29/03/24 - 19:17 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: กฏหมายแรงงาน  (อ่าน 3199 ครั้ง)

Dumrong_j

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
กฏหมายแรงงาน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2020, 10:15:54 am »
รบกวนขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฏหมายแรงงานครับ

ตอนนี้สถานการณ์ของบริษัทกำลังแย่ ผลประการณ์ไม่สู้ดี มีแนวโน้มอาจจะปิดกิจการลง แต่นายจ้างมีความคิดจะหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยลูกจ้าง โดยใช้วิธีเรียกลูกจ้างทีละคนเพื่อไปพูดคุยให้ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น

ปัจจุบันบริษัท มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ และสาขาที่ประจวบ และมีโรงงานที่เชียงใหม่(ไม่ได้เป็นสาขา แต่เราจ้างที่นั่นผลิต โดยลูกจ้างเราอยู่ในฐานะinspectorคอยตรวจสอบระบบ)  มีคำถามคือ
1.ตอนจ้างงานนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำสัญญาจ้างไว้
2.หากบังคับให้ลูกจ้างไปทำงานที่ประจวบโดยไม่ใช่บริษัทสาขา ในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเท่าเดิม นายจ้างสามารถทำได้มั้ยครับ
3.ลูกจ้างคนนี้มีลูก 2 คน และมีพ่อแม่ที่อายุมากที่ต้องดูแล ไม่สะดวกที่จะย้ายไป นายจ้างแจ้งว่าต้องลาออกอย่างเดียว โดยลูกจ้างกำลังรู้สึกว่านายจ้างบีบให้ลูกจ้างออกเพื่อลดคนลง  ลูกจ้างต้องทำอย่างไรได้บ้างครับ

ในสภาวะแบบนี้ ผมเข้าใจว่านายจ้างก้ต้องการลดต้นทุนของตนเองลง แต่หลักความเป็นมนุษย์ก็ควรจะมีใช่มั้ยครับ คิดแล้วท้อมาก อย่างน้อยหากชดเชยให้ถูกต้อง ลูกจ้างอย่างเราจะได้รู้สึกดีกว่านี้ ไม่รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบแบบนี้ครับ

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 29, 2020, 10:17:40 am โดย Dumrong_j »

Dawut

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 7
    • ดูรายละเอียด
Re: กฏหมายแรงงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2020, 03:58:43 pm »
ขอตอบแทน ทนาย ครับ

ข้อเท็จจริงจากการเล่ามาว่า
ตอนนี้สถานการณ์ของบริษัทกำลังแย่ ผลประการณ์ไม่สู้ดี มีแนวโน้มอาจจะปิดกิจการลง แต่นายจ้างมีความคิดจะหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยลูกจ้าง โดยใช้วิธีเรียกลูกจ้างทีละคนเพื่อไปพูดคุยให้ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น

ปัจจุบันบริษัท มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ และสาขาที่ประจวบ และมีโรงงานที่เชียงใหม่(ไม่ได้เป็นสาขา แต่เราจ้างที่นั่นผลิต โดยลูกจ้างเราอยู่ในฐานะinspectorคอยตรวจสอบระบบ)

ตามที่ ข้อ 1,2,3ก็ตอบไปพร้อมกันเลย


ตอบว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้บัญญัติว่า "(วรรคหนึ่ง)นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

(วรรค ๒) ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(วรรค ๓) หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘..."

จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้รับรองไว้ว่าหากการย้ายสถานประกอบการนั้น "มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้าง" เช่น ไม่มีเวลาไปส่งลูกไปโรงเรียน เสียเวลาเดินทางมากกว่าเดิมมาก หรือใช้เวลาเดินทางจากเดิม ๓๐ นาทีถึงบริษัท เปลี่ยนเป็น ๒ ชั่วโมง อย่างนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตแล้ว ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานครับ
สู้ๆๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2020, 09:16:01 pm โดย Dawut »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: กฏหมายแรงงาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 12, 2021, 02:20:00 pm »
ถามมาเป็นข้อๆ ก็ตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

1.ตอนจ้างงานนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำสัญญาจ้างไว้
ตอบ...สัญญาจ้างแรงงานไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ เเม้โดยวาจา หรือโดยปริยาย ก็บังคับกันได้ครับ...ไม่ต้องกังวลครับ

2.หากบังคับให้ลูกจ้างไปทำงานที่ประจวบโดยไม่ใช่บริษัทสาขา ในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเท่าเดิม นายจ้างสามารถทำได้มั้ยครับ
ตอบ..อยู่ที่ความสมัครใจของลูกจ้างครับ หากไม่อยากไปก็ไม่ต้องไป นายจ้างจะมาบังคับไม่ได้ครับ

3.ลูกจ้างคนนี้มีลูก 2 คน และมีพ่อแม่ที่อายุมากที่ต้องดูแล ไม่สะดวกที่จะย้ายไป นายจ้างแจ้งว่าต้องลาออกอย่างเดียว โดยลูกจ้างกำลังรู้สึกว่านายจ้างบีบให้ลูกจ้างออกเพื่อลดคนลง  ลูกจ้างต้องทำอย่างไรได้บ้างครับ
ตอบ...หากนายจ้างมีคำสั่งให้ย้ายไป ก็ให้ทำหนังสือแจ้งนายจ้างอย่างเป็นทางการว่า เราไม่ประสงค์จะย้ายไปเพราะจะทำให้การดำรงชีวิตตามปกติของเราเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในเรื่องนี้กฎหมายมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานได้เขียนไว้ชัดเจนแล้ว และ Dawut ก็ได้ยกมาให้อ่านแล้ว 

ดังนั้น ไม่อยากไปก็ไม่ต้องไปครับ ส่วนข้อความในย่อหน้าท้ายสุดของคำถาม ทนายเห็นด้วยครับ ;D ;D

เป็นกำลังใจให้ครับ

ทนายพร.
[/color][/size]