23/11/24 - 22:17 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"  (อ่าน 79618 ครั้ง)

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เมื่อเช้านี้ผมนั่งอ่านข่าว พบว่า มีลูกจ้างคนหนึ่งถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงาน จากบริษัทแห่งหนึ่งที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องยนต์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ทั้งๆที่อยู่ระหว่างการพักรักษาตัวเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำงาน กระดูกข้อมือเคลื่อนพับไปด้านหน้า แต่ต้องทนทำงานจนเลิกงาน (หัวหน้าได้มีการพาไปห้องพยาบาล พยาบาลให้พาไปโรงพยาบาลแต่ก็ไม่มีใครพาไป) จึงต้องทนทำงานจนเลิกงานและรุ่งเช้าจึงได้ไปโรงพยาบาล รักษาตัวได้หนึ่งเดือน กลับพบว่า นายจ้างให้ไปเขียนไปลาออกและใบเลิกจ้าง เพื่อไม่ให้เสียประวัติบริษัทในเรื่อง มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในการทำงาน

ผมพบว่ามีหลายกรณีที่มีความคลุมเครือ และพี่น้องแรงงานมักเกิดความสงสัยว่า “อะไรบ้างที่เรียกว่าบาดเจ็บจากการทำงาน และกองทุนเงินทดแทนต้องคุ้มครอง” ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2013, 04:05:21 pm โดย ทนายพร »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 01:30:04 pm »
ในเบื้องต้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า

(1)   กองทุนเงินทดแทน คืออะไร จะคุ้มครองใครบ้าง ?

-   กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย หรือสูญเสียเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง

-   นายจ้างที่มีลูกจ้างจำนวน 10 คนขึ้นไป มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว (รายปี หรือ รายงวด) ทั้งนี้เว้นแต่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ แม่บ้าน ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี รวมถึงข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ครูโรงเรียนเอกชน

-   เงินสมทบนี้จะคิดจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการนั้น ซึ่งนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ระหว่างอัตรา 0.2 เปอร์เซ็นต์ - 1.0 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยตามลักษณะงานของกิจการของนายจ้าง

-   แม้ภายหลัง กิจการของนายจ้างจะเหลือลูกจ้างไม่ถึง 10 คน หากนายจ้างได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วทุกเดือน ต้องจ่ายต่อเนื่อง

-   เมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างแล้วเกิดประสบอันตราย ลูกจ้างก็จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาล (45,000 ถ้าเกินพิจารณาตามเงื่อนไข แต่ไม่เกินอีก 65,000 รวม 110,000 และถ้าเกิน 110,000 จะเบิกได้อีกไม่เกิน 300,000 แต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์) ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ

-   ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลใดก็ได้ โดยทดลองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วนำใบเสร็จรับเงิน  ไปเบิกคืนภายใน 90 วัน หรือใช้แบบ กท.44  ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล หากสถานพยาบาลนั้นอยู่ในความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน ทางสถานพยาบาลจะเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล จากกองทุนเงินทดแทนเอง (จะรู้ได้ยังไง ว่าโรงพยาบาลใดอยู่ในกองทุนเงินทดแทน ให้ check จากที่นี่ได้เลยครับ http://www.sso.go.th/wpr/hospital_in_term.jsp?cat=793&webId=0)


-   แต่ถ้านายจ้างไม่มีการจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน เมื่อลูกจ้างได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บจากการทำงาน ก็จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนได้ และค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าชดเชย ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมาย ทุกบาททุกสตางค์นั้น นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว


-    แม้ว่าสืบสวนแล้วพบว่าการเจ็บป่วยของแรงงานไม่ได้เกิดจากการทำงาน ก็สามารถโอนไปใช้สิทธิกองทุนประกันสังคมได้โดยทันทีเช่นเดียวกัน


-   หากแรงงานมีเหตุจำเป็นให้ต้องไปใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาล เช่น รอผลสรุปการสืบสวนโรคไม่ไหว ต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อไม่ให้อาการป่วยลุกลาม เมื่อแรงงานแจ้งเหตุจำเป็นต่อ สปส. และได้มีการสืบสวนโรคแล้วพบว่าป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานก็จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนย้อนหลัง


(2)   กรณีใดบ้างที่เรียกว่า บาดเจ็บจากการทำงาน


บาดเจ็บจากการทำงาน หมายถึง การที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานให้แก่นายจ้าง (เน้นย้ำคำนี้นะครับ – จากการทำงาน) ได้แก่

-   ลูกจ้างได้รับอันตรายในขณะที่เดินทางไปทำงาน โดยมีหัวหน้าควบคุมไปด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๕ / ๒๕๑๖)

-   ลูกจ้างได้รับอันตรายในขณะเดินทางกลับ จากการไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๐๒ / ๒๕๒๗ , ๒๗๐๐ / ๒๕๓๐ และ ๘๓๙ / ๒๕๓๑)


-   ลูกจ้างได้รับอันตราย ขณะเดินทางไปและกลับจากการแข่งขันกีฬาที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเข้าร่วม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๗๓ / ๒๕๒๖ , ๓๐๒๓ / ๒๕๒๖ , ๔๘๐ / ๒๕๒๕ , ๓๔๕๑ – ๓๔๙๒ / ๒๕๒๗ , ๑๕๒๔ / ๒๕๓๐ , ๑๙๓๗ / ๒๕๓๐ , ๒๙๖๒ – ๒๙๖๔ / ๒๕๓๐ , ๔๔๖๓ / ๒๕๓๐ , ๗๕๘ – ๗๕๙ / ๒๕๓๑ , ๓๕๙๖ / ๒๕๓๑ , ๕๐๘๙ / ๒๕๓๒ , ๑๑๔๙ – ๑๑๕๐ / ๒๕๓๓)

-   ลูกจ้างเป็นลม ในขณะที่ทำงานให้แก่นายจ้างโดยมีเหตุปัจจัยให้ลูกจ้างเป็นลม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๑๘ / ๒๕๒๕ , ๑๔๙๑ / ๒๕๒๖ และ ๒๑๗๘ / ๒๕๒๗) 

-   ลูกจ้างถูกยิงหรือถูกทำร้ายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๖ / ๒๕๒๘ , ๓๔๖๖ / ๒๕๒๘)

-   ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุในเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือการงานของลูกจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๐๘ / ๒๕๓๓ , ๕๑๑ / ๒๕๓๕)


ตัวอย่างรูปธรรมเช่น

-   บริษัทจำกัดกำหนดเวลาทำงานปกติตั้งแต่ 8-17 นาฬิกา นายดำ ลูกจ้างมาถึงที่ทำงานเวลา 7 นาฬิกาแล้วเข้าปฏิบัติงานก่อนเวลาแล้วได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติงาน ถือว่านาย ดำลงมือทำงานแล้ว

-   นายดำทำงานจนถึงเวลา 17 นาฬิกา งานไม่เสร็จจึงทำงานต่อไปจนถึงเวลา 20 นาฬิกา แล้วได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติงานถือว่าลงมือทำงานแล้ว

-   นางสาวเขียว ทำงานทอผ้าที่บริษัท ข จำกัดมานานหลายปีจนเป็นโรค บิซิโนซิส ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากฝุ่นเส้นใยฝ้ายเป็นโรคที่เกิดจากการทำงาน

-   นายเหลือง ปฏิบัติหน้าที่ทำบัญชีอยู่แล้วเกิดเพลิงไหม้โรงงานจึงช่วยดับไฟจนถูกไฟลวกได้รับบาดเจ็บเป็นการบาดเจ็บเนื่องจากการรักษาผลประโยชน์ให้นายจ้าง

-   การปฏิบัติงานนั้นต้องมีการเดินทางอยู่ด้วย เช่น คนขับรถรับส่งพนักงานรับส่งสินค้า พนักงานขาย ซึ่งต้องออกเดินทางไปขาย พนักงานรับส่งเอกสาร พนักงานเก็บเงิน หรืองานที่ต้องออกเดินทางไปปฏิบัตินอกสถานที่ หรือ ต้องออกเดินทางไปปฏิบัตินอกสถานที่ ให้ถือว่าลงมือทำงานตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง

-   กรณีที่ทางโรงงานจัดการแข่งกีฬามีโครงการ หลักฐานการประชุม แบ่งทีมแข่ง แล้วพนักงานบาดเจ็บ ใช้กองทุนเงินทดแทน แต่ถ้าพนักงานเล่นกันเอง แล้วบาดเจ็บ ถือว่าไม่ใช่บาดเจ็บจากการทำงานครับ


(3)   กรณีใดบ้างที่เรียกว่า ไม่ถือว่าบาดเจ็บจากการทำงาน


-   ลูกจ้างได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับยานพาหนะขณะที่ยังเดินทางไปไม่ถึงสถานที่ทำงานและยังไม่ได้ลงมือทำงาน หรือขณะไปทำธุรกิจอันมิใช่การงานของนายจ้าง หรือในขณะที่ไม่ใช่ระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๗๙ / ๒๕๒๐ , ๒๕๐๗ / ๒๕๒๑ , ๖๙๗ / ๒๕๒๒ , ๑๓๑๐ / ๒๕๒๕ , ๑๑๗๒ / ๒๕๒๖ , ๒๐๘ / ๒๕๓๐ , ๓๙๖๖ / ๒๕๓๐ และ ๒๑๑๔ / ๒๕๓๑)

-   ลูกจ้างถูกยิงหรือถูกทำร้ายอันเนื่องมาจากสาเหตุส่วนตัว แม้จะถูกยิงหรือถูกทำร้ายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่หรืออยู่ในที่ทำงานของนายจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๑ / ๒๕๒๓ , ๖๘๘ / ๒๕๒๔ , ๙๓๙ / ๒๕๒๕, ๑๗๙๙ / ๒๕๒๓ , ๑๘๙๒ / ๒๕๒๗ , ๒๓๒๐ / ๒๕๒๗)

-   ลูกจ้างได้รับอันตรายในขณะทำธุรกิจส่วนตัวไม่เกี่ยวกับงานอยู่ในระหว่างการทำงานก็ตาม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๗๓ / ๒๕๒๕)

-   ลูกจ้างได้รับอันตรายขณะแข่งกีฬาซึ่งนายจ้างไม่ได้สั่งให้แข่งกีฬาเพียงแต่อนุญาตให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างลูกจ้างได้เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๗๘ / ๒๕๓๑)

ตัวอย่างเช่น
-   นาย ดำเดินทางจากบ้านพักเพื่อจะมาทำงานที่บริษัทแล้วเกิดอุบัติเหตุถูกรถชนได้รับบาดเจ็บในขณะเดินทางไม่ถือว่าลงมือทำงาน
-   แต่ถ้าผู้ตายออกเดินทางเพื่อไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง แม้จะยังไม่ได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายก็ถือว่าลงมือทำงานแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 27, 2019, 09:23:43 pm โดย ทนายพร »

Sakurai

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2016, 11:03:09 am »
ได้ความรู้มากครับและข้อคิด


Sodata

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2016, 06:18:23 pm »
เราได้รับบาดเจ็บในเวลาทำงานอย่างเช่นโดนเครื่องจักรทำให้บาดเจ็บ

mor9517

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2019, 11:46:29 am »
ขอสอบถาม ว่า กรณี พนักงานอยู่ในเวลางาน และประมาท โดบการเล่นกัน จนเกิดอุบัติเหตุ ต้องเข้ารับการรักษา ถือว่าเป็นการบาดเจ็บจากการทำงานหรือไม่
และ นายจ้างต้องรับผิดชอบในเรื่องค่ารักษาหรือเปล่าครับ

Manotham

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2019, 02:16:47 am »
เงินทดแทน

  มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่าย...ตาม ม.22 (พรบ.เงินทดแทนฯ) กรณีของคุณก็ต้องดูข้อเท็จจริงว่า  เข้าข่ายข้อยกเว้นหรือไม่...

มาตรา ๒๒  นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้

(๒) ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนประสบอันตราย

 

nightstalker

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์รวมคลิปตลกฮาลั่น
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2019, 01:24:42 am »
ขอบคุณคับ ;D ;D ;D ;D
เว็บไซต์รวมคลิปตลกฮาลั่น
http://funnynonstop.com/

Saitama

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2019, 11:43:39 am »
ขอบคุณมาก

nipon2544

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มีนาคม 28, 2020, 11:15:29 am »
สอบถามครับ
(สอบถามกับหัวหน้างาน) พนักงานใช้มือซ้ายกดปุ่มเลื่อนพาเลสไม้ที่อยู่บนสายพานแบบลูกเหล็กเพื่อดำเนินการห่อกระดาษ แล้วเห็นว่ากระดาษห่อเหล็กไปอยู่ใต้พาเลส จึงเอามือขวาไปดึงกระดาษออก โดยไม่ได้เอามือซ้ายออกจากปุ่ม ทำให้นิ้วนางข้างขวาโดนพาเลสและลูกเหล็กทับได้รับบาดเจ็บ

อนึ่งตัวพนักงานเองบอกว่าเค้าผิดเอง และจะใช้สิทธิประกันสังคม (ไม่ใช่กองทุนเงินทดแทน) เมื่อพนักงานไปถึง รพ.ที่มีสิทธิประกันสังคม(พนง.แจ้งว่าจะใช้สิทธิประสังคม) และได้โทรเข้ามาที่บริษัทฯ แต่ตัวผมติดธุระอยู่ จึงโทรกลับไปภายหลัง ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่กองทุน ผมจึงขอฝากเบอร์โทรไว้ จนท.รพ. บอกให้โทรมาใหม่ แล้วผมได้ไปที่ รพ. ซึ่งได้ดำเนินการรักษาเสร็จเรียบร้อย โดยเข้าเงินกองทุนฯ และให้เอกสาร กท16, กท44, กท16/1 และตอนเข้างานได้มีการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ แล้วด้วย

 ถ้าตามข้อมูลที่ได้ กรณีนี้เป็นความประมาทของพนักงานเอง

1.ทางบริษัท สามารถให้ พนง.ไปใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่
2.ถ้าได้เอกสารเงินกองทุน ต้องดำเนินการอย่างไร


ขอแสดงความนับถือ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 05:24:41 pm »
ถามเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการทำงานดังนี้..

1.ทางบริษัท สามารถให้ พนง.ไปใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ครับ เมื่อลูกจ้างบาดเจ็บจากการทำงาน ก็ต้องไปใช้เงินกองทุนเงินทดแทนในการรักษา การแจ้งผิดกองทุนถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานมีความผิดตามกฎหมายครับ

2.ถ้าได้เอกสารเงินกองทุน ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ให้ลูกจ้างรักษาด้วยกองทุนเงินทดแทน ถูกต้องแล้วครับ

ส่วนลูกจ้างประมาทหรือไม่นั้น ต้องสอบสวนตามหลักวิชาการเช่น มีการประเมินความเสี่ยงในงานนั้นก่อนหรือไม่ หัวหน้าได้มีการควบคุมดูแลอย่างไกล่ชิดหรือไม่ จป.บริหาร , จป.วิชาชีพ , หรือ จป.ในระดับต่างๆที่กฎหมายกำหนดให้มีขึ้น ได้ทำหน้าที่ของตนเองตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ครบถ้วนแล้วหรือยัง ต่างๆเหล่านี้เป็นประเด็นที่ทั้งผูั้บริหารและหัวหน้างานต้องไส่ใจ หาใช่ผลักความรับผิดไปให้ว่าลูกจ้างประมาทแต่เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่นเครื่องที่เป็นกรณีนี้ หากออกแบบปุ่มกด ๒ ปุ่มทั้งซ้ายและขวา หากไม่กดพร้อมกันเครื่องจะไม่ทำงาน ก็คงไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็เป็นได้ครับ โดยในแวดวงความปลอดภัย เรียกว่า "การประเมินความเสี่ยง" ครับ  ลองไปสำรวจตรวจสอบดูนะครับ

ทนายพร.


ทนายพร.

nipon2544

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีใดบ้างที่เรียกว่า “บาดเจ็บจากการทำงาน"
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 11:53:12 am »
ขอขอบคุณมากครับ :)