22/11/24 - 06:05 am


ผู้เขียน หัวข้อ: การแยกโฉนดที่ดิน  (อ่าน 14660 ครั้ง)

Prapapun

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 10
    • ดูรายละเอียด
การแยกโฉนดที่ดิน
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2021, 06:47:12 pm »
ในโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 21 ไร่ มีชื่อครอบครอง คือ นายเอ /นายบี /นายซี โฉนด นายเอ ได้ถือครองอยู่ และเป็น ญาติ กับนายบี ส่วน นายซี เป็นคนนอก ได้ซื้อต่อมาอีกที นายซี ต้องการทำการแยกโฉนด เพื่อที่จะแบ่งให้ลูก ได้ไปคุยกับนายเอ ชวนไปกรมที่ดิน นายเอบ่ายเบี่ยงอ้างว่าไม่ว่าง ซึ่งผ่านมาหลายปี แล้ว  มากกว่า 5 ปี (ส่วนนายบี ก็ต้องการแยก ) ซึ่งที่นายเอ ไม่อยากแยก รู้จากคนอื่นว่า ต้องแบ่งปันส่วนเท่ากัน แต่นายเอต้องการมากกว่า จึงไม่ยอมไป อ้างว่าไม่ว่าง อยากทราบว่า เราซึ่งคือ นายซี สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง และหากต้องฟ้องศาล จะมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: การแยกโฉนดที่ดิน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 29, 2021, 02:10:16 pm »
กรรมสิทธิ์รวม

  ถ้าในโฉนดที่ดินมืชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์สามคน คือ เอ  บี  ซี  ถ้าไม่มีการบรรยายส่วนไว้ในโฉนดที่ดินว่า ใครมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไร  ก็ถือว่า ทั้งสามคนถือกรรมสิทธิ์เท่าๆกัน  คือคนละ  7 ไร่  การแบ่งแยกโฉนดที่ดิน สามารถทำได้  โดยแจ้งรังวัด ต่อ  สนง.ที่ดิน  ให้ เจ้าพนักงานฯ ออกมารังวัด เป็นสามแปลง  ใครจะถือครองส่วนใหน  ก็ต้องเจรจากันให้ลงตัว  และแต่ละแปลงควร กำหนดทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ได้ ทั้งสามแปลง  เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง (เรื่องทางจำเป็น  ทางภาระจำยอม  ซึ่งอาจต้องฟ้องร้องกันวุ่นวาย)...เบื้องต้นทั้งสามคน  ต้องใช้การเจรจากัน  แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย   เพื่อให้มีการแจ้งรังวัด เป็นสามแปลง และแบ่งการถือกรรมสิทธิ์ คนละแปลง ประมาณ คนละ  7 ไร่....ถ้าการเจรจากันไม่ได้ผล คือ เอ ไม่ยินยอม   เจ้าของรวม ( บี ซี) ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องศาล  เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้มีการรังวัดโฉนดที่ออกเป็นสามแปลง  และแยกกันถือกรรมสิทธิ์คนละแปลง....ส่วน เอ ต้องการส่วนแบ่ง มากกว่า   ไม่น่าจะทำได้  เพราะถ้าไม่มีการบรรยายส่วนไว้ในโฉนดที่ดินว่า ใครถือกรรมสิทธิ์เท่าไร   ก็ต้องถือว่า  ทั้งสามคน มีส่วนเป็นเจ้าของเท่าๆกัน...

    แต่มีสิ่งที่ควรระมัดระวังคือ การที่ นาย เอ ถือครองที่ดินแปลงนี้อยู่ทั้ง 21 ไร่ เพียงผูัเดียว ถ้า บี และซี  ชะล่าใจ ปล่อยวันเวลาให้ล่วงเลยไปเรื่อยๆ  จนครบ 10 ปี  นายเอ  อาจจะ... อ้างการครอบครองปรปักษ์(ปพพ.ม.1382)  เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินทั้งหมดเพียงผู้เดียวได้ ( การครอบครองปรปักษ์  ต้องร้องศาล  ในทางปฏิบัติ ก็คงไม่ง่ายดายนัก  แต่ถ้า เขาอ้างขึ้นมา และมีการร้องศาล  ให้ได้กรรมสิทธิ์  คงต้องมีการต่อสู้คดีดีกันวุ่นวายยาวนาน อาจต้องว่ากันถึง สามศาล เพราะความโลภ  ไม่เคยปรานีใคร) ทางแก้ไข ที่ดีที่สุด  คือต้องรีบเจรจาขอแยกโฉนดที่ดินเป็นสามแปลง   ถ้ายังขัดข้อง เพราะต้องใช้เวลานานพอสมควร  เบื้่องต้น  ควรเจรจากัน แบ่งที่ดิน แปลงนี้ เป็นสามแปลง  และแยกกันถือครอง คนละแปลง และแจ้งรังวัดแบ่งแยกในภายหลังก็ได้  การถือครอง ก็ทำได้ง่ายๆ  โดยการ ปักเสาคอนกรีต ตามแนวเขตห่าง 1-2 เมตร(ไม่ต้องมีลวดหนามก็ได้) ปลูกพืชผักตามสมควร  เพื่อแสดงการครอบครอง  ซึ่งดีกว่า ให้ เอ  ครอบครองเพียงผู้เดียว....ถ้าการเจรจาล้มเหลว  ก็๋จำเป็นต้องฟ้องศาล ควรฟ้องก่อนอายุความ 10 ปี  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

Prapapun

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 10
    • ดูรายละเอียด
Re: การแยกโฉนดที่ดิน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 29, 2021, 02:35:31 pm »
ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ ณ ตอนนี้ นายซีก็ทำนาในผืนนี้อยู่ เบื้องต้น พยายามจะเจรจาชวนนาย เอไปที่ สนง.ที่ดิน เพราะต้องไปพร้อมกันหมด ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในโฉนด แต่นายบีไม่มีปัญหา พร้อมไป ส่วนนายเอที่ถือโฉนดอยู่ (มาทราบภายหลัง โฉนดจำนองอยู่กับสหกรณ์การเกษตร) อ้างว่ายังไม่ว่าง และเดินหนี ไม่คุยเลย ก็คงต้องฟ้องศาล เสียตังค์ซื้อที่ดินแล้ว ยังต้องเสียค่าธรรมเนียม ทางศาลมาอีก

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: การแยกโฉนดที่ดิน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 30, 2021, 03:48:38 pm »
กรรมสิทธิ์รวม(ต่อ)

   ถ้าที่ดินถือกรรมสิทธิ์ สามคน  นาย เอ เอาไปจำนอง  ก็คงจำนองได้เฉพาะส่วนของตนเอง  ถ้าเจ้าของอีก สองไม่ยินยอมด้วย ภาระจำนองก็ไม่ผูกพัน  เจ้าของอีก สองคน  แต่การจำนองก็ย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิ ของ เจ้าของอีกสองคน แน่นอน..

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: การแยกโฉนดที่ดิน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2021, 04:00:03 pm »
แหมๆๆๆ ทนายพึ่งจะไปยื่นฟ้องเพื่อขอแบ่งแยกโฉนดกรณีถือกรรมสิทธิรวมมาเมื่อต้นเดือนนี้เอง และคงคิดว่ากรณีเช่นนี้น่าจะมีเยอะ และบางคนก็ไม่ทราบว่าจะมีผลดีผลเสียอย่างไร

เอาเป็นว่า จะอธิบายให้ฟังงงงง ;) ;)

แน่นอน หากการถือกรรมสิทธิรวม (หมายถึงมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หลังโฉนดหลายคน) หากมีการปักปันเขตเเดนให้เป็นที่ชัดเจน เช่นทำรั้วล้อมรอบ มีบ้านอยู่อาศัย กรณีนี้ถึงจะถือกรรมสิทธิ์รวมก็ไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะแนวเขตชัดเชน แต่ก็ใช่ว่าจะสบายใจซะทีเดียว ยังมีปัญหารออยู่ข้างหน้าอีก อยู่ที่จะเกิดขึ้นเมื่อใดเท่านั้น

ปัญหานั้นก็คือ หากคนใดคนหนึ่งไปจำนองแล้วเกิดไม่ชำระหนี้ แล้วถูกเจ้าหนี้ฟ้อง ทีนี้แหละเป็นปัญหาอย่างที่ว่า เพราะเวลายึดทรัพย์บังคับคดีนำออกขายทอดตลาดจะยึดทั้งแปลง โดยไม่สนใจว่าใครจะถือครองอย่างไร ยิ่งไม่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจนแล้วด้วย จะยิ่งสร้างความวุ่นวายไปอีก เพราะต้องไปยื่นคำร้อง "ขอกันส่วน" (หมายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายได้เท่าใดให้แบ่งออกมาให้เราตามสัดส่วนที่ควรจะได้) จากการขายทอดตลาดได้เท่านั้น แต่ถ้ามีการแบ่งแยกไว้ชัดเจนแล้วก็ยังต้องไปยื่นคำร้อง "ขอขัดทรัพย์" (หมายถึงการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ทรัพย์ที่ยึดนั้นมิใช่ของจำเลยแต่เป็นของเรา) ซึ่งก็ไม่ทราบว่าศาลและคู่กรณีจะยินยอมหรือซึ่งก็ต้องหาทนายความในการดำเนินการ มิเช่นนั้นก็จะนอนไม่หลับแน่ๆ

ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น การแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นคนทางที่ควรทำอย่างยิ่ง ไม่ต้องกลุ้มใจภายหลังครับ

เอาเป็นว่า เมื่อเจรจากันไม่ได้แล้ว ก็ต้องอาศัยศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายล่ะครับ ส่วนค่าใช้จ่ายก็จะไม่ตายตัวอยู่ที่ว่าทนายความผู้นั้นเคยทำหรือไม่ ระยะทางไกล้ไกล ต้องไปศาลกี่รอบ เรื่องเหล่านี้ทนายจะต้องไปคำนวนแล้วจึงจะแจ้งได้ว่าค่าใช้จ่ายเท่าใด โดยจะดูว่าที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดประกอบด้วย

ประมาณนี้ครับ