25/04/24 - 19:01 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: จ่ายเงินชดเชยไม่เป็นธรรม  (อ่าน 6284 ครั้ง)

lossjob

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
จ่ายเงินชดเชยไม่เป็นธรรม
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2016, 08:34:23 am »
สวัสดีครับทนายพร ผมมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยของบริษัทครับ

บริษัทของผม เริ่มมีการเลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายเงินชดเชยซึ่งเป็นค่าจ้าง ตามอัตราเงินเดือนซึ่ง
บริษัททำงานเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติโดยมีการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่ต้องออกไปทำงาน
กลางทะเลที่แท่นเจาะแยกเป็นสองส่วนคือ
1 เงินเดือน
2 Job bonus
ซึ่งเงินเดือนนั้นจะอยู่ใรเรตที่ต่ำมาก รายได้ส่วนมากจึงมาจาก Job bonus ที่ลงทะเลไปทำงาน
 ส่วนพนักงานที่นั่งทำงานในออฟฟิสนั้นจะได้รับเงินเดือนในเรตที่มากอยู่แล้ว

ตำแหน่งของผมนั้นมีรายได้มาจาก
1 เงินเดือน 16000 บาท
2  Job bonus ซึ่ง จ่ายตามวันที่มีการลงไปทำงาน วันละ 3700 บาท
โดยรายได้ทั้งหมดจะถูกนำไปคำนวณเป็นฐานภาษี
ปีที่แล้วรายได้ทั้งปีใน 50ทวิ ประมาณหนึ่งล้านสองแสนบาท จ่ายภาษีไปเกือบหนึ่งแสนสองหมื่นบาท
จากการสอบถาม พนง ที่พึ่งถูกเลิกจ้างไป บริษัทจ่ายเงินชดเชยโดยคำนวณจากเงินเดือนอย่างเดียว
โดยมิได้นำค่าจ้างที่จ่ายให้ในวันที่ลงไปทำงานมาคิดรวมด้วย
โดยบริษัทใให้เหตุผลว่า เงินที่จ่ายรายวันนั้นเป็น ค่าคอมมิสชั่น ส่วนแบ่งค่าดูแลลูกค้าจึงไม่นำมาคิดรวม(แต่เวลาคิดภาษีเอาไปรวมด้วย)
ผมจึงมีคำถามว่า

1 หากบริษัทเลิกจ้าง แล้วจ่ายเงินชดเชยให้ผม 16000 บาทคูณด้วยระยะเวลาการทำงาน 8 ปี เท่ากับ 128000 บาท ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นธรรม ผมสามารถไม่เซ็นยอมรับแล้วฟ้องเพื่อเรียกเงินชดเชยที่เป็นธรรมโดยเอาเงินที่จ่ายรายวันมาคิดคำนวณรวมด้วยได้หรือไม่
2 การที่บริษัทแจ้งว่า เงินที่จ่ายรายวันนั้นเป็นค่าคอมมิสชั่น หรือค่าอะไร ที่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินชดเชยนั้นได้หรือไม่
3 การลงไปทำงานกลางทะเล จะมีระยะเวลาการลงไปทำคราวละ 28 วัน มีเวลาพัก 14 หรือ 28 วันแต่ละเดือนอาจจะมีวันที่ลงไปทำงานไม่เท่ากันเช่น เดือนนี้ มีนาคม เดินทางไปทำงานวันที่ 15 มีนาคมก็จะมีวันทำงาน 17 วัน ในเดือน เมษาจะมีวันทำงาน 11 วัน จำนวนวันในแต่ละเดือนจะถูกนำไปคูณกับ 3700บาท  เงินที่จ่ายตามวันที่ลงไปทำงานตรงส่วนนี้ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ครับ
4 คู่สัญญาที่เซ็นตอนเริ่มงานทางบริษัทเก็บไว้โดยไม่ได้ให้ พนงถือคู่สัญญาไว้ ตรงส่วนนี้รายละเอียดในสัญญาจะทำให้เราเสียเปรียบมากน้อยขนาดไหนครับ หากมีการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม

ขอขอบคุณครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 750
    • ดูรายละเอียด
Re: จ่ายเงินชดเชยไม่เป็นธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 22, 2016, 10:44:18 am »
ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่า อะไรคือค่าจ้าง และอะไรคือสวัสดิการ!

ในเรื่องค่าจ้าง กฎหมายได้นิยามไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ว่า  “ค่าจ้างหมายความว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวันรายสัปดาห์รายเดือนหรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานและให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้”

เมือ่พิจารณาจากคำนิยามดังกล่าว ก็จะเห็นได้ว่า ค่าจ้างก็คือเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ซึ่งลักษณะการจ่ายเงินดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไข (องค์ประกอบมี 3 อย่าง คือ 1.เงินที่จ่ายให้เสมอๆ 2. เงินที่จ่ายให้ประจำๆ และ 3. เงินที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้โดยไม่มีเงื่อนไขในการจ่าย) ถ้าครบทั้ง 3 อย่างนี้ ถือเป็นค่าจ้างที่จะต้องนำมาคำนวนค่าชดเชยด้วย

เมื่อรู้ข้อกฎหมายแล้ว ก็มาดูว่า Job bonus เป็นค่าจ้างหรือไม่? ก็ต้องดูว่าเงินที่จ่ายเป็นค่า Job bonus นั้นบริษัทจ่ายแบบมีเงื่อนไขหรือไม่ (เป็นรายละเอียด) ถ้าไม่มีเงื่อนไขอื่นใด ก็คือค่าจ้างตามความหมายของกฎหมายแล้วครับ

ทีนี้มาตอบคำถามกัน

1 หากบริษัทเลิกจ้าง แล้วจ่ายเงินชดเชยให้ผม 16000 บาทคูณด้วยระยะเวลาการทำงาน 8 ปี เท่ากับ 128000 บาท ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นธรรม ผมสามารถไม่เซ็นยอมรับแล้วฟ้องเพื่อเรียกเงินชดเชยที่เป็นธรรมโดยเอาเงินที่จ่ายรายวันมาคิดคำนวณรวมด้วยได้หรือไม่?

ตอบ  ถ้าเป็นค่าจ้างก็ต้องนำมาคิดคำนวนด้วย ถ้าบริษัท ไม่นำมาคำนวนก็สามารถฟ้องเรียกร้องสิทธิคืนได้ครับ

2 การที่บริษัทแจ้งว่า เงินที่จ่ายรายวันนั้นเป็นค่าคอมมิสชั่น หรือค่าอะไร ที่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินชดเชยนั้นได้หรือไม่?

ตอบ ตอบให้แล้วว่าอะไรคือค่าจ้างและอะไรคือค่าคอมมิสชั่น ถ้าเป็นค่าจ้างก็ต้องนำมาคำนวนด้วย ถ้าไม่ใช่ค่าจ้างโดยมีการจ่ายแบบมีเงื่อนไขก็เป็นสวัสดิการ ไม่ต้องนำมาคำนวนค่าล่วงเวลาหรือค่าชดเชยครับ

3 การลงไปทำงานกลางทะเล จะมีระยะเวลาการลงไปทำคราวละ 28 วัน มีเวลาพัก 14 หรือ 28 วันแต่ละเดือนอาจจะมีวันที่ลงไปทำงานไม่เท่ากันเช่น เดือนนี้ มีนาคม เดินทางไปทำงานวันที่ 15 มีนาคมก็จะมีวันทำงาน 17 วัน ในเดือน เมษาจะมีวันทำงาน 11 วัน จำนวนวันในแต่ละเดือนจะถูกนำไปคูณกับ 3700บาท  เงินที่จ่ายตามวันที่ลงไปทำงานตรงส่วนนี้ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ครับ?

ตอบ งานที่เกี่ยวกับการทำงานกลางทะเล มีกฎหมายเฉพาะที่แตกต่างกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน นั้นก็คือประกาศกระทรวง (ฉบับที่ 7) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และประกาศกระทรวง(ฉบับที่ 13) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7 แต่อย่างไรก็ตาม ตามประกาศกระทรวงก็ไม่ได้บัญญัติยกเว้นในเรื่องค่าจ้างไว้ จึงต้องยึดถือตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ครับ และในความเห็นของทนาย จากการเล่ามาหลายๆข้อ ก็น่าลุ้นครับว่ามันคือค่าจ้าง และถ้าจะให้ชัวร์ ก็ต้องตั้งเรื่องเพื่อให้ศาลแรงงานเป็นผู้ตัดสินครับว่าเงินค่า Job bonus นั้น คือค่าจ้างหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อกฎหมายและคงต้องสู้กันถึงฏีกาแน่ครับ

4 คู่สัญญาที่เซ็นตอนเริ่มงานทางบริษัทเก็บไว้โดยไม่ได้ให้ พนง. ถือคู่สัญญาไว้ ตรงส่วนนี้รายละเอียดในสัญญาจะทำให้เราเสียเปรียบมากน้อยขนาดไหนครับ หากมีการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม

ตอบ ถ้าสัญญาเขียนโดยไม่เป็นธรรมก็จะบังคับเท่าที่เป็นธรรม อีกทั้งถ้าเขียนไว้แล้วขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาดังกล่าวก็เป็นโมฆะ ครับ ส่วนจะเสียเปรียบมากน้อยนั้น ต้องขอพิจารณาจากสัญญาดังกล่าวได้ ในชั้นนี้ ทนายขอแนะนำว่า ควรจะไปขอสำเนาจากบริษัทมาศึกษาทางหนีทีไล่ไว้ก่อนครับ ถ้าบริษัทไม่ให้ ก็คงจะได้เห็นเมื่อตอนสืบพยานที่ศาลละครับ?

ทนายพร

Nophawee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: จ่ายเงินชดเชยไม่เป็นธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2016, 03:34:18 pm »
เป็นเรื่องที่ดีมากเลยนะครับสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้