18/04/24 - 19:37 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: การขอเป็นโจทก์ร่วม  (อ่าน 3662 ครั้ง)

Pakphilai

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
การขอเป็นโจทก์ร่วม
« เมื่อ: มกราคม 11, 2021, 01:01:45 am »
 พอจะทราบมั้ยคะว่า ในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ความผิดทำร้ายร่างกาย และ หมิ่นประมาท ตอนนี้ผ่านไปแล้วปีนึงนับแต่ร้องทุกข์และสอบสวน และมีนัดพร้อมวันที่ 25 ม.ค.นี้ ถ้าเราจะขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ มาตรา 44/1 ด้วยนี่ เค้าทำกันยังไงอ่ะคะ หรือต้องจ้างทนายคะ พอจะทราบวิธีปฎิบัติมั้ยคะ \\ เราเป็นผู้เสียหายเราสามารถยื่นคำร้องเองได้ไหมคะ ถ้าได้นี่มีวิธีปฏิบัติยังไงบ้างคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: การขอเป็นโจทก์ร่วม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 11, 2021, 01:52:33 am »
หลังจากที่เครียร์งานเครียร์การเสร็จ ก็พร้อมมาตอบคำถามแล้วครับ  ;D

มาว่ากันเลย....
ถามว่า...จะยื่นคำร้องขอค่าเสียหาย โดยไม่ต้องจ้างทนายได้มั๊ย ทำงัย?

ก็ตอบว่า ได้ครับ...วิธีการคือ ให้ไปโหลดแบบพิมพ์ศาล ที่เรียกว่า คำร้อง/คำขอ/คำแถลง  มา ๑ ใบ เสร็จแล้วก็พิมพ์ข้อความให้สมบูรณ์ ส่วนช่วงล่างของกระดาษ ที่ขึ้นต้นด้วยข้อ ๑ .....ก็ให้บรรยายไปว่าตามหลักการบรรยายแยกเป็นส่วนๆดังนี้
๑. คดีอยู่ในขั้นตอนใด
๒. เราเกี่ยวข้องอย่างไร / เกิดเหตุอะไร อย่างไร / โต้แย้งสิทธิเราอย่างไร
๓. จะขอให้ศาลสั่งเรื่องอะไร / สั่งว่าอย่างไร
๔. คำลงท้าย  "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด"
๕. เอกสารหรือพยานหลักฐานประกอบ เช่น หากเรียกค่ารักษาพยาบาล ก็ต้องมีใบเสร็จรับเงินมายืนยัน หรือหากเรียกค่าทุกขเวทนาที่ไม่สามารถประกอบกิจการงานได้ ก็ต้องมีภาพถ่ายหรือหลักฐานการไปนอนโรงพยาบาลหรืออะไรก็ได้ที่แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือถ้าจะเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ขาดรายได้ ก็ต้องมีหลักฐานเช่นใบเเสดงรายได้ในแต่ละวันหรือแต่ละเดือน ว่าได้เท่าใหร่ หรือถ้าเป็นคนงานในโรงงานก็ต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือนมาแสดง อย่างนี้เป็นต้น

หลังจากที่มีเอกสารครบถ้วน ทำคำร้องเสร็จเรียบร้อย (ต้องทำสำเนาให้จำเลย+อัยการ อีกคนละชุด และควรถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐานอีก ๑ ชุด) ก็นำไปยื่นในวันนัดเลยก็ได้โดยไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ และรอศาลมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป

หากศาลอนุญาตตามคำร้อง ก็จะให้อีกฝ่ายทำคำให้การต่อสู้คดีในส่วนคดีแพ่งที่เราเรียกค่าเสียหายไป

และเมื่อถึงเวลาสืบพยาน  เราก็ต้องเอาพยานขึ้นเบิกความถึงค่าเสียหายดังกล่าว ซึ่งในส่วนนี้ อัยการจะไม่มาสืบให้เรานะ เว้นแต่ศาลจะเป็นผู้ซักถามให้ หรือขอให้อัยการซักพยานให้ ก็แล้วแต่ผู้พิพากษาแต่ละท่าน แต่แน่นอนว่า ผู้เสียหายก็ต้องเข้าคอกพยานและสาบานตนก่อนเบิกความแน่นอนครับ

ก็จะเป็นประมาณนี้....จะว่าง่ายก็ง่าย..ถ้ารู้ขั้นตอนและพอที่จะทำคำร้องเป็น  แต่ถ้าอ่านที่ทนายอธิบายแล้ว ตาลอย เอามือเกาหัว ทนายว่ายอมเสียเงินจ้างทนายเถอะ จะได้มีที่ปรึกษาช่วยเหลือแนะนำในการสู้คดีได้ รวมทั้งอาจจะยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาได้ด้วย เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลอาจจะให้ค่าเสียหายไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังก็เป็นได้ครับ

ให้กำลังใจและขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.