28/03/24 - 16:22 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างมีสิทธิ์จ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างโดยการผ่อนจ่ายทีละเดือนได้หรือไม่  (อ่าน 71666 ครั้ง)

pinpin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ...ทนายพร

ผมมีเรื่องขอรบกวนปรึกษาครับ....

คือที่บริษัทเวลาเลิกจ้างพนักงาน เขาไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยเป็นเงินก้อนทีเดียวทั้งหมด แต่กลับใช้วิธีผ่อนจ่ายทีละเดือนจนครบตามตกลง ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นการยุติธรรม เช่นนี้แล้วไม่ทราบว่าผมสามารถไม่ยอมรับวิธีการนี้ของบริษัทได้หรือไม่ครับ แล้วหากไม่ยอมรับแล้วจะมีวิธีการอย่างไรที่จะบังคับให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างเต็มจำนวนในครั้งเดียวได้ครับ ในเรื่องนี้มี กม. รองรับหรือไม่ครับ

อีกเรื่องในกรณีเป็นเรื่องขึ้นศาลเเรงงาน มีขั้นตอนการพิจารณาเนินนานเพียงใดครับ ซึ่งในระหว่างที่เรื่องพิพาทในชั้นศาลนั้น ระยะเวลาที่ผ่านไปนับจากวันเลิกจ้างโดยที่ผมยังไม่ได้ค่าชดเชย ค่าเสียหายต่างๆนั้น เมื่อคดีสิ้นสุดหากผมชนะ เวลาในส่วนนี้ทางบริษัทต้องชดเชยกลับมาด้วยหรือไม่ครับ และมีหลักเกณฑ์อย่างไร

รบกวนแนะนำชี้เเนะด้วยนะครับว่าผมควรทำอย่างไร ทางบริษัทจะเรียกเข้าไปแจ้งเลิกจ้างในวันอังคารนี้แล้วครับ ผมจะได้เตรียมการได้ถูกว่าจะทำอย่างไร

ขอขอบพระคุณมากครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 06, 2015, 01:29:33 pm โดย ทนายพร »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ ยินดีให้คำปรึกษาครับ ซึ่งจากที่เล่ามานี้ก็เข้าใจว่าอยู่ในภาวะเครียดพอสมควร ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดเจนก็จะขออธิบายให้เข้าใจแบบยาวๆตามคำถามเลยนะครับ

ดังนี้ครับ

คำถาม..คือที่บริษัทเวลาเลิกจ้างพนักงาน เขาไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยเป็นเงินก้อนทีเดียวทั้งหมด แต่กลับใช้วิธีผ่อนจ่ายทีละเดือนจนครบตามตกลง ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นการยุติธรรม เช่นนี้แล้วไม่ทราบว่าผมสามารถไม่ยอมรับวิธีการนี้ของบริษัทได้หรือไม่ครับ แล้วหากไม่ยอมรับแล้วจะมีวิธีการอย่างไรที่จะบังคับให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างเต็มจำนวนในครั้งเดียวได้ครับ ในเรื่องนี้มี กม. รองรับหรือไม่ครับ

ตอบ...กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยภายในกี่วัน แต่มีบทบัญญัติที่ใกล้เคียงที่เทียบได้อยู่ 2 มาตรา ดังนี้

มาตรา 9 ได้บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตาม มาตรา 10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ภายในเวลาที่กำหนดตาม มาตรา 70 หรือ ค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 120 มาตรา 121 และ มาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่าง เวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดย ปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้ลูกจ้างร้อยละสิบห้า ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน

มาตรา 70 วรรคท้าย ได้บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วง เวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่ลูกจ้าง มีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

หมายความว่า เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิดแล้ว นายจ้างต้องมี “หน้าที่” ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน (ม.118) เต็มจำนวน หากเกินเวลา 7 วันลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วัน (นับเพิ่มทุกเจ็ดวันจนกว่านายจ้างจะจ่าย เช่น มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย 10,000 บาท เมื่อพ้นไปเจ็ดวันลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 10,000 บาท + เงินเพิ่มอีกร้อยละ 15  อีกจำนวน 1,500 บาท รวมเป็น 11,500 บาท หากยังไม่จ่ายอีก ก็จะเป็นต้นเงิน 10,000 บาท + เงินเพิ่มอีกร้อยละ 15 เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็น 13,000 บาท ซึ่งหากยังไม่จ่ายอีกก็จะคิดไปเรื่อยๆจนกว่านายจ้างจะจ่าย ทั้งนี้ การที่นายจ้างไม่จ่ายต้อง “ปราศจากเหตุผลอันสมควร” ด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้ให้สิทธินายจ้างที่จะแบ่งจ่ายเป็นงวดได้ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอมและยอมรับเงื่อนไขการแบ่งจ่ายครับ

คำถาม..อีกเรื่องในกรณีเป็นเรื่องขึ้นศาลเเรงงาน มีขั้นตอนการพิจารณาเนินนานเพียงใดครับ ซึ่งในระหว่างที่เรื่องพิพาทในชั้นศาลนั้น ระยะเวลาที่ผ่านไปนับจากวันเลิกจ้างโดยที่ผมยังไม่ได้ค่าชดเชย ค่าเสียหายต่างๆนั้น เมื่อคดีสิ้นสุดหากผมชนะ เวลาในส่วนนี้ทางบริษัทต้องชดเชยกลับมาด้วยหรือไม่ครับ และมีหลักเกณฑ์อย่างไร

ตอบ...ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ โดยใช้ระบบไต่ส่วนในการพิจารณาพิพากษาคดี (ในทางปฎิบัติแล้วจะไม่ค่อยเป็นเช่นนี้แต่จะใช้ระบบการพิจารณาเหมือนคดีแพ่งตามปกติ คือเป็นหน้าที่ของคู่ความที่จะทำข้อเท็จจริงให้ปรากฏในสำนวน) ส่วนการดำเนินคดีนั้น สามารถที่จะร้องขอให้นิติกรประจำศาลจัดทำคำฟ้องให้ได้ และหลังจากนั้น ก็จะมีการนัดไกล่เกลี่ยนัดแรก (ประมาณ 45 วันนับแต่วันยื่นฟ้อง) หากตกลงกันไม่ได้จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีเต็มรูปแบบ ก็คือศาลจะสั่งให้จำเลยยื่นคำให้การ หลังจากนั้นก็จะเป็นการ “กำหนดประเด็นข้อพิพาท” และกำหนดวันในการ “สืบพยาน จำเลย” และ “สืบพยานโจทก์” เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการนี้แล้ว ศาลก็จะทำ “ร่าง” คำพิพากษาและนัดคู่ความมาฟังคำพิพากษาต่อไป(โดยทั่วไปประมาณ 1 เดือน) และหลังจากนั้นประมาณ 15-30 วันจึงจะไปขอคัดคำพิพากษาได้ครับ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่ความยากง่ายของคดีครับ

ถ้าลูกจ้างชนะลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินตาม “คำขอท้ายฟ้อง” ซึ่งอยู่ที่เราจะขอให้ศาลพิพากษาอย่างไร ซึ่งหากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ว ก็จะต้องมีคำขอให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งมีแนวคำพิพากษาฎีกาไว้ประมาณว่าคิดจากอายุงานที่ทำงานมา “ปีละเดือน” ครับ และในการดำเนินคดีแรงงานนั้นไม่เสียค่าฤชาธรรมเนียมศาลแต่อย่างไดครับ

รบกวนแนะนำชี้เเนะด้วยนะครับว่าผมควรทำอย่างไร ทางบริษัทจะเรียกเข้าไปแจ้งเลิกจ้างในวันอังคารนี้แล้วครับ ผมจะได้เตรียมการได้ถูกว่าจะทำอย่างไร

ส่วนข้อแนะนำคือ ไม่ต้องเซ็นต์ใบลาออก หรือไม่ต้องเซ็นต์ยอมรับเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น และยืนยันให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเต็มจำนวนภายใน 7 วันครับ ถ้านายจ้างไม่จ่ายก็ไปใช้สิทธิได้ 2 ช่องทาง คือ ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (เรื่องค่าจ้าง,ค่าชดเชย,ดอกเบี้ย,เงินเพิ่ม ซึ่งเป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) หรืออีกช่องทางหนึ่งก็คือไปใช้สิทธิทางศาล ตามคำตอบข้างต้นครับ ให้กำลังใจครับ

ทนายพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 06, 2015, 06:22:26 pm โดย ทนายพร »

pinpin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างมากนี้ครับ
ผมรบกวนขอถามอีกสัก 2-3 คำถามนะครับ
1 กรณีเมื่อเรื่องร้องถึงพนักงานตรวจแรงงาน หรือไปถึงศาลแรงงาน ทางนายจ้างใช้เหตุผลการผ่อนจ่ายค่าชดเชย ว่าเป็นเพราะบริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนเเรง โดยมีหลักฐานทางการเงินมาสนับสนุนว่าเป็นจริง เช่นนี้แล้วจะมีเหตุผลเพียงพอที่ทางพนักงานตรวจแรงงาน หรือทางศาลจะรับเหตุผลและยอมให้นายจ้างผ่อนจ่ายค่าชดเชยได้ไหมครับ

2 และถ้าหากวันที่ทางบริษัทแจ้งการเลิกจ้าง และให้มีผลการเลิกจ้างทันที เช่นนี้แล้วถือว่าไม่ได้เป็นการเเจ้งล่วงหน้าใช่ไหมครับ หากใช่ผมสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าตกใจได้ด้วยหรือไม่ครับ และมีหลักเกณฑ์การเรียกร้องได้เท่าไหร่อย่างไรตามที่ กม.กำหนด

3 เมื่อหากบริษัทไม่จ่ายค่าชดเชยตาม กม. และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ผมก็ต้องไม่เซ็นยอมรับใดๆ แล้วฟ้องพนักงานตรวจแรงงาน หรือศาลแรงงานต่อไป แต่ในระหว่างนั้นผมยังต้องไปทำงานตามปกติไหมครับ เพราะไม่ได้เซ็นใบลาออกหรือใบเลิกจ้าง  ถ้าหากขาดงานไปจะไปเข้าทางบริษัทไหมครับ ว่าขาดงานติดต่อกันเกินกำหนด รบกวนขอคำชี้เเนะด้วยนะครับ...

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 06, 2015, 01:29:17 pm โดย ทนายพร »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
ตอบจากคำถาม ข้อ ๑ ก็อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่รับฟังได้หากบริษัทขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ทั้งนี้ทั้งพนักงานตรวจแรงงานหรือศาลก็จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยอยู่แล้ว หากเราตอกลงรับเงื่อนไขว่าให้ผ่อนจ่ายได้ก็เป็นไปตามข้อตกลงนั้น หากเราไม่ตกลงก็จะต้องมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องตามรูปคดีครับ
ตอบจากคำถามข้อ ๒ ถูกต้องแล้วครับ หากไม่มีการบอกกล่าวก่อนเลิกจ้าง ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับ "สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ค่าตกใจ" ซึ่งการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนวันจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลในงวดการจ่ายค่าจ้างงวดต่อไปครับ ส่วนคำว่าค่าเสียหายนั้น ใช้เรียกร้องจากกรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ
ตอบข้อ ๓ เมื่อมีการเลิกจ้าง (นายจ้างต้องแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งว่า "คุณไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ บริษัทเลิกจ้างคุณแล้ว" ก็ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเมื่อมีการเลิกจ้างกันแล้ว "สิทธิ และ หน้าที่" ของทั้งสองฝ่ายก็เป็นอันเลิกกัน หมายความว่า ลูกจ้างก็ไม่ต้องไปทำงานให้กับนายจ้างแล้ว(ไม่ถือเป็นการขาดงาน) เช่นเดียวกันนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างนับแต่วันเลิกจ้างนั้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนก็ให้นายจ้างออกหนังสือเลิกจ้างให้เราครับ หรือถ้านายจ้างไม่ออกให้ก็ถามไปตรงๆว่าเลิกจ้างเราแล้วใช่หรือไม่ อะไรประมาณนี้อ่ะครับ
ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร

pinpin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณทนายพรอย่างมากครับ สำหรับการให้คำปรึกษานี้
ผมขออนุญาตแจ้งความคืบหน้าให้ฟัง หลังจากที่ทางฝ่ายบุคคลเรียกผมเข้าไปพบ และแจ้งให้ทราบถึงการที่จะเลิกจ้าง โดยสาเหตุหลักคือสไตล์การทำงานเข้ากับผู้บังคับบัญชาไม่ได้(เจ้านายคือกรรมการผู้จัดการครับ) เค้าจึงไม่สบายใจที่จะผมทำงานด้วยต่อไป แต่ไม่ได้แจ้งความผิดใดๆในการที่จะเลิกจ้างนี้ และจะจ่ายค่าชดเชยตามที่ กม. กำหนด แต่ขอผ่อนจ่าย (เป็นไปตามที่คาดไว้) ซึ่งผมไม่ยอมรับเงื่อนไขการผ่อนจ่ายนี้ จึงยังไม่มีการเขียนใบลาออกแต่อย่างใด ทางฝ่ายบุคคลจะกลับไปปรึกษากับเจ้านายอีกครั้ง ซึ่ง ณ.วันนี้ผมก้ยังไม่ได้คำตอบว่าจะเป็นอย่างไร แต่คาดว่าเค้าก็คงจะยืนยันการผ่อนจ่าย โดยให้เหตุผลถึงสถานะทางการเงินของบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง

ผมจึงอยากขอรบกวนปรึกษาอีกครั้งว่า...
1 ตามเรื่องราวนี้ถือว่าทางบริษัททำการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ครับ และถ้าใช่ผมสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย นอกเหนือจากค่าชดเชยการเลิกจ้างตาม กม. ได้หรือไม่ครับ

2 มีคำแนะนำอย่างไรต่อไปสำหรับกรณีนี้อีกไหมครับ เพื่อที่ผมจะได้เตรียมตัวรับมือให้พร้อมได้ ผมไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง กม.เท่าไหร่นัก จึงต้องขอรบกวนปรึกษาจากผู้รู้ด้วยครับ และขอขอบคุณจริงๆสำหรับคำแนะนำปรึกษาที่ผ่านมา

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
ตอบตามคำถามเลยนะครับ
1 ตามเรื่องราวนี้ถือว่าทางบริษัททำการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ครับ และถ้าใช่ผมสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย นอกเหนือจากค่าชดเชยการเลิกจ้างตาม กม. ได้หรือไม่ครับ?
ตอบ...ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ อยู่ที่มุมมองของแต่ละฝ่าย ซึ่งองค์ประกอบของการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การเลิกปฎิบัติ , การเลิกจ้างไม่มีความผิด , การปรับปรุงขบวนการผลิต เป็นต้น โดยต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไปครับ และผู้ที่จะตอบได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น คือ "ศาล" ครับ โดยหน้าที่ของแต่ละฝ่ายคือเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินครับ และกรณีที่ถามมานี้ต้องคุยในรายละเอียดอีกเยอะพอสมควรถึงจะตอบได้ครับ


2 มีคำแนะนำอย่างไรต่อไปสำหรับกรณีนี้อีกไหมครับ เพื่อที่ผมจะได้เตรียมตัวรับมือให้พร้อมได้ ผมไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง กม.เท่าไหร่นัก?
ตอบ..ข้อแนะนำก็คือ ประการแรก หากจะสู้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก็ไม่ต้องเซ้นต์ใบลาออก หรือรับเงื่อนไขใดๆ และในระหว่างนี้ต้องไม่ทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท แล้วไปสู้ที่ศาลเพื่อให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน หากคุณชนะก็จะได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ถ้าแพ้ก็ถือว่าเลิกลากันไป แต่ก็จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายพอสมควรครับ หรือหากเห็นว่าไม่อยากขึ้นโรงขึ้นศาลก็อาจจะพิจารณาต่อรองเงื่อนไขกับบริษัทในระดับที่พอรับได้ และจากกันด้วยความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีๆต่อกันครับ และท้ายที่สุดสำหรับข้อแนะนำคือ ขอให้การฟ้องศาลเป็นช่องทางสุดท้าย เพราะระยะเวลาในการดำเนินคดีค่อนข้างนานครับ และระยะเวลาต่อสู้ที่ยาวนานจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังคำกล่าวที่ว่า "ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม" ลองพิจารณาดูครับ
ทนายพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2015, 11:19:01 pm โดย ทนายพร »

pinpin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากๆเลยครับ
ตอนนี้ทางบริษัทบอกว่าจะผ่อนจ่าย 3 งวด

1 ถ้าผมยอมตามนั้นทางบริษัทจะต้องเตรียมเช็คทั้ง 3 ใบให้กับผมในวันที่จะเซ็นใบลาออกเลยใช่มั้ยครับ
2 ถ้าเขายังไม่ให้เช็คในวันนั้น บอกว่าจะนัดให้วันหลัง ผมก็ไม่ควรเซ็นใบลาออกใช่มั้ยครับ
3 หรือเซ็นได้แต่ต้องระบุรายละเอียดของข้อตกลงไว้เป็นเอกสารหลักฐานไว้ใช่มั้ยครับ
4 แล้วถ้าหากภายหลังเช็คเด้งอีกจะทำอย่างไรครับ

ขอรบกวนทนายพรอีกครั้งนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ


ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
ตอบ ๑. อยู่ที่ข้อตกลงครับว่าตกลงจ่ายกันเป็นเช็ค , เป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชี อยู่ที่คุณกับบริษัทที่ตกลงกันครับ
ตอบ ๒. ควรสรุปตามข้อ ๑ ให้เข้าใจตรงกันก่อน เมื่อสรุปได้แล้วจะเซ้นต์ใบลาออกหรือจะทำสัญญากันอย่างไรก็สามารถดำเนินการได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันครับ
ตอบ ๓. ควรจัดทำสัญญากันให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมกับมีพยานเซ้นต์ด้วย ก่อนที่จะเซ้นต์ใบลาออกครับ จะได้สบายใจ
ตอบ ๔. ฟ้องศาลเป็นคดีอาญาครับ
ทนายพร