24/11/24 - 10:08 am


ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องขายกิจการให้เซ็นใบลาออกแต่ยังทำงานกันอยู  (อ่าน 2815 ครั้ง)

สเกน

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เนื่องจากบริษัทได้ขายกิจการให้อีกแห่งและได้เรียกให้พนักงานเซ็นใบลาออกซึ่งส่วนใหญ่จะเซ็นไปแบบงงๆเพราะแจ้งวันนั้นให้เซ็นวันนั้นเลยเพือที่จะโอนย้ายไปเจ้าของใหม่
วันที่เขียนใบลาออกมีผลสิ้นเดือน มิ.ย 63 นับตั้งแต่เซ็นกันไปยังไม่มีการโอนย้ายกันและยังทำงานรับเงินเดือนที่เก่าจนถึงปัจจุบัน 29/10/63 คำถามคือเราจะสามรถเรียก
เงินชดเชยจากนายจ้างได้ไหมครับแล้วใบลาออกที่เขียนกันไปนั้นถือเป็นโมฆะไหมครับเพราะปัจจุบันยังทำงานที่เดิมอยู่และเงินเดือนยังจ่ายจากเจ้าของเก่าอยู่ครับ
 ขอบพระคุณมากครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2020, 11:05:34 am โดย สเกน »

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
การเลิกจ้าง

   (ความเห็น) น่าจะต้องใช้ พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.121 ม.122 (กฎหมายที่ใกล้เคียง) มาปรับใช้  ต้องใช้สิทธิเรียกร้อง ตามที่กฎหมายกำหนด  ก็ร้อง พนักงานตวจแรงงานในท้องที่นั้น...

มาตรา ๑๒๑  ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา ๑๗ วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

    ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย

     ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

 

มาตรา ๑๒๒  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

   เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

 

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องขายกิจการให้เซ็นใบลาออกแต่ยังทำงานกันอยู
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2020, 01:24:43 pm »
เครสนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจน ว่าเป็นการเปลี่ยนนายจ้างหรือเป็นการโอนย้าย เพราะผลของทั้งสองเรื่องมีความแตกต่างกัน

หากเป็นการโอนย้าย จะเข้ามาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งนายจ้างใหม่จะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ หมายความว่า เดิมเคยได้สิทธิประโยชน์ ค่าจ้าง เช่นไร ก็เป็นไปตามนั้น อายุงานนับต่อเนื่อง และเมื่อเป็นการโอน จึงไม่ต้องให้ลูกจ้างเซ็นหนังสือลาออกแต่อย่างใด

หากเป็นการเปลี่ยนนายจ้าง ก็จะอยู่ในมาตรา ๑๓ เช่นกัน แต่จะเป็นเทคนิคของนายจ้างว่าให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกเพื่อนายจ้างใหม่จะได้ไม่นับอายุงานต่อเนื่อง

เมื่อเราไปเซ็นใบลาออกจากที่เก่าซะแล้ว ก็จะมีผลในทางกฎหมายว่า เราเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญากับนายจ้างเก่า สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยก็เลยหมดไป

เอาล่ะมาที่คำถาม ที่ถามว่า เราจะสามรถเรียกเงินชดเชยจากนายจ้างได้ไหมครับแล้วใบลาออกที่เขียนกันไปนั้นถือเป็นโมฆะไหมครับเพราะปัจจุบันยังทำงานที่เดิมอยู่และเงินเดือนยังจ่ายจากเจ้าของเก่าอยู่ครับ
ก็ตอบว่า หากเป็นการลาออก จะไม่ได้เงินค่าชดเชย ใบลาออกไม่เป็นโมฆะ  ทนายเห็นว่าเครสนี้ยังมีความคลุมเครือกันอยู่ หากยังรับเงินจากนายจ้างเก่าอยู่ ก็ทำงานต่อไป ไม่ต้องกังวลใดๆครับ ซึ่งเมื่อเลยเวลาการมีผลของใบลาออกแล้ว ยังทำงานกับนายจ้างเก่าอยู่โดยนายจ้างเก่ายังจ่ายค่าจ้างเช่นเดิม จึงถือว่านิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ การลาออกจึงสิ้นผลไปแล้วครับ

ทนายพร.