่าครับ

2.หนังสือยกเลิกการจ้างงานกับหนังสือเลิกจ้าง เหมือนกันไม ถ้าเซ็นไปจะมีผลกระทบอะไรไม
ตอบ..เหมือนกันคือ เราจะไม่ได้ทำงาน ต่างกันก็คือ หากเลิกจ้างอาจมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ได้ ต้องดูที่เนื้อหาในหนังสือ ซึ่งในการเลิกจ้างนั้น นายจ้างต้องแจ้งเหตุแห่งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบด้วย หากไม่แจ้ง จะยกเหตุอื่นมาเพื่อไม่จ่ายเงินค่าชดเชยในภายหลังไม่ได้ครับ
แต่ถ้าถามว่า "เลิกจ้าง" กับ "ลาออก" มีผลกระทบอย่างไร นั้น ถ้าเกี่ยวกับเงินว่างงาน ลาออกจะได้ร้อยละ ๓๐ ไม่เกิน ๓ เดือน ถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดหรือที่ประกันสังคมใส่รหัส R3 ก็จะได้ร้อยละ ๕๐ ไม่เกิน ๖ เดือน เว้นแต่เหตุ Covid จะได้ร้อยละ ๖๒ นะครับ


3.ถ้าทางนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ตอบ..ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือในพื้นที่ที่เราทำงานอยู่ ซึ่งหลังจากพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยให้เราต่อไป ไม่ยากครับ ไปยื่นได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ

อนึ่ง หากไปขอรับเงินว่างงานแล้ว ประกันสังคมไม่จ่ายให้ ก็ต้องไปรายงานตัวให้ครบ ๖ ครั้งนะครับ แล้วไปใช้สิทธิฟ้องต่อศาลต่อไป หรือตอนไปยื่นคำร้องก็ขอให้พนักงานตรวจแรงงานโทรประสานให้นายจ้างไปแก้ไขข้อมูลการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนให้ถูกต้องซะ ถ้าดื้อดึงหรือไม่ไปอาจต้องบอกว่า เราอาจไปใช้สิทธิฟ้องศาลเป็นคดีอาญา ข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ ซึ่งมีโทษจำคุกด้วย

คงครบถ้วนและประมาณนี้ หากสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.