24/11/24 - 19:28 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: เซ็นรับทราบสิ้นสุดสัญญาจ้างไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไหมค่ะ  (อ่าน 18240 ครั้ง)

sudarat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
หนูทำงานในโรงพยาบาลเอกชน แห่งหนึ่ง ในพัทยา หนูเป็นสัญญาจ้าง ปีต่อปี (เซ็นสัญญาจ้างแค่ครั้งเดียว ตอนเข้างานครั้งแรก)
หนูเข้าทำงานวันที่ 16/01/2557  ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ HR  และได้ผ่านประเมินทดลองงาน วันที่ 16/04/2557 โดยได้รับสวัสดิการ
เหมือนพนักงานประจำทุกอย่าง และทำงาน จันทร์-ศุกร์ ไม่เคยขาดงาน ไม่เคยสาย ทำมาจนกระทั่ง
เมื่อวันพุธ ที่ 26/10/2559 หัวหน้าเรียกหนูเข้าประเมิน เขาบอกว่าหนูทำงานไม่โอเค ทั้งๆที่เขาไม่เคยถามหนู ถามเพื่อนร่วมงาน
ว่าหนูทำงานเป็นยังไง แต่เขากลับประเมินไม่ผ่านงาน เลิกจ้าง แต่ให้มีผล ตอนครบสัญญาจ้าง คือวันที่ 16/01/2560   
ก็เท่ากับว่า หนูทำงานครบ 3 ปี พอดี หัวหน้าให้หนูเซ็นไม่ผ่านประเมินทดลองงาน และ เซ็นรับทราบสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ด้วยสถานะการนั้น หนูงง ตั้งสติไม่ได้ เลยเซ็นเอกสาร 2 ฉบับนี้ไปค่ะ
เขาบอกว่า เขาทำตามกฏหมายทุกอย่าง หรือถ้าหนูจะไปปรึกษาผู้รู้กฏหมายที่ไหนก็ได้ เขาไม่กลัว เขามั่นใจ ว่าสิ่งที่เขาทำถูกแล้ว
และเขาก็ไม่พูดถึงค่าชดเชยอะไรเลย เขาบอกสิ้นสุดสัญญาจ้าง ไม่ใช่เลิกจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

1. หนูมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยไหมคะ
2. ถ้ามีสิทธิ์ได้ แล้วเขาไม่ยอมจ่าย หนูต้องทำยังไงต่อไป

ขอบคุณค่ะ


ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ก่อนที่จะตอบคำถาม ขอถามก่อนว่า ที่เซ็นต์เอกสารไป ๒ ฉบับอ่ะ...คือเอกสารอะไรครับ?

ที่ถามเพราะเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ซึ่งจะนำมาประกอบการให้คำแนะนำและวิเคราะห์ในเบื้องต้นครับ
อย่างไรก็ตาม ขอตอบตามคำถามแบบงงๆ แต่มีสติ ว่า

“1.หนูมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยไหมคะ” ตอบ ถ้าหนู่ไม่ไปเซ็นต์ใบลาออกเอง ก็ยังพอมีสิทธิได้รับค่าชดเชย แต่ทั้งนี้ต้องดูก่อนว่า การเซ็นต์สัญญาปีต่อปีของนายจ้างนั้น มีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากมีการเซ็นต์สัญญาจ้างต่อกันโดยลักษณะการทำงานเป็นแบบเดิมๆ ติดต่อกันไปโดยไม่ขาดช่วงก็ถือว่านายจ้างมีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องดูเอกสารสัญญาจ้างและเอกสารที่หนูเซ็นต์ก่อนนะครับ ในชั้นนี้ ยังไม่ฟันธงครับ!

“2. ถ้ามีสิทธิ์ได้ แล้วเขาไม่ยอมจ่าย หนูต้องทำยังไงต่อไป” ตอบ ถ้าไม่จ่ายก็ต้องไปเรียกร้องสิทธิ ซึ่งก็มีอยู่ ๒ ช่องทางหลักๆ ก็คือ ๑. ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คำร้อง คร.๗) ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่หนูทำงานอยู่ กรณีที่เป็นต่างจังหวัด หรือสำนักงานเขตหากอยู่ในกรุงเทพ หรือ ๒. ไปฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเงินตามสิทธิที่ลูกจ้างได้รับครับ

ทนายพร

sudarat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
เรียน คุณทนายพร ค่ะ
 
      เอกสารที่หนูได้เซ็นไปนั้น คือ
        1. หนังสือแจ้งการสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยมีรายละเอียดในหนังสือ แจ้งวันที่เริ่มงาน วันที่ 16 มกราคม 2557 และวันที่สิ้นสุดสัญญาจ้าง วันที่ 16 มกราคม 2560 และมีรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา (ไม่ใช่ใบลาออกค่ะ)
        2. หนังสือ Probation แจ้งไม่ต่อสัญญาจ้าง
      และหนูก็ทำในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่แผนกสรรหาว่าจ้างและแรงงานสัมพันธ์ อยู่ในฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ของโรงพยาบาลเอกชน ค่ะ
ซึ่งหน้าที่ก็ทำเกี่ยวกับเอกสาร และ สวัสดิการของพนักงาน และทำงานต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่เริ่มงาน จนถึงปัจจุบัน ทำตามกฏของโรงพยาบาลทุกอย่าง ระยะเวลาที่ทำงานมา ไม่เคยถูกเรียกไปเตือน หรือ กระทำความผิดใดทั้งสิ้น ค่ะ

และที่สำคัญ ตัวหนูเองเป็นคนพิการนั่งรถเข็น ในการหางานใหม่นั้นก็ลำบาก อายุก็ 36 แล้ว ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ต้องขออภัยที่ตอบช้านะครับ เข้าใจว่า คงจะรอคำตอบจากทนายอยู่ และถือโอกาสนี้แจ้งทุกท่านว่า หากต้องการข้อแนะนำในเรื่องที่เร่งด่วน หรือมีความรู้นึกร้อนใจ ก็สามารถโทรสอบถามได้เลยนะครับ ถ้าโทรมาแล้วทนายไม่ได้รับสายก็จะโทรกลับเองครับ

เอาละ ทีนี้ก็มาดูกันว่าเครสอย่างนี้ในทางกฎหมายมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยหรือไม่ อย่างไร

เท่าที่ได้รับรายละเอียดเพิ่ม สรุปได้ว่า บริษัทได้ทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้สามปี และก่อนสิ้นสุดสัญญาจ้าง (๑๖ มกราคม ๖๐) บริษัทก็แจ้งว่าไม่ต่อสัญญาโดยให้เหตุผลว่าไม่ผ่านการทดลองงาน ซึ่งลักษณะการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวันแจ้งสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างก็ทำในลักษณะเดียวกันไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยหรือไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างแต่อย่างใด ประมาณนี้

ซึ่งก่อนอื่นต้องมาดูข้อกฎหมายก่อนว่า การทำสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่ และมีเงื่อนไขหลักเกณฑ์อย่างไร

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ ได้บัญญัติว่า “สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...” แสดงว่า นายจ้างสามารถทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาได้...

และมาตรา ๑๑๘ ได้บัญญัติว่า วรรคสอง “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น”

และวรรคสามบัญญัติว่า “การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง” วรรคนี้ หมายความว่า กฎหมายให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน "สอง" ปี และงานนั้น ต้องเป็นงานโครงการหรืองานที่ต้องทำตามฤดูกาล เช่น เก็บผลไม้ เป็นต้น

ดังนั้น การที่บริษัทเลิกจ้างคุณจึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน...

นอกจากนั้นแล้ว จากการพิจารณาเหตุผลในการบอกเลิกจ้างคุณว่าไม่ผ่านการทดลองงานนี่ก็เป็นเรื่องที่ขัดแย้ง ซึ่งการทดลองงานนั้นต้องไม่เกิน 119 วัน แต่นี่สามปี ไม่สมเหตุสมผลครับ ซึ่งประเด็นนี้อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ซึ่งสามารถฟ้องศาลแรงงานเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ครับ

ทนายพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2016, 11:07:19 pm โดย ทนายพร »

sudarat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
เรียน ท่านทนายพร คะ
      สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ค่ะ เมื่อวันที่ 29/11/2016 หัวหน้าเรียกหนูเข้าไปคุย แจ้งว่าไม่ต้องมาทำงานแล้ว แต่ทางบริษัทยินยอมจะจ่ายเงินเดือนให้จนครบสิ้นสัญญา ค่ะ
ถ้าเป็นแบบนี้ หนูควรจะทำยังไงต่อไปค่ะ แต่ตอนนี้หนูก็ยังมาทำงานอยู่ หนูคิดว่าเขาจะเอามาเป็นข้ออ้างทีหลังได้ไหมว่าหนูขาดงานเกิน 3 วันนะคะ แบบนี้หนูควรจะทำยังไงดีค่ะ

หนูขอเบอร์ติดต่อได้ไหมคะ


ขอบคุณมากค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2016, 04:10:28 pm โดย sudarat »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เบื้องต้นแนะนำว่า ให้สอบถามบริษัทให้แน่ชัดว่า "ไม่ให้เรามาทำงานแล้ว" หากเป็นไปได้ก็บันทึกเสียงไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐาน

หรือหากไม่สามารถทำได้ก็พยายามหาเพื่อนที่ไว้ใจได้ ไปร่วมฟังด้วย ทั้งนี้ ต้องพิจารณาด้วยว่า หัวหน้าที่มาบอกเรานั้น เป็นหัวหน้าระดับใหน เป็นตัวแทนนายจ้างหรือไม่ ซึ่งถ้าจะให้ชัวร์ก็ไปถามผู้มีอำนาจสูงสุดเลยครับ

หากบริษัทยืนยันว่า ไม่ต้องมาทำงานแล้ว และยินยอมจ่ายค่าจ้างจนครบสัญญา อย่างนี้ คุณก็ไม่ต้องไปทำงานแล้วครับ และที่สำคัญอย่าไปเซ็นต์เอกสารใดๆที่ระบุข้อความประมาณว่า "จะไม่ติดใจเรียกร้องเงินจากบริษัทอีก" มิเช่นนั้น ทุกอย่างก็จบนะครับ

เอาเป็นว่าโทรมาครับ เบอร์โทรทนายก็อยู่ในเว็บไซด์นี้แหละครับ...

ทนายพร