23/11/24 - 21:16 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: CCTV​ ที่ไม่เหมือนที่คิดไว้  (อ่าน 3418 ครั้ง)

Thana89

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
CCTV​ ที่ไม่เหมือนที่คิดไว้
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2020, 10:09:28 pm »
ผมซื้อทาวน์​โฮมในโครงการแห่งหนึ่ง​ ตอนซื้อผมเข้าใจว่าทางโครงการจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด​ทั้งบริเวณในโครงการ​ เพราะในโบชัวร์​เขียนว่า​ "มีระบบความปลอดภัย​ รปภ.​ CCTV ตลอด24ชั่วโมง" (ไม่มี*ต่อท้ายข้อความ)​ และในเว็บทางการของโครงการ​ในหมวดหมู่​สิ่งอำนวยความสะดวก​ หนึ่งในนั้นมีสัญญาลักษณ์​กล้องและเขียนด้านล่างว่าCCTV ซึ่งเหตุผลนึง​ในการตัดสินใจซื้อทาวน์​โฮ​มหลังนี้​ ต่อมาเหลือเวลาอีก4เดือนโครงการจะจัดตั้งนิติฯ​ ผมเลยสอบถามโครงการเรื่อง​ CCTV.​ ทำไมยังไม่ติดตั้งสักที​ ซึ่งคำตอบที่ได้คือโครงการได้ติดตั้ง​กล้องแล้ว​ตรงป้อมรปภ.หน้าโครงการบันทึก​ภาพทางเข้า-ออก​ รวม2ตัว​ และถ้ามีความต้องการติดกล้องเพิ่ม​ ให้แจ้งความต้องการนี้แก่นิติฯบุคคลที่กำลังจะมีการจัดตั้งต่อไป​ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูกหลอก​และเหมือนโครงการกำลังปัดความรับผิดชอบ ผมจึงอยากสอบถาม​ว่าผมและ/หรือผู้ซื้อคนอื่นๆในโครงสามารถทำอะไรได้บ้างครับ​

ขอบคุณ​ครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: CCTV​ ที่ไม่เหมือนที่คิดไว้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2020, 05:45:02 pm »
ร้อง สคบ.  1166  น่าจะมีทางออกได้

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: CCTV​ ที่ไม่เหมือนที่คิดไว้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 13, 2020, 02:03:03 am »
การที่จะเรียกร้องเอาผิดกับโครงการนั้น ต้องพิจารณาถ้อยคำตามคำชี้ชวน หรือเอกสารสัญญาเป็นหลัก เพราะประเทศไทยใช้กฎหมายแบบลายลักษณอักษร หมายความว่าจะตีความตามตัวอักษร

ดังนั้น หากนิติบุคคลระบุว่า "มีระบบความปลอดภัย​ รปภ.​ CCTV ตลอด24ชั่วโมง" ก็ย่อมตีความได้ว่า โครงการจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และติดตั้งกล้องวงจรปิด ส่วนจะมี รปภ.กี่คน มีกล้องวงจรปิดกี่ตัว เมื่อไม่ได้ระบุไว้ ก็ต้องจัดให้มีตามที่ระบุไว้ ก็ถือว่าโครงการได้จัดให้ตามที่ระบุไว้ในโครงการแล้ว เว้นแต่จะมีหลักฐานอื่นที่แสดงได้ว่า จะต้องติดกล้องวงจรปิดทั่วทั้งโครงการ กรณีนี้จึงจะถือว่าโครงการเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือผิดเงือนไข

เมื่อผิดเงื่อนไขผิดสัญญาก็ต้องไปพิจารณาในสัญญาที่ทำกันไว้ว่า แต่ละฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่กรณีผิดสัญญากันไว้อย่างไร เช่น ผู้ซ์้อสามารถยกเลิกสัญญาและรับเงินดาวน์คืนได้ ก็ว่ากันไปตามข้อสัญญานั้น

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่า เมื่อโครงการเสร็จสิ้นและมีการตั้งนิติบุคคลขึ้น ก็คงต้องอาศัยนิติฯเป็นผู้ดำเนินการต่อหากเห็นว่ามีความจำเป็นต้องติดกล้องเพิ่ม

หรือถ้าอยากให้โครงการรับผิดชอบ ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะได้ผล คือให้ผู้ซ์้อรวมตัวกันอย่างน้อยก็ซักครึ่งหนึ่งของผู้ซื้อทั้งหมด ทำหนังสือเสนอข้อเรียกร้อง แล้วไปยื่นต่อเจ้าของโครงการ และใช้เวทีตรงนั้น เจรจาหาข้อยุติ หากไม่ได้ก็ยกระดับการขับเคลื่อนเช่น ร้องศูนย์ดำรงธรรม และหน่วยงานอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่เพื่อเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยหาทางออกร่วมกัน  ซึ่งสมัยนี้กล้องวงจรปิดก็ไม่ได้มีราคาแพงอะไรมากมาย  ลองวิธีนี้ดูครับ เชื่อว่าได้ผลแน่นอน ทนายเคยใช้วิธีนี้ได้ผลมาแล้ว ลองดูครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.