24/11/24 - 09:59 am


ผู้เขียน หัวข้อ: สอบติดทหารอากาศแต่เคยมีคดีผลิตน้ำต้มใบพืชกระท่อม  (อ่าน 5194 ครั้ง)

checkharoy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ผมเคยโดนจับในคดีผลิตน้ำต้มใบพืชกระท่อมเมื่อปี2560ครับ โดนโทษจำคุก3เดือน ปรับ4,000บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อน2ปี ตอนนี้สอบติดทหารอากาศชั้นประทวน มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะได้บรรจุครับ สอบผ่านหมดทุกอย่างแล้ว ความรู้ ร่างกาย สัมภาษณ์ ฯลฯ ทุกอย่างผ่านหมดแล้ว รอแค่ตรวจประวัติ ผมกำลังทำเอกสารขอบรรจุ มีการพิมพ์ลายนิ้วมือแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อนแต่ยังไม่มีการแจ้งอะไรให้ทราบ... ตอนนี้กลัวเหลือเกินครับ กลัวเขาไม่บรรจุ.
ทนายคิดว่าจะได้บรรจุไหมครับ?
ถ้าไม่ได้บรรจุพอจะมีทางออกอะไรบ้างหรือไม่?
จากที่หาข้อมูลมา มีชายคนหนึ่งเคยต้องคดีเสพสอบพลขับทหารบกได้แต่ทางกองทัพไม่สั่งบรรจุ สุดท้ายชายคนนี้ฟ้องศาล สู้กันถึงศาลอุทรณ์และทั้ง2ศาลมีคำสั่งให้บรรจุ ผมเข้าข่ายกับเคสนี้ไหมครับ? (หมายเลขคดี ดำ อ.520/2548 แดง อ.58/2550)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 01:04:28 pm โดย checkharoy »

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
คุณสมบัติของข้าราชการ

   แม้ได้รับการรอกรลงโทษไว้ แต่อาจมีติดปัญหา ในข้อห้ามอีกข้อ คือ "เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม" ซึ่งคำว่าบกร่องในศีลธรรมอีนดี มีความหมาย ค่อนข้างกว้าง  ผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้งอาจจะ...ไม่สั่งบรรจุแต่งตั้งก็ได้...หลายหน่วยงาน ออกหนังสือเวียนตอกย้ำว่า แม้รอการลงโทษไว้  ก็ให้ถือเสมือนว่ามีการลงโทษจริง  ถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามฯ..ถ้าไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง....ก็สามารถฟ้องศาลปกครองให้วินิจฉัยได้   ได้คัดลอกคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมาให้พิจารณาดู ครับ


ศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.482/2556 วินิจฉัยถึงประเด็นดังกล่าวไว้ มีรายละเอียดคือ
         คดีนี้ผู้ฟ้องคดีสอบติดนายสิบตำรวจ แต่ถูกคณะกรรมการสอบตัดสิทธิในการรับราชการเพราะผู้ถูกฟ้องคดีเคยถูกลงโทษจำคุกในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพกพาอาวุธปืนโดยไมได้รับอนุญาต โดยในคดีดังกล่าวศาลรอการลงโทษจำคุกผู้ถูกฟ้องคดีไว้
         ผู้ฟ้องคดีจึงมาฟ้องเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการสอบ โดยอ้างว่าตนเองไม่เป็นบุคคลต้องห้าม เพราะไม่เคยได้รับโทษจำคุกจริงๆ เนื่องจากศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกไว้ แล้วยังอ้างอีกว่า ยังผู้สมัครคนอื่นซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในข้อหาเมาแล้วขับ (ไม่ใช่ความผิดที่กระทำโดยประมาทและไม่ใช่ความผิดลหุโทษ) แต่คณะกรรมการกลับไม่ตัดสิทธิบุคคลนั้น แต่กลับมาตัดสิทธิตนเอง จึงเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
      ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยว่า
         “การที่บุคคลกระทำความผิดอาญา ข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนไป ในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะไม่ต้องรับโทษอาญาแต่ก็แสดงให้เห็นว่าผู้กระทำความผิดดังกล่าวดำเนินชีวิตในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและบุคคลอื่น ซึ่งวิญญูชนทั่วไปที่ประพฤติตนในกรอบของกฎหมายและศีลธรรมย่อมไม่มีความประพฤติเช่นนั้น จึงเห็นว่า การกระทำความผิดกฎหมายอาญาดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีประวัติที่มีความประพฤติ เสื่อมเสีย ประกอบกับการสอบแข่งขันเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ในการ รักษาความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมืองและประชาชน บุคคลที่มีประวัติความประพฤติเสื่อมเสียดังกล่าว ย่อมไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ การที่คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและผู้ถูกฟ้องคดีตัดสิทธิ ผู้ฟ้องคดี โดยเห็นว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดและเหมาะสมแล้ว ประกาศกองบัญชาการศึกษา ลงวันที่ 11 เมษายน 2550 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง จึงชอบด้วยกฎหมาย 
        สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและ ผู้ถูกฟ้องคดีเลือกปฏิบัติในการพิจารณาโดยกรณีของนาย จ. ได้กระทำผิดอาญาข้อหาขับรถขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นความผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม แต่คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและ ผู้ถูกฟ้องคดีกลับเห็นว่า ไม่เป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี นั้น เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีและนาย จ. จะกระทำความผิดอาญาเหมือนกันแต่ความร้ายแรงแห่งการกระทำแตกต่างกัน กล่าวคือ การกระทำความผิดข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนากระทำผิดและมีความร้ายแรง เป็นที่รังเกียจของคนในสังคมมากกว่า อีกทั้งเมื่อผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดดังกล่าวจริง จึงไม่อาจอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีเลือกปฏิบัติได้แต่อย่างใด ที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย “

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
คำถามนี้  "มโนธรรม" ได้ตอบและอธิบายไว้ชัดเจน ถูกต้องแล้วครับ

ทนายพร.