23/11/24 - 22:00 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปกฎหมายแรงงานสั้นๆ 31 ข้อ ที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้  (อ่าน 178733 ครั้ง)

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ฝ่ายบุคคลบริษัทหนึ่ง (ญาติๆกันครับ) โทรมาหาผมว่า มีกฎหมายแรงงานอะไรบ้างที่เขาและลูกน้องควรต้องรู้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงาน เอาแบบสรุปสั้นๆ ง่ายๆ ใน 15 นาที จบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2013, 02:05:22 am โดย ทนายพร »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: สรุปกฎหมายแรงงานสั้นๆ 31 ข้อ ที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 03:35:02 pm »
ผมตอบไปว่า การจะเป็น "ฝ่ายบุคคลที่ดี" มี 31 ข้อในกฎหมายแรงงาน ที่ควรรู้ ซึ่ง 31 ข้อนี้ใช้กับลูกจ้างทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยไม่ว่าจะมีสัญชาติหรือไร้สัญชาติครับ

อย่างที่ผมย้ำกับหลายๆคนบ่อยครั้งว่า กฎหมายแรงงานทุกฉบับคุ้มครองคนที่เป็น “แรงงานทุกชาติ” สำหรับผู้ที่ทำงานโดยลักลอบเข้าประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงาน ย่อมทำผิด พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 เท่านั้น แต่ไม่เป็นเหตุหรือเงื่อนไขที่จะทำให้ผู้ที่เป็นแรงงานไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานดังกล่าวนั้น

รายละเอียด มีดังนี้ครับ


สัญญาจ้างแรงงาน

(1)   เมื่อมีการจ้างแรงงานแล้ว แม้จ้างกันด้วยวาจา ก็มีสถานะเป็น “ลูกจ้าง”

(2)   แม้นายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานกันด้วยความสมัครใจ แต่ถ้าข้อตกลงส่วนใดขัดหรือผิดแผกแตกต่างกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็ตกเป็นโมฆะ จะอ้างข้อตกลงนั้นมิได้

(3)   นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เฉพาะการจ้างลูกจ้างให้ทำงานตามโครงการ หรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรืองานที่เป็นไปตามฤดูกาลฯเท่านั้น มิใช่ในงานปกติทั่วไป

การทำงานล่วงเวลา

(4)   การทำงานหลังเวลาเลิกงานเป็นการทำงานล่วงเวลา จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน และนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างนั้นด้วย ส่วนที่ลูกจ้างมาทำงานสาย นายจ้างลงโทษทางวินัยได้

(5)   เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง จะตกลงให้หยุดงานชดเชยแทนมิได้


(6)   ไม่ว่าลูกจ้างจะมีตำแหน่งสูงเพียงใด หรือได้รับเงินเดือนมากสักเท่าใด หากทำงานล่วงเวลาก็ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คงมีข้อยกเว้นตามกฎหมายไว้เฉพาะ “ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง” เท่านั้น

วันหยุด


(7)   กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า เพื่อให้ลูกจ้างได้หยุดงาน เมื่อกฎหมายบัญญัติเป็นวันหยุดจึงมิใช่วันลา แม้ลูกจ้างไม่ได้ลา นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้


(๘) เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง เว้นแต่งาน ในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านอาหาร ร้านขายเครื่องดื่มสโมสร สมาคม สถานพยาบาล สถานบริการท่องเที่ยว งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง นายจ้างจึงจะตกลงกับลูกจ้างที่ต้องมาทำงานในวันหยุดตามประเพณี โดยให้หยุดในวันอื่นชดเชยแทนการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดได้

การลากิจ

(9)   ลูกจ้างที่ขอลาเพื่อกิจธุระ นายจ้างมีสิทธิที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเอง แต่เมื่ออนุญาตแล้ว จะไปหักวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ หากจะให้เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีก็ต้องแจ้งลูกจ้างว่าไม่อนุญาตให้ลา แต่ให้เป็นวันหยุดดังกล่าวแทน


การลาป่วย/คลอดบุตร/ลาบวช

(10)   ลูกจ้างที่ลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์หรือใบรับรองของสถานพยาบาลของทางราชการก็ได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ ให้ชี้แจงนายจ้าง

(11)   กฎหมายปัจจุบันมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิเรียกใบรับรองของแพทย์ประกอบการลาเพื่อคลอดบุตรไว้ นายจ้างจึงไม่อาจกำหนดให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์(ดังเช่นการลาป่วย)ได้


(12)   กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นในการลาเพื่อคลอดบุตรไว้ ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์จึงมีสิทธิลาได้เมื่อมีครรภ์ ต่างกับกฎหมายประกันสังคมที่กำหนดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบแล้วเจ็ดเดือนจึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

(13)   กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดสิทธิในการลาเพื่ออุปสมบทไว้ ลูกจ้างซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทจึงลาได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างนั้น หรือตกลงกับนายจ้างสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้จนพอที่จะขอหยุดไปอุปสมบทได้



ค่าจ้าง คืออะไร

(14)   การคำนวณค่าล่วงเวลาหรือเงินประเภทอื่นตามกฎหมาย(เช่น ค่าชดเชย เป็นต้น) นายจ้างจักต้องคำนวณจาก “ค่าจ้าง” ซึ่งหมายถึงเงินทุกประเภทได้ที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน มิใช่เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น

(15)   สัญญาหรือข้อตกลงที่นายจ้างทำไว้กับลูกจ้างว่าเงินเดือนของลูกจ้างได้รวมค่าล่วงเวลาไว้ด้วยแล้วนั้น เป็นสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้

(16)   ค่าจ้าง คือ
- เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง
- สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน
- และให้หมายความรวมถึง เงิน ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง ในวันหยุดและวันลา ที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้


ลูกจ้างชั่วคราว/ลูกจ้างทดลองงาน/ลูกจ้างรับจ้างทำของ


(17)   ลูกจ้างชั่วคราวก็ถือว่าเป็น “ลูกจ้าง” มีสิทธิและได้รับ การคุ้มครองตามกฎหมาย เช่นเดียวกับลูกจ้างอื่น

(18)   ลูกจ้างรายวันก็ถือว่าเป็น “ลูกจ้าง” มีสิทธิและได้รับ การคุ้มครองตามกฎหมาย เช่นเดียวกับลูกจ้างอื่น โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดและวันลาตามที่กฎหมายกำหนด

(19)   ลูกจ้างทดลองงานเป็น “ลูกจ้าง”ตามกฎหมาย หากนายจ้างจะเลิกจ้างก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแทน


(20)   ลูกจ้างทดลองงานเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย จึงมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองทุกบทมาตราอายุงานเพื่อให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายจึงเริ่มนับทันที

(21)   กฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ นายจ้างจึงกำหนดระยะเวลาทดลองงานเท่าใดก็ได้ แต่ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นเมื่อทำงานครบ 120 วันแล้ว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย


(22)   คนงานที่ทำงานเหมา (เช่น ทอผ้าเป็นหลา เย็บเสื้อเป็นโหล เป็นต้น) ถือว่าเป็น “ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลของงาน” มีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับลูกจ้างอื่น


เจ็บป่วยจากการทำงาน


(23)   อ่านที่ link นี้ครับ ผมได้เคยเขียนไว้แล้วอย่างละเอียดแล้ว http://thanaiphorn.com/boards/index.php?topic=5.msg8;topicseen#new


การเลิกจ้าง/หยุดกิจการ

(24)   นายจ้างที่มีความจำเป็นโดยเหตุที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ต้องหยุดกิจการชั่วคราว ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่

(25)   ตามกฎหมาย นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างในระหว่างการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดได้ไม่เกินเจ็ดวัน และต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง การสั่งพักงานลูกจ้างที่กระทำความผิดทางวินัยในระยะเวลาสั้นๆ ก็ย่อมกระทำได้


(26)   การลาออกจากงานเป็นการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ตามกฎหมายลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้นายจ้างทราบ เมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า

(27)   การลาออกจากงานเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยฝ่ายลูกจ้าง การบอกเลิกสัญญาเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว มีผลเป็นการเลิกสัญญาทันทีเมื่อถึงกำหนดเวลาที่แจ้งหรือระบุไว้ในการลาออกนั้น นายจ้างไม่มีสิทธิยับยั้งหรือไม่อนุมัติแต่อย่างใด

(28)   นายจ้างที่เลิกจ้างลูกจ้างและจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ก็จะไม่ถูกฟ้องร้องเฉพาะข้อหาไม่จ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ลูกจ้างอาจฟ้องร้องนายจ้างในข้อหาอื่นได้อีกมาก เช่น ข้อหาเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ข้อหาไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นต้น


ศาลแรงงาน

(29)   การฟ้องศาลแรงงานในคดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาจ้างก็ฟ้องได้

(30)   ถ้าเป็นการจ้างหรือตกลงด้วยวาจา พยานหลักฐานที่ดีที่สุดก็คือตัวลูกจ้างอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า นายจ้างให้สัญญาอย่างไร หรือตกลงอย่างไร ลูกจ้างเบิกความซื่อ ๆ ตรงไปตรงมา หากเป็นความจริงก็ชนะคดีได้


(31)   การฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย แม้ฟ้องไปแล้วศาลจะพิพากษายกฟ้องหรือแพ้คดี ก็ไม่เป็นเหตุให้ฝ่ายชนะคดีฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายได้ เว้นแต่ได้เบิกความหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในข้อสำคัญแห่งคดี ก็จะมีความผิดทางอาญา


ทั้งนี้ 31 ข้อ ผมประมวลข้อมูลจากการอ่านหนังสือหลายๆเล่มของ ศ.เกษมสันต์  วิลาวรรณ โดยเฉพาะเรื่องสังเวียนแรงงานการต่อสู้คดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมีกฎหมายแรงงานเป็นกติกา และมีผู้พิพากษาเป็นกรรมการชี้ขาดตัดสิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2013, 02:05:12 am โดย ทนายพร »

Re: สรุปกฎหมายแรงงานสั้นๆ 31 ข้อ ที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2015, 11:25:33 am »
ตอนนี้ผมมีปัญหา เรื่องการลาบวชอ่ะคับ ตอนนี้วันที่ 29 มิถุนายน 2558 แต่ผมจะขอลาบวช ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2558 กำหนดลา 10วัน จนถึง วันที่ 13 กรกฎาคม แต่ตอนนี้บริษัทที่ผมทำงานอยู่ ใกล้ปิดโรงงานแล้ว ทางโรงงานได้โอนย้ายพนักงานไปอีกโรงงานเกือบหมดแล้ว เหลือพนักงานที่ไม่ประสงค์โอนย้าย อยู่อีก4คน ทางโรงงานเลย กลั่นแกล้งโดนให้ทำงาน จากพนักงานฝ่ายผลิต ให้มาเป็นภารโรง เกบของ เกบขยะรอบโรงงาน โดนบีบพนักงาน โดยการให้ใบเตือน ตอนนี้ ผมไม่ได้ทำความผิด แต่โดนใบเตือนแล้ว3ใบ โดนพักงานไปแล้ว 3วัน แล้วทางโรงงานก้อไม่ให้อีก ผมกะรอได้อีกใบโดนไล่ออก แล้วเอาใบเตือนไม่เป็นธรรมไปฟ้องศาล แต่ตอนนี้ผมมีปัญหาตรงลาบวชนี้ ถ้าผมเขียนส่งใบลาไปแล้วทางโรงงานไม่อนุมัติ ผมควรทำไงอ่ะคับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ก็น่าเห็นใจนะครับ อย่างไรก็ตามขอตอบตามคำถามอย่างนี้ครับ
๑. กรณีการลาบวชนั้น ต้องดูข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ได้กำหนดหลักเกณฑ์การลาบวชไว้ว่าอย่างไร ต้องขออนุญาตก่อนกี่วัน หรือเป็นสิทธิของลูกจ้างที่สามารถลาบวชได้โดยเพียงการแจ้งให้ทราบ ซึ่งการลาบวชนี้ต้องดูที่ระเบียบการลาครับ อย่างไรก็ตาม หากได้มีการแจ้งล่วงหน้าไปพอสมควรแล้วเรามีการเตรียมการต่างๆโดยเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมงานไว้ทั้งหมดแล้ว ถึงแม้ว่าบริษัทจะไม่อนุมัติ ผมก็คิดว่า "พอมีเหตุอันสมควร" ที่ศาลจะให้ความกรุณาครับ
๒. การที่บริษัทลดตำแหน่งงานนั้น โดยทางกฎหมายถือว่าไม่เป็นคุณกับลูกจ้างครับ
เอาใจช่วยครับ
ทนายพร

middaysleepy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
Re: สรุปกฎหมายแรงงานสั้นๆ 31 ข้อ ที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2016, 11:23:35 am »
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ติดตามบล็อกเกมสนุกมันส์ๆได้ที่นี่
เล่นบอลออนไลน์
football

sakexcel02

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
 :)
ขอบคุณมากครับเยี่ยมมาก

สุรพล สมพร

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ ผมมีปัญหากับบริษัท เรื่อง การขายสินค้าให้กับลูกค้า(บริษัทไม่ได้ขายสินค้าตัวนี้)
จะขายสินค้า ผมอนุญาตจาก หน.หน้า ผู้บริหารบริษัท รับรู้รับทราบเรื่องการขายดังกล่าวแล้ว   พอตกลงซื้อขายกับลูกค้า สินค้ามีปะกับ1 ปี(ปั้มลม)  สินค้ามีปัญหาผมก็เข้าดำเนินการแก้ไขตามเงื่อนไข ที่ตกลงกันไว้  จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ  เวลาผ่านไป 1ปีเศษ
      ขณะนี้ ลูกค้ามีไม่พอใจงานบริการสินค้าในหลายเรื่องของบริษัท เช่น สินค้า งานบริการ ผู้แทนขาย  ที่บริษัทจัดจำหน่ายเอง (เครื่องมือทางการแพทย์และอื่นๆ)  โดยลูกค้า ก้ได้ยึดโยงปะเด็น สินค้าของผม(ปั้มลม) เข้ามาเป็นปะเด็นด้วย 
     ซึ่ง ณ เวลานี้ (ปั้มลม) ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด ยังใช้งานได้ตามปกติ   ทางบริษัทที่ผมทำงานอยู่ต้องการจะหาคนมารับผิดชอบเรื่องนี้ ได้กล่าวโทษผมปัญหาทุกอย่างเกิดจากผม  เลยมีคำสั่งลงโทษผม ด้วยการเชิญให้ออกจากงาน 
รบกวนสอบถาม เรื่องนี้ ผมควรทำอย่างไรครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
อืม...เท่าที่อ่านเรื่องราว มีประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์ให้เป็นที่ยุติก่อนว่า บริษัทอยุญาตให้ผู้ถามขายสินค้าอื่นที่มิใช่ของบริษัทได้หรือไม่ และมีเงื่อนใขอย่างไร

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ถูกเชิญให้ออก (โห..ใช้คำสวยจัง) นั้นต้องพิจารณาในหนังสือเลิกจ้างครับว่า ระบุความผิดว่าอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าอื่น หรือกล่าวอ้างว่าคุณทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งหากพิจารณาดูแล้วคุณไม่ได้ทำผิดตามที่บริษัทกล่าวอ้าง ก็ต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องคืน โดยหากอยากได้แค่ค่าชดเชย หรือเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีที่ไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถูกเลิกจ้าง ก็ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ในพื้นที่ที่คุณทำงานอยู่ก็ได้ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน ๓ เดือนก็รู้ผลแล้วครับ

หรือจะไปใช้ช่องทางฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าชดเชย , สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่างหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม กรณีที่คุณไม่ได้ทำผิดแล้วถูกเลิกจ้าง ก็ได้เช่นกันครับ ซึ่งถ้าฟ้องศาล เมื่อถึงวันนัด ศาลก็จะเรียกทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ยกัน หากตกลงกันได้ คดีก็จบ หากตกลงไม่ได้ ก็สู้กันและต้องสืบพยานเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาต่อไปครับ

แต่ทนายอยากจะให้ลองไปพูดคุยกับนายจ้างเรื่องค่าเชยก่อน เพราะเข้าใจว่า คงเป็นธุรกิจที่ไม่มีคนไม่มากนัก ลองคุยกันดูก่อนครับ

พิจารณาและเลือกช่องทางเอาครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

ololl04

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์รวบรวมข่าวสารแวดวงการฟุตบอลทั่วโลก
Re: สรุปกฎหมายแรงงานสั้นๆ 31 ข้อ ที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2019, 07:45:25 pm »
ขอบคุณสำหรับความรู้มากครับ

tidehunter

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้องแมว
Re: สรุปกฎหมายแรงงานสั้นๆ 31 ข้อ ที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2019, 03:16:17 am »
ขอบคุณครับ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้องแมว
https://lovemeaw.com/

clairecara997

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • แหล่งรวมการ์ดและบอร์ดเกม
ขอบคุณครับ  :)


sabongboy01

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • Baanpeuan บ้านเพื่อน
ครับผม

heymyboy01

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • Gclub

ปิยาภรณ์

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ขออนุญาตสอบถามหน่อยค่ะ
หนูมี OT คงเหลือจากบริษัทเก่าตั้งแต่เดือนพ.ย63,ธ.ค63,ม.ค64,ก.พ64 ทบมาเรื่อยๆจนเป็น 147 ชม. แต่ก่อนเขาจะให้เป็นเงินพอมาช่วงโควิด บริษัทบอกว่าต้องการเซฟค่าใช้จ่าย
เขาให้ทำOTทีแล้วเอามาเป็นวันหยุดแทน
แต่ในเคสของหนู หนูไม่ได้เป็นวันหยุดและเงิน เพราะไม่มีคนทำงาน หนูเลยไม่ได้ใช้OTมาเป็นวันหยุด หนูทำโอทีทุกวัน
แล้วหนูก็ออกจากงานกระทันหัน พอถามบริษัทเรื่องOTที่หนูทำไปในทุกๆวันที่ทำงาน เขาบอกไม่ได้เป็นเงินให้เป็นวันหยุดอย่างเดียวแล้วเพราะหนูออกกระทันหันด้วยเลยไม่ได้อะไรสักอย่าง
แต่ในสัญญาจ้างงานที่เซ็นก่อนทำงานไม่มีข้อที่ออกกระทันหันแล้วจะไม่จ่ายโอทีคงเหลือ มีแต่ไม่จ่ายค่าแรงอันนี้หนูเข้าใจ
แล้วเรื่องOTของหนู อย่างงี้หนูสามารถไปปรึกษากรมแรงงานได้ไหมค่ะ
เพราะหนูถามเรื่องโอทีกับบริษัทเขาก็จะพูดดักว่าที่ไม่ให้เพราะหนูออกกระทันหัน
ป.ล วันนักขัตฤกษ์13วันตามกรมแรงงานที่กำหนด บริษัทก็ให้มาเป็นวันหยุดไม่ให้เป็นค่าแรง2เท่า
แต่หนูไม่ได้หยุด เพราะไม่มีคนมาทำงานแทนแล้วบริษัทก็ไม่ให้เป็นเงินแทน
วันหยุดตามกรมแรงงาน ทำงาน6วัน หยุด หนูก็ไม่ได้หยุด
คือพูดง่ายๆทั้งOT วันหยุดที่ต้องมาทำงาน วันนักขัตฤกษ์ ที่ต้องมาทำงานแล้วได้แค่1แรง ไม่ได้เป็นวันหยุดแทน
เท่ากับที่หนูทำงานลงแรงล่วงเวลามาทั้งหมด เขาไม่จ่ายอะไรให้หนูเลย อ้างแต่ว่าหนูออกกระทันหัน
หนูสามารถปรึกษากับกรมแรงงานได้ไหมค่ะ