24/11/24 - 06:07 am


ผู้เขียน หัวข้อ: บริสัทกำลังจะย้ายสถานประกอบการและจะไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้เรา  (อ่าน 4330 ครั้ง)

Faiii

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีค่ะ ตอนนี้มีเรื่องอยากจะขอปรึกษาค่ะ
บริษัทที่ทำงานอยู่ กำลังจะย้ายออฟฟิตไปที่ใหม่ จะเริ่มทำงานที่ใหม่หลังปีใหม่นี้เลยค่ะ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเรา ดิฉันเลยแจ้งว่าจะไม่ไปทำงานที่ใหม่ค่ะ และเมเนเจอร์เลยบอกเราว่าจะได้ค่าตกใจ 1เดือน โบนัส และให้ทำงานถึงแค่วันที่15ธันวา (รอบตัดเงินเดือนของบริสัทนี้คือ 16-15 ค่ะ) จ่ายเงินเดือนทุกวันที่25
ทางดิฉันเลยแย้งเค้าไปว่าต้องได้ ค่าชดเชย6เดือนไม่ใช่ร๋อค่ะตามกฎหมาย เค้าก็ไม่ได้แย้งอะไร แต่บอกเราว่าจะไม่ให้โบนัส และเค้าบอกว่าจะไปคุยกับเจ้านายก่อน. ซึ่งเจ้านายเป็นคนญี่ปุ่นค่ะ. ดิฉันแจ้งเมเนเจอไปวันที่12 พย. ที่ผ่านมา. 
พอมาวันนี้ถูกเจ้านายเรียกเข้าไปถามเรื่องเอกสารภาษาอังกฤษ 1ฉบับ มีลายเซ็นเจ้านายพร้อมตราประทับบริสัท ลงวันที่21 กุมภา 63 เค้าถามว่าเรารู้มั้ยว่ามันคืออะไร พอเราบอกไปว่าไม่รู้ เจ้านายแกบอกว่าเป็นเอกสารสัญญาเก็บความลับของบริสัท ซึ่งเจ้านายไม่ได้เป็นคนเซ็น และลูกค้าบอกว่าได้รับเอกสารนี้มาจากทางเมลเรา ซึ่งดิฉันยืนยันไปกับเค้าว่าไม่เคยเห็นเอกสารนี้ และปกติ ถ้ามีเอกสารแบบนี้มาเราจะต้องให้เจ้านายเซ็นอยู่แล้ว. 

เจ้านายและดิฉันเคยมีเรื่องกันมาก่อนค่ะเมื่อประมาน2 ปีที่แล้ว เจ้านายเคยขอมีเพศสัมพันธ์กับดิฉัน แต่ฉันไม่ยอมและแจ้งให้ทางเมเนเจอทราบ. และเจ้านายแจ้งว่าจะลาออก แต่ก็ไม่ได้ลาออก และดิฉันก็ไม่ได้แจ้งความเอาผิดอะไร เพราะเมเนเจอแจ้งมาว่า เราเป็นแค่ลูกน้อง ไม่มีกฎหมายคุ้มครองเรา นอกจากเราจะลาออกไปเอง. จากนั้นก็เลยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเจ้านายมาตลอดค่ะ. ดิฉันรู้สึกว่ากำลังถูกตั้งข้อหาแบบไม่เป็นธรรมเลยค่ะ เหมือนเค้าจะไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยเรา เลยหาเรื่องให้เรามีความผิดและให้ออกแบบไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
   แบบนี้เรามีความผิดร้ายแรงเลยใช่มั้ยค่ะ และบริสัทก็สามารถไม่จ่ายค่าชดเชยเราได้ด้วยรึป่าวค่ะ
   ตอนนี้เค้าให้เราเขียนใบลาออกค่ะ (ตอนนี้ยังไม่ได้เขียนนะคะ)

   เรื่องมันกลายมาเป็นแบบนี้แล้ว เราต้องทำอย่างไรค่ะ ขอคำแนะนำค่ะ ขอบคุณค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 16, 2020, 05:35:58 pm โดย Faiii »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
หากเป็นจริงอย่างที่เล่าแล้วก็น่าเห็นใจ ทั้งพฤติกรรมของเจ้านายและวิธีการหาช่องทางในการจะไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย

ถามมาว่า จะทำยังงัย? ขอคำแนะนำ

ทนายดูข้อกฎหมายแล้ว เกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการหรือการย้ายสถานที่ทำงานใหม่นั้น มีบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๗ พ.ศ.๒๕๖๒ โดยสาระสำคัญอยู่ในวรรคสาม และวรรคสี่ ซึ่งกำหนดวิธีการไว้ดังนี้

(วรรคสาม)หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

(วรรคสี่) ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

ดังนั้น สรุปได้ว่า  ในกรณีที่บริษัทแจ้งย้ายเราไปให้ไปทำงานที่ใหม่ อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตปกติ หากเราไม่ย้ายตามไป ก็ให้เราแจ้ง "เป็นหนังสือ" ให้นายจ้างทราบ เน้นย้ำ "เป็นหนังสือ"  ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศ หรือถ้าไม่ติดประกาศก็ให้แจ้งเลยในวันที่มีคำสั่งย้าย  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็ต้องถามกลับไปว่า ที่เราแจ้งไม่ตามไปนั้น แจ้งด้วยวิธีอะไร ถ้าแจ้งไม่ถูกก็ไปจัดการให้ถูกต้อง หรือถ้าต้องการตัวอย่างหนังสือ ก็ส่งอีเมล์มาครับ เดี๋ยวทนายส่งตัวอย่างไปให้....จบนะ :D

ส่วนที่นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยโดยยัดเยียดข้อหานั้น ก็ไม่ต้องกังวลใจไปครับ  เอาเป็นว่า ทำตามคำแนะนำข้างต้น เมื่อครบกำหนด ๗ วัน หากนายจ้างไม่จ่าย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานสวัสดิการแรงงาน (ไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ที่เราทำงานอยู่) ไปเขียนคำร้องเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๒๐ หากพนักงานสวัสดิการฯ มีคำสั่งแล้วนายจ้างยังไม่จ่ายอีก นายจ้างอาจถูกจับและถูกดำเนินคดีอาญาได้ แต่เท่าที่ทนายทำคดีแรงงานมา ยังไม่เคยเห็นนายจ้างถูกจับเลยนะครับ...แฮ่ >:(

ข้อแนะนำก็ประมาณนี้ หากยังสงสัยก็สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.