24/11/24 - 07:28 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ได้รับทุนจากนายและต้องทำสัญญาใช้ทุน 5 ปี แต่ถูกเลิกจ้างก่อนครบกำหนด 5 ปี  (อ่าน 3432 ครั้ง)

ลูกจ้างข้างทาง

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ
     ผมมีคำถามสงสัยครับ นายจ้างได้ให้ทุนผมไปศึกษาต่อ เพื่อที่จะกลับมาใช้วิชาที่ไปเรียน ทำงานให้นายจ้าง โดยมีการเซ็นสัญญากันเป็น 2 ฉบับ 
1. สัญญาให้ทุน กำหนดไว้ว่า เมื่อเรียนจบแล้วต้องกลับมาทำงานใช้ทุน ให้นายจ้าง เปนระยะเวลา 5 ปี
2. สัญญาจ้างงาน บอกว่า ถ้าลาออกก่อน ใช้ทุนหมด จะต้องเสียค่าปรับ ตามจำนวณปีที่เหลืออยู่ บวกค่าเสียหายที่นายจ้างต้องจ้างคนอื่นมาทำงานแทน

ปัจจุบัน นายจ้าง มีงานน้อยลง และผมทำงานมา ครบ 3 ปี นายจ้าง มีการเลิกจ้าง เพราะต้องการลดจำนวนคน และ ค่าใช้จ่าย นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตาม พรบ.แรงงาน ครบถ้วนแล้ว แต่ไม่เท่ากับค่าจ้างตามจำนวณปีที่เหลืออยู่ของผม และให้เราเซ็นในใบเลิกจ้างว่า จะไม่ฟ้องร้องใดๆกับนายจ้างอีก

กรณีนี้ผมอยากทราบว่า ผมจะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือ เงินค่าจ้างตามจำนวณปีที่เหลืออยู่ของผมได้หรือไม่ครับ
- ถ้าเซ็นใบเลิกจ้างแล้ว จะยังสามารถฟ้องร้องได้อีกหรือไม่ เพราะวันที่เรียกเราเข้าไปคุย เหมือนไม่ได้ให้ทางเลือกอื่นกับเราและไม่มีการต่อรองใดๆได้ คือถ้าไม่เซ็นเค้าบอกว่าก็ให้ไปฟ้องร้องเอา

- เราสามารถเซ็นใบเลิกจ้างตามที่เค้าเหมือนจะบังคับ แต่จะเขียนอะไรกำกับไว้ได้มั้ยคับ เพื่อรักษาสิทธิของเราว่า ถ้าภายหลัง เราเห็นว่ามันไม่ครบตามจำนวณหรือเราควรได้รับค่าชดเชยมากกว่านี้ เช่น ค่าจ้างตามจำนวณปีใช้ทุนที่เหลืออยู่หรือค่าเสียโอกาส จากการหางานใหม่ได้ยากเพราะเนื่องจาก เป็นอาชีพเฉพาะทางมาก

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

กรณีที่ฟ้องร้องได้ จะต้องฟ้องศาลแรงงานหรือศาลแพ่งครับ หรือทั้ง 2

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
การทำงานที่มีกำหนดเวลา

 (ความเห็น) เมื่อเลิกจ้างก่อนกำหนด  ก็ต้องได้เงินชดเชย  180 วัน ...ส่วนเงินค่าจ้างอีก  2 ปี เมื่อเลิกจ้างถือว่าผิดสัญญา  น่าจะเรียกร้องได้..เจรจาไม่ลงตัว คงต้องฟ้อง...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ถามมา ๒ ข้อหลักๆว่า
๑. ผมจะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือ เงินค่าจ้างตามจำนวณปีที่เหลืออยู่ของผมได้หรือไม่ครับ
ตอบ..ฟ้องอ่ะฟ้องได้ แต่จะศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไรนั้น ต้องพิจารณาจากสัญญษเป็นสำคัญนะครับ เพราะที่เล่ามามี ๒ สัญญาที่ไม่เกี่ยวกัน แต่เกี่ยวเนื่องกัน (งงมั๊ย!) นั้นคือ สัญญาจ้างแรงงาน ฉบับหนึ่ง และ สัญญารับทุน อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งแต่ละฉบับมีผลบังคับใช้แตกต่างกันไป
มาดูฉบัแรกก่อน สัญญาจ้างแรงงาน ทนายวินิจฉัยในเบื้องต้นถือว่าเป็นสัญญาจ้างโดยไม่กำหนดระยะเวลา เมื่อไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ การจะเลิกสัญญาต่อกันย่อมเป็นสิทธิของทั้งสองฝ่าย เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา จึงต้องปฎิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นั่น คือการจ่ายเงินค่าชดเชย นั่นเอง เมื่อได้ปฎิบัติต่อกันโดยครบถ้วนแล้ว นิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง ก็ยุตินับแต่วันเลิกจ้างมีผล ดังนั้น สัญญาฉบับนี้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลา ๕ ปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญารับทุน
ส่วนอีกฉบับ เป็นสัญญารับทุน เป็นข้อตกลงในการให้ทุนและกลับมาใช้ทุนด้วยแรงกายและมันสมอง โดยกำหนดให้ต้องใช้ทุนมีกำหนด ๕ ปี แต่นายจ้างมาเลิกจ้างก่อน จึงมีข้อพิจารณาได้ ๒ ประเด็น คือ ๑ ลูกจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ต้องรับผิดในการใช้ทุนหรือไม่ เพียงใด ซึ่งประเด็นนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า ลูกจ้างมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่เป็นนายจ้างที่เป็นฝ่ายบอกเลิกจ้างและไม่ติดใจในเรื่องสัญญาตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้น ลูกจ้างจึงไม่ต้องใช้ทุนตามกำหนดและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับนายจ้าง
และในทางกลับกัน ลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานตามกำหนดระยะเวลาใช้ทุนหรือไม่ เพียงใด ในประเด็นนี้เห็นว่า เงื่อนไขการรับทุน เป็นเงื่อนไขในการให้ลูกจ้างต้องปฎิบัติหรือเรียกว่า "หน้าที่" มิใช่ให้สิทธิของทั้งสองฝ่าย เมื่อเป็นเงื่อนไขให้ลูกจ้างต้องปฎิบัติแต่นายจ้างไม่ประสงค์จะได้รับผลงานของลูกจ้าง หรือเรียกว่า "สิทธิ" จึงเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะสละเงื่อนไขนั้น เมือนายจ้างสละเงื่อนไขไป ลูกจ้างจึงไม่ต้องทำหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป ดังนั้น โดยสรุป คงจะไปฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้นั่นเองครับ

๒.ถ้าเซ็นใบเลิกจ้างแล้ว จะยังสามารถฟ้องร้องได้อีกหรือไม่ เพราะวันที่เรียกเราเข้าไปคุย เหมือนไม่ได้ให้ทางเลือกอื่นกับเราและไม่มีการต่อรองใดๆได้ คือถ้าไม่เซ็นเค้าบอกว่าก็ให้ไปฟ้องร้องเอา
ตอบ...ถ้าเซ็นต์สละสิทธิที่จะไม่ฟ้องร้องอีก แล้วนำคดีไปฟ้อง ศาลก็จะตัดสินให้เราแพ้คดีนะครับ ซึ่งในทางกฎหมายหากไปทำข้อสัญญาเกี่ยวกับผลประโยชน์กันเช่นนี้บังคับได้ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ข้อตกลงสละสิทธิไม่รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง อย่างนี้ถือเป็นโมฆะ ครับ

- เราสามารถเซ็นใบเลิกจ้างตามที่เค้าเหมือนจะบังคับ แต่จะเขียนอะไรกำกับไว้ได้มั้ยคับ เพื่อรักษาสิทธิของเราว่า ถ้าภายหลัง เราเห็นว่ามันไม่ครบตามจำนวณหรือเราควรได้รับค่าชดเชยมากกว่านี้ เช่น ค่าจ้างตามจำนวณปีใช้ทุนที่เหลืออยู่หรือค่าเสียโอกาส จากการหางานใหม่ได้ยากเพราะเนื่องจาก เป็นอาชีพเฉพาะทางมาก
ตอบ..ในทางกฎหมาย การบังคับ มีได้ไม่กี่เรื่องนะครับ เช่น เอาปืนมาจี้ เอามีดมาจ่อ เอานักเลงมาข่มขู่ หากไม่เซ็นจะทำร้าย หรือจับมือเราไปเซ็น อย่างนี้ถือว่าบังคับ ไม่มีผลทางกฎหมาย 
แต่ในทางกลับกัน หากเรายกมือของเราไปจับปากกาไปเซ็นด้วยตัวเราเอง อย่างนี้ในทางกฎหมายจะไม่เรียกบังคับนะครับ แต่จะเรียกว่าสมัครใจ หากเราไม่อยากเซ็นก็ไม่ต้องเซ็น แค่นี้ก็จบ นายจ้างก็ทำอะไรเราไม่ได้
ส่วนที่เซ็นต์ไปแล้ว ได้เงินไม่ครบตามจำนวนนั้น ฟ้องได้ครับ แต่จะเรียกค่าเสียหายหรือเสียโอกาส ในประเด็นเหล่านี้ถ้าได้เซ็นสละสิทธิไปแล้ว จะฟ้องเรียกร้องไม่ได้ครับ ซึ่งมีแนวคำพิพากษาศาลฏีกาอยู่หลายเรื่อง  เช่น คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๒๖๙๖/๒๕๓๑ , ฎีกาที่ ๑๔๐๒/๒๕๕๙ เป็นต้น ลองไปค้นหาดูนะครับ

และที่ถามว่าจะต้องฟ้องศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง หรือทั้ง 2 นั้น ก็ตอบว่า ฟ้องได้ที่ศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๘  ครับ และการฟ้องศาลแรงงาน ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ รวมทั้งยังสามารถยื่นฟ้องได้เองโดยไม่จำต้องใข้ทนายความก็ได้

ทนายพร.