กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองคนงานที่มีอำนาจการต่อรองน้อยกว่านายจ้าง และเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่มักไม่ค่อยมีสิทธิมีเสียงในการเปลี่ยนแปลงสังคมซักเท่าใหร่ เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อมาคุ้มครองดังกล่าว
ซึ่งเรื่องหนึ่งที่คุ้มครองคือ การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ โดยกำหนดอัตราสุงสุดที่ ๔๐๐ วัน
หรือแม้แต่เป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน หากเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ก็ยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่ดีครับ เว้นแต่เป็นงานโครงการหรืองานตามฤดูกาล แต่งานนั้นจะต้องมีระยะเวลาเสร็จสิ้นไม่เกินสองปี เป็นต้น
ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไร แม้จะมีการบอกกล่าวล่วงหน้านานเพียงใดก็ตาม ก็ยังต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหากต้องเลิกจ้างครับ แต่ไม่จำต้องจ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามาตรา ๑๗ ครับ
ส่วนกรณีที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ นั้น มีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๙ แล้ว เช่น กระทำผิดร้ายแรง ผิดซ้ำคำเตือน กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ขาดงานติดต่อกันเกินกว่าสามวัน เป็นต้น
ทนายพร.