25/11/24 - 16:23 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามหลักเกณฑ์การลาพักร้อน  (อ่าน 18013 ครั้ง)

jopornthep

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สอบถามหลักเกณฑ์การลาพักร้อน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2016, 01:23:22 pm »
ทางบริษัท กำลังอยู่ในช่วงจัดทำระเบียบขัอบังคับการทำงาน ซึ่งแต่เดิมยังไม่เคยมี เพราะพนักงานยังไม่ถึง 10 คน ปัจจุบันเพิ่งถึง 10คน     แต่ที่ผ่านมา

ทางบริษัทให้สิทธิ์ 12 วันต่อปี (สามารถสะสมข้ามปีได้)

นาย A ทำงานมามากกว่า 5 ปีแล้ว ในปีที่ 6 คือปีนี้ ต้องการลาออก โดยเขียนใบลาออกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ให้มีผลวันที่ 18 มีนาคม 2559  กล่าวคือ  ให้ลาออกโดยบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งทำตามระเบียบทุกประการ

นาย A ไม่มีวันลาสะสม มาจากปีที่แล้ว( 1มค.58-31 ธค.58)  โดยปีนี้มีสิทธิ์ 12 วัน(1มค.59-31 ธค.59)

ดังนั้น

1.นาย A สามารถใช้สิทธิ์ ลาพักร้อน ในวันที่ยังคงมีสถานะภาพเป็นพนักงาน ระหว่าง 15 กุมภาพันธ์ 2559 -18 มีนาคม 2559  จำนวนวันลาพักร้อนทั้งหมด 12 วัน ได้ทั้งหมด  เข้าใจถูกต้องใช่ไหมครับ

2.หากนาย A ใช้วันลาไม่ครบ หรือไม่ใช้เลย ระหว่าง 15 กุมภาพันธ์ 2559 -18 มีนาคม 2559   เช่น ใช้ไปแค่ 5 วัน ก็ต้องจ่ายเงินคืน 7 วัน    ถ้าไม่ใช้เลยก็ต้องจ่ายเงินคืน 12 วัน เข้าใจถูกต้องใช่ไหมครับ

ขอบคุณครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามหลักเกณฑ์การลาพักร้อน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2016, 12:01:31 am »
ยินดีต้อนรับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์มาเรียนรู้กฎหมายแรงงานด้วยกันครับ...เป็นเรื่องที่ดีแล้วครับที่ไม่มั่นใจข้อกฎหมายก็ต้องศึกษาหาความรู้กันไป ทั้งจากตำรับตำรา หรือสอบถามแลกเปลี่ยนจากผู้รู้ทั้งหลาย เพราะไม่มีใครรู้มาตั้งแต่เกิด อยู่ที่ใครจะไฝ่รู้มากกว่ากันก็เท่านั้น...

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจข้อกฎหมายเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีก่อน (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าวันลาพักร้อน) ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้เขียนไว้ดังนี้ครับ

มาตรา ๕ “วันหยุด” หมายความว่า วันที่กําหนดให้ลูกจ้างหยุดประจําสัปดาห์ หยุดตามประเพณีหรือหยุดพักผ่อนประจําปี

มาตรา ๓๐ ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทํางานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กําหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกําหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
ในปีต่อมานายจ้างอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อนประจําปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทํางานก็ได้
นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจําปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
สําหรับลูกจ้างซึ่งทํางานยังไม่ครบหนึ่งปีนายจ้างอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อนประจําปีให้แก่ลูกจ้างโดยคํานวณให้ตามส่วนก็ได้

ดังนั้น เมื่อรู้ข้อกฎหมายแล้วก็มาตอบคำถามกันเลย...

ขอตอบว่า...ถ้าจะให้ตอบว่าถูกก็ถูก ถ้าจะบอกว่าไม่ถูกก็ไม่ผิด..(ฮา)
อย่างนี้ครับ เนื่องจากกฎหมายบอกว่า “ให้นายจ้างเป็นผู้กําหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกําหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน” ก็จะเห็นว่านายจ้างสามารถเป็นผู้กำหนดวันหยุดให้กับลูกจ้างได้ เช่น ให้หยุดเดือนละ ๑ วันทุกวันที่ ๑๖ (จะได้ไปลุ้นหวย) เมื่อลูกจ้างลาออกก่อนที่จะครบปีจึงไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนวันหยุดพักผ่อนประจำปีในเวลาที่ยังมาไม่ถึงครับ (ถ้าลูกจ้างอยากจะหยุดก็ต้องบอกให้ลูกจ้างทำงานต่อก็จะได้หยุดอ่ะนะ)

แต่ในทางกลับกันหากประเพณีที่ปฎิบัติกันมาอย่างนานนมว่า ถ้าลูกจ้างจะหยุดพักผ่อนประจำปี ก็ให้แจ้ง (หรือจะให้เขียนในใบลาก็ว่ากันไป) เมื่อนายจ้างอนุญาตก็หยุดได้ ดังนี้ ก็เป็นดุลพินิจของนายจ้างแล้วละครับว่า จะอนุมัติการลาหยุดงานให้หรือไม่ หากอนุญาตให้หยุดรวดเดียว ๑๒ วันเลย ก็ถือว่าเป็นพระคุณต่อลูกจ้างอย่างหาที่สุดไม่ได้ (อิอิ) แต่ถ้าไม่อนุญาตให้หยุดเลยก็จะใจจืดใจดำเกินไป อย่ากระนั้นเลยคิดให้ตามส่วนตามมาตรา ๓๐ วรรคสี่ ก็ได้ โดยคำนวณตามส่วนที่ทำงานมา เช่น ทำงานมา ๓ เดือนก็ให้เงินทดแทนวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน ๓ วัน อย่างนี้เป็นต้น ส่วนอีก ๙ วันก็ไม่จำต้องจ่ายเป็นเงินให้อีกเพราะบริษัทคิดตามส่วนในปีที่ทำงานนั่นเอง

ที่อธิบายมาทั้งหมดนั้น เป็นการตอบทั้ง ๒ ข้อแล้วนะครับ

อย่างไรก็ตาม ตามปกติการที่ลูกจ้างจะได้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมายนั้น จะต้องทำงานมาครบ ๑ ปีเสียก่อนจึงจะมีสิทธิหยุดในปีถัดไป (เช่นเริ่มทำงาน ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ ครบ ๑ ปี เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๘ ลูกจ้างจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน ๖ วันตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป)
หรือหากเป็นกรณีที่นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้โดยไม่ต้องรอให้ครบปี กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไว้ โดยให้นายจ้างคำนวนให้ตามส่วนตามระยะเวลาที่ทำงาน เช่น เข้างานวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ในระหว่าง ๖ เดือนของปี ๒๕๕๘ นั้น ถ้านายจ้างให้สิทธิหยุดพักผ่อนปีละ ๖ วัน ก็เทียบอัตราส่วน สองเดือนต่อวันหยุด ๑ วัน ดังนั้น นายจ้างอาจให้ลูกจ้างหยุดได้ในหว่าง ๖ เดือนนี้ จำนวน ๓ วันก็ได้

ทนายพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2016, 12:04:09 am โดย ทนายพร »