24/11/24 - 10:52 am


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างเกริ่นว่าเลิกจ้างไม่มีเงินจ่าย>ถ้าฟ้องต้องรอบริษัทขายทรัพย์สินมีเงินเหลือ  (อ่าน 5568 ครั้ง)

สวัสดีครับ

          ที่บริษัทฯ ตั้งแต่เปิดทำการมาไม่เคยมีกำไรเลย ใช้เงินกรรมการ (ผู้บริหารเป็น 1 ชื่อในรายชื่อกรรมการทั้งหมด 3 คน) ในการลงทุน(เป็นเงินยืมกรรมการที่ติดลบอยู่)
จากสถานการณ์โควิดมีผลกระทบเนื่องจากไม่ได้งานจากลูกค้าเลย ทำให้แบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว ได้มีการลดเงินเดือนไปบ้างแล้ว แต๋ก็อาจจะพยุงไม่ได้
นายจ้างได้เกริ่นมาว่า ถ้าถึงขั้นต้องเลิกจ้าง บริษัทก็อาจจะไม่มีเงินจ่ายค่าเลิกจ้าง  ถึงลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงานก็ตาม เนื่องจากบริษัทล้มละลายต้องขายทรัพย์สินก่อน เหลือถึงจ่ายได้

 1 .  ในสิ่งที่นายจ้างแจ้งมา เรื่องบริษัทขาดทุน ล้มละลาย ต้องรอขายทรัพบ์สินได้ (ถ้าเหลือก็ค่อยจ่ายตามเงินที่เหลือ ถ้าไม่เหลือก็ไม่จ่าย) ตรงนี้เป็นทางออกที่นายจ้างทำได้จริงๆหรือไม่ครับ
       บริษัทฯ ไม่ได้มีการกุ้เงินธนาคารในการดำเนินงาน ใช้เงินกรรมการอย่างเดียว (แต่ติดลบสะสมหลายปี)

 2.  ลูกจ้างสามารถฟ้องเพื่อเรียกค่าเลิกจ้าและค่าเสียหายจาก นายจ้าง(ผู้บริหาร) ซึ่งเป็นของทุนไม่ใช่ผู้บริหารที่ถูกจ้างมากระทำแทนได้หรือไม่ (ข้อนี้สงสัยมคากๆๆครับ) เข้าใจว่าถ้ากรรมการบริษัทฯ ที่ถูกจ้างมาเพื่อบริหารนั้นเราไม่สามารถฟ้องได้ แต่ถ้ากรรมการม,ผู้บริหาร และ เจ้าของเงินทุน คือคนเดียวกัน สามารถฟ้องร้องได้ไหมครับ

3.   ถ้าพนักงานฝ่ายบุคคลเป็ฯผุ้ถูกสั่งให้ดำเนินการเจรจา และทำเอกสารให้นายจ้าง ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบ แต่เจ้าตัวก็รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นกัน พนักงานฝ่ายบุคคลจึงฟ้องร้องนายจ้างเช่นกัน จะเป็นการกระทำที่ย้อนแย้ง หรือมีผลอย่างไรไหมครับ ขออนุญาติขยายความ เช่น นายจ้างสั่งให้ทำหนังสือข้อตกลงเลิกจ้าง หรือ ให้เป็นตัวแทนในการประกาศ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ด้านหน้าที่ของฝ่ายบุคคลจึงต้องดำเินการตามนายจ้างเพราะยังเป็นลูกจ้างอยู่  แต่ในเนื้อหาการเลิกจ้างและการประกาศนั้น พนง.ฝ่ายบุคคลเอง ก็ไม่เห็นด้วยและได้ผลกระทบเช่นกัน  ถ้าพนง.บุคคลไม่ได้เซนต์ยินยอมรับเงือ่นไขใดๆในฐานะลูกจ้าง ภายหลังไปฟ้องร้องนายจ้าง จะมีผลเช่นไรไหมครับ

ขอบพระคุณทนายพรมากๆครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ตอนตอบคำถามนี้ เวลาตีสามกว่าแล้ว ตอบเป็นข้อตามที่ถามเลยแล้วกัน

ข้อ ๑ ถามว่า.."ในสิ่งที่นายจ้างแจ้งมา เรื่องบริษัทขาดทุน ล้มละลาย ต้องรอขายทรัพบ์สินได้ (ถ้าเหลือก็ค่อยจ่ายตามเงินที่เหลือ ถ้าไม่เหลือก็ไม่จ่าย) ตรงนี้เป็นทางออกที่นายจ้างทำได้จริงๆหรือไม่ครับ บริษัทฯ ไม่ได้มีการกุ้เงินธนาคารในการดำเนินงาน ใช้เงินกรรมการอย่างเดียว (แต่ติดลบสะสมหลายปี)"
ก็ตอบว่า...เป็นทางออกหนึ่ง ครั้งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด การขอล้มละลายในทางธุรกิจ เป็นเพียง การหนีหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือถ้าธุรกิจยังพอไปใหว ไม่ถึงขนาดต้องล้มละลาย ก็อาจจะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ โดยในระหว่างนี้ เจ้าหนี้ก็ฟ้องบังคับหนี้นั้นไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติล้มละลาย  เราเป็นว่า คล้ายกับบริษัทการบินไทยในเวลานี้ ลองหาอ่านข่าวดูนะครับ เมื่อศาลมีคำสั่งให้บริษัทล้มละลายแล้ว ศาลก็จะตั้ง "เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์" ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบังคับคดี ไปบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมด ดังนั้น เมื่อถึงขั้นตอนนี้ เราต้องติดตามอย่างไกล้ชิด เพื่อยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัยพ์ละครับ ประมาณนี้ครับ

ข้อ ๒  ถามว่า..ลูกจ้างสามารถฟ้องเพื่อเรียกค่าเลิกจ้าและค่าเสียหายจาก นายจ้าง(ผู้บริหาร) ซึ่งเป็นของทุนไม่ใช่ผู้บริหารที่ถูกจ้างมากระทำแทนได้หรือไม่ (ข้อนี้สงสัยมคากๆๆครับ) เข้าใจว่าถ้ากรรมการบริษัทฯ ที่ถูกจ้างมาเพื่อบริหารนั้นเราไม่สามารถฟ้องได้ แต่ถ้ากรรมการม,ผู้บริหาร และ เจ้าของเงินทุน คือคนเดียวกัน สามารถฟ้องร้องได้ไหมครับ?"
ก็ตอบว่า..ปกติ ผู้บริหารไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว หากดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าฟ้องได้มั๊ย ก็ตอบว่าฟ้องได้ถ้าจะฟ้อง แต่ศาลคงจะไปสั่งให้นายจ้างรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้ คงบังคับได้แต่นิติบุคคล ถ้ามีทรัพย์สินเช่น เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ รถยนต์ กาละมัง ถังซักผ้า หรือทรัพย์สินอื่นที่เป็นกรรมสิทธิของนิติบุลล ก็สามารถยึดทรัพย์นั้น นำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้กับเราได้ครับ 

ข้อ ๓ ถามมาว่า...ถ้าเจ้านายสั่งให้ฝ่ายบุคคลทำเอกสาร แต่ในใจไม่เห็นด้วย และไม่ยอมเซ็นต์รับเงื่อนไข และไปฟ้องศาล ผลจะเป็นเช่นไร

คำถามนี้ ไม่ได้อธิบายให้ทนายเห็นว่า เงื่อนไขนั้น คืออะไร เช่น "ลูกจ้างตกลงยินยอมที่จะไม่รับเงินชดเชย" ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะการตกลงดังกล่าว ศาลฏีกาได้วางแนวไว้ว่า กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงใดที่ขัดต่อกฎหมายถือเป็น โมฆะ บังคับไม่ได้ เมื่อไปตกลงที่จะไม่รับค่าชดเชย จึงบังคับไม่ได้ เมื่อบังคับไม่ได้ก็ฟ้องศาลได้ (คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๑๓๕๒/๒๕๕๑)

แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าจะโมฆะทุกเรื่องนะครับ จะเป็นโมฆะเฉพาะที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ เท่านั้น หากเป็นสวัสดิการอื่น หรือไม่ติดใจเรื่องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หากเป็นข้อตกลงในเรื่องเหล่านี้ บังคับได้ แต่ไม่ห้ามที่จะนำไปฟ้อง เพียงแต่ผลของการฟ้อง ก็จะแพ้คดีนั่นเอง

ดังนั้น หากนายจ้างมีคำสั่งให้ทำ ก็ต้องทำครับ เพราะเป็นหน้าที่ ถ้าไม่ทำก็จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายบุคคลนั่นแหละจะถูกเลิกจ้างก่อน และจะไม่ได้รับเงินใดๆอีกด้วย

ประมาณนี้ครับ หากยังสงสัยถามมาใหม่ได้ครับ

ทนายพร.