04/12/24 - 15:23 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ทางจำเป็นมาตรา1350ขอคนที่เข้าใจตอบหน่อยครับผมหามาเยอะยังไม่เข้าใจเลยครับ????  (อ่าน 4146 ครั้ง)

Mac

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ผมเกิดสงสัยเกี่ยวกับทางจำเป็นครับผมขออนุญาตถามหน่อครับ
 ทางจำเป็นตามมาตรา1350 เดิมจะต้องเป็นที่ดินที่นิดกับทางสาธารณะหลังจากแบ่งแยกหรือแบ่งโอน ทำให้ที่ดินอีกแปลงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้จึงสามารถขอเปิดทางจำเป็นตามมาตรา1350 ได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน แต่ผมเกิดข้อส่งสัยว่า ดังนี้
1หากผู้ที่มีที่ดินติดกับทางสาธารณะโอนให้กับบุคคลภายนอก ผู้ที่ได้สิทธิขอเปิดทางจำเป็นจะสามารถขอเปิดทางจำเป็นได้อีกไหมครับตามมาตรา1350 หากเปลี่ยนความสัมพันได้เปลี่ยนไปแล้วครับ
2หากสลับกัน ผู้ที่มีที่ดินติดกับทางสาธารณะไม่ได้โอนไปให้ใคร แต่ฝั่งผู้ที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โอนให้แก่บุคคลภายนอก ตัวบุคคลภายนอกยังคงได้สิทธิขอเปิดทางจำเป็นตามมาตรา1350 อีกไหมครับ
3แล้วถ้าเกิด ที่ดินที่ติดกับทางสาธารณะ เป็นของ 1 ได้โอนไปให้ 2  และ2ได้โอนไปให้3 ส่วนทางผู้ที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธาณะ เดิมเป็นของ 4 แล้วโอนไปให้5 แล้ว5 โอนไปให้6 แบบนี้6 จะขอเปิดทางจำเป็นกับ3ได้ไหมครับ คือผมสงสัยว่าต้องดูที่ตัวผู้ได้สิทธิหรือดูที่การแบ่ง
ขอบคุณครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ทางจำเป็น

1หากผู้ที่มีที่ดินติดกับทางสาธารณะโอนให้กับบุคคลภายนอก ผู้ที่ได้สิทธิขอเปิดทางจำเป็นจะสามารถขอเปิดทางจำเป็นได้อีกไหมครับตามมาตรา1350 หากเปลี่ยนความสัมพันได้เปลี่ยนไปแล้วครับ

ตอบ....ก็ขอเปิดทางจำเป็นได้ ตาม ปพพ. ม.1350 คงไม่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ใดๆ ถ้าเข้าเงื่อนไข ตาม ปพพ ม.1349 และเสนอค่าทดแทนตามควร..

2หากสลับกัน ผู้ที่มีที่ดินติดกับทางสาธารณะไม่ได้โอนไปให้ใคร แต่ฝั่งผู้ที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โอนให้แก่บุคคลภายนอก ตัวบุคคลภายนอกยังคงได้สิทธิขอเปิดทางจำเป็นตามมาตรา1350 อีกไหมครับ

ตอบ...ดังคำตอบข้อ 1 ถ้าแปลงที่ไม่มีทางออก มีเงื่อนไขตาม ปพพ. ม.1349 ก็ขอเปิดทางจำเป็นได้

3แล้วถ้าเกิด ที่ดินที่ติดกับทางสาธารณะ เป็นของ 1 ได้โอนไปให้ 2 และ2ได้โอนไปให้3 ส่วนทางผู้ที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธาณะ เดิมเป็นของ 4 แล้วโอนไปให้5 แล้ว5 โอนไปให้6 แบบนี้6 จะขอเปิดทางจำเป็นกับ3ได้ไหมครับ คือผมสงสัยว่าต้องดูที่ตัวผู้ได้สิทธิหรือดูที่การแบ่ง
ตอบ....คำตอบ ก็เป็นไปตามข้อ 2 ครับ

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง

ฎีกาที่่ 760/2540
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 7836 และ 7838 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งจำเลยได้แบ่งแยกขายให้ผู้อื่นแล้วโอนต่อมาจนถึงโจทก์ จำเลยได้ตกลงกับผู้ซื้อให้มีถนนยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ปรากฏตามแผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ทางดังกล่าวเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.ขอให้บังคับจำเลยให้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดเลขที่1694 ทางด้านทิศใต้ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินให้เป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ คำขอท้ายฟ้อง ภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่ 7836 และ7838 ของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 แผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่ 1694 ของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ปรากฏว่าเมื่อแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยแล้วมีจำนวนทั้งหมด 17 แปลง และที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ของโจทก์ 2 แปลง ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกดังกล่าวอีก 15 แปลง ล้อมอยู่ทุกด้าน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดิน 2 แปลง ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1350 คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยกว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ของโจทก์หรือไม่
ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขาย ที่ดิน 2 แปลง ของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมาย โจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้น โดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
คำตอบ สำหรับคำถามนี้ "มโนธรรม" ได้ตอบไว้ถูกต้องแล้ว ทนายคงไม่ต้องตอบซ้ำ ;D ;D ;D

ทนายพร.