22/11/24 - 16:57 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาการเลิกจ้าง  (อ่าน 7430 ครั้ง)

Deepaction

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาการเลิกจ้าง
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2015, 01:20:11 am »
เข้าเรื่องเลยนะครับ คือจุดเริ่มต้นคือเพื่อนผมชื่อว่า น.ส ก ( นามสมมติ ) ทำงานอยู่สถานีไฟฟ้าแห่งหนึ่ง. ละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้ง จนกระทั่งหัวหน้างานโทรมาหาผมให้ไปเข้าทำงานแทน จริงๆเขาก็โทรมาหลายครั้ง ซึ่งตัวผมเองก็บอกเขาไปว่าแล้วนส ก.ล่ะ? ท่านก็ได้ตอบผมว่า จะให้ออกแล้ว และก็ขอร้องให้ผมไปทำแทน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์หลายๆอย่าง ผมจึงตอบตกลง. พอเริ่มทำงานไปได้ช่วงหนึ่ง ประมานเกือบเดือน ท่านโทรมาหาผมอีกครั้งแล้วบอกว่า ไม่ต้องมาทำล่ะนะ. ผมก็งง แต่ก็รู้เหตุผล คือคนเก่าขอกลับมาทำ ( ผมไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองคนเป็นยังไง แต่ที่ดูๆ มันก็เกินนายจ้างกับลูกน้อง ) อีกประมาน 10 นาที ท่านโทรมาอีกครั้ง แล้วบอกว่า ก็ให้ผมมาทำเหมือนเดิมแหล่ะ.  หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไร จนกระทั่งวันนี้ทางภรรยาท่านได้โทรมาหาผม ประมานว่า อยากทำงานไหม? ผมก็ตอบว่า ครับ อยากทำ. ประเด็นคือ ภรรยาท่านบอกว่ามันมีคนจ้องที่คอยฟ้องหัวหน้าอยู่นะ. แล้วคนเก่าคือ นส.ก เขาจะขอกลับมาทำ. ด้วยความที่หัวหน้าท่านเป็นคนขี้สงสาร แต่ทางภรรยาท่าน ( ซึ่งผมจะเรียกว่า ป้า ) ป้าเขาค้านขึ้นว่า ให้ผมมาทำแล้วจะให้คนเก่ากลับมาทำไม มันไม่ถูกต้อง ป้าบอกผมว่า ถ้าผมจะทำเขาสนับสนุนเต็มที่ ซึ่งป้าจะชอบพูดว่าเขาพูดมากไม่ได้ แต่ผมรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องชู้สาว. แล้วที่นี้ผมอยากรู้ว่า ถ้าเกิดงานไม่มั่นคงแบบนี้คือหัวหน้าจะไล่ผมออกตอนไหนก็ไม่รู้ มีกฏหมายเหตุการณ์นี้ไหม?  แล้วถ้าผมโดนไล่ออกผมจะได้รับเงินชดเชยไหมครับ ( ทำงานตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2558 ) ผมว่ามันดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่  ขอขอบคุณทนายพรล่วงหน้านะครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัญหาการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2015, 12:09:39 am »
ตอบเข้าเรื่องเลยนะครับ

๑.เท่าที่อ่านก็ยังงงๆอยู่นะครับว่าระหว่างคุณกับบริษัท(สถานีไฟฟ้า) มีสัญญาจ้างกันอย่างไร เพราะเท่าที่อ่านก็อนุมานได้ว่า ทำงานเป็นกะ แล้วเพื่อนคือ น.ส.ก.ไม่ค่อยมาทำงานคุณจึงต้องทำโอทีต่อ และที่สำคัญ สถานีไฟฟ้านี้เป็นของเอกชน หรือเป็นรัฐวิสาหกิจครับ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นรัฐวิสาหกิจก็จะมีกฎหมายเฉพาะต่างหากจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานครับ ซึ่งประเด็นนี้ต้องขอรายละเอียดเพ่ิมแล้วล่ะครับถึงจะวิเคราะห์ได้

๒."แล้วถ้าผมโดนไล่ออกผมจะได้รับเงินชดเชยไหมครับ ( ทำงานตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2558 )" ซึ่งประเด็นนี้ต้องมีความชัดเจนตามข้อ ๑ ก่อน ซึ่งหากเป็นลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจแล้ว เมื่อถูกออกจากงานอาจได้ค่าชดเชยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
แต่ถ้าเป็นลูกจ้างเอกชนก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานครับ ซึ่งใน(๑) ได้บัญญัติว่า "ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปีให้จ่ายไม่น้อย
กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน" แต่กรณีของคุณนั้นทำงานยังไม่ครบ ๑๒๐ วัน จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยดังกล่าวครับ

ทนายพร

Deepaction

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัญหาการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2015, 01:01:23 am »
เป็นรัฐวิสาหกิจครับ แล้วตอนนี้ทางหัวหน้าผมเขาบอกว่าให้มาทำถึงวันที่ 31 นี้ เขาจะเอาคนเก่ามาเข้าเหมือนเดิม. ซึ่งเขาพูดว่าช่วยหัวหน้าหน่อย ตอนนี้มีปัญหาทั้งหมดนั่นแหล่ะ ไว้จะเล่าให้ฟังทีหลัง. .ในความคิดผมตอนนั้นคือบีบให้ออกแน่เลย. คือผมก็คิด นั่งอึ้ง ถ้าเป็นแบบนี้ผมต้องยอมเซ็นเอกสารลาออกหรอครับ อายุงานก็ยังไม่ครบ ผมมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้างครับ ?

ขอบคุณทนายพร

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัญหาการเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2015, 04:06:00 pm »
ดูแล้วคุณเหมือนเป็นตัวเลือกลำดับสุดท้ายและอยู่ท่ามกลางความขัดเเย้งในเรื่องส่วนตัวแต่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องงาน และก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีความซับซ้อนถึงขอให้ติดต่อทางโทรศัพท์ เพื่อที่จะได้สอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและตอบคำถามได้อย่างชัดเจนครับ
อย่างไรก็ตาม ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชย ในข้อ 45 ว่า "ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างดังนี้
          (1) พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปีโดย
รวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้
จ่ายไม่น้อยกว่าเงินเดือน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่า
จ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับพนักงานซึ่งได้รับเงินเดือนค่าจ้างตามผลงาน
โดยคำนวณเป็นหน่วย
          (2) หนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี โดยรวมวันหยุด วัน
ลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้จ่ายไม่น้อยกว่า
เงินเดือน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสำหรับพนักงานซึ่งได้รับเงินเดือนค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย
          (3) พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีขึ้นไป โดยรวมวันหยุด วันลา และวัน
ที่รัฐ วิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้จ่ายไม่น้อยกว่าเงินเดือน
ค่าจ้างอัตรา สุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน
หนึ่งร้อยแปดสิบวัน สุดท้ายสำหรับหนักงานซึ่งได้รับเงินเดือนค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ
เป็นหน่วย
          การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดจากงาน
หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 หรือในกรณีที่รัฐวิสาหกิจ
ไม่ยอม ให้พนักงานทำงานเกินเจ็ดวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่ก็
ตาม โดยไม่จ่ายเงิน เดือนค่าจ้างให้ ถ้าปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจมีเจตนาจะไม่จ้างพนักงานนั้น
ทำงานต่อไป หรือกลั่นแกล้ง พนักงาน ให้ถือเป็นการเลิกจ้างด้วย
          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็น
ครั้ง คราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ ซึ่งรัฐวิสาหกิจและพนักงาน ตกลง
ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างงานไว้ และให้
หมายความรวมถึงกรณีที่สัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จ หาก
รัฐวิสาหกิจและ พนักงานจะตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีก ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วจะต้อง
ไม่เกินระยะเวลา การจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกด้วย
ทนายพร