24/11/24 - 20:46 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: กฏหมายแรงงาน  (อ่าน 5524 ครั้ง)

กฏหมายแรงงาน
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2017, 10:02:25 pm »

นายจ้างส่งไปทำงานต่างประเทศ 5 ปี หลังจากย้ายกลับมาทำงานที่เดิม นายจ้างบอกจะจัดทำการว่าจ้างใหม่ ถามว่านายจ้างมีสิทธิ้ลดเงินเดือนกับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ ต่างประเทศ
ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ประเทศไทยทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ต่างประเทศมีคนขับรถ และรถประจำตำแหน่งให้ ประเทศไทยไม่มี งดเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักยอมรับได้ แต่ลดเงินเดือนนี้ทำอย่างไรดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2017, 10:22:00 pm โดย ปิยะธิดา เศรษฐบุตร »

มงคล ยางงาม

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: กฏหมายแรงงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2017, 02:49:00 pm »
สัญญาจ้างเป็นเรื่องตกลงกันของลูกจ้างนายจ้าง การเปลี่ยนเวลาทำงานถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง (ไม่รู้ว่าเดิมก่อนย้ายไปช่วยงานต่างประเทศทำงาน5วันหรือ6วัน)ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้นายจ้างจะทำได้ทันทีถ้ามันเป็นคุณกับลูกจ้างแต่หากไม่เป็นคุณ ลูกจ้างไม่ยินยอมย่อมทำไม่ได้ ยิ่งการหักลดเงินค่าจ้างนี่กฎหมายคุ้มครองแรงงานม.76ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง กรณีนี้ หากนายจ้างหักค่าจ้างไปแล้วให้ไปยื่นคำร้อง(คร.7)ต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดหรือเขตพื้นที่ที่ตั้งของบริษัท เพื่อเรียกเงินที่นายจ้างหักคืน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ15/ปีและเงินเพิ่มร้อยละ15ทุกๆ7วันกรณีนายจ้างจงใจหรือเจตนาไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินนี้

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: กฏหมายแรงงาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2017, 01:37:22 am »
ถามมา ๒ บรรทัด แต่ตอบยาวแน่ เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยนะครับ

ถามว่า นายจ้างส่งไปทำงานต่างประเทศ 5 ปี หลังจากย้ายกลับมาทำงานที่เดิม นายจ้างบอกจะจัดทำการว่าจ้างใหม่ ถามว่านายจ้างมีสิทธิ้ลดเงินเดือนกับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่

ก็ขอตอบแบบฟันทิ้ง เอ้ย..ฟันธงว่า ตามหลักกฎหมายแล้วจะลดเงินเดือนไม่ได้ เว้นแต่เราจะ "ยินยอม" ครับ ถ้าเรายอมอะไรก็ทำได้ทั้งหมดแหละครับ ถ้าเราไม่ยอมนายจ้างก็ไม่สามารถที่จะลดเงินเดือนเราได้ หากฝืนทำไป เราก็ไปใช้สิทธิผ่านช่องทางที่กฎหมายได้ให้สิทธิไว้ เช่น พนักงานตรวจแรงงาน (จ่ายจ่าจ้างไม่ครบ) หรือไปฟ้องศาล (เรียกค่าจ้างส่วนขาด) เป็นต้น

ถามต่อว่า ที่ต่างประเทศทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ประเทศไทยทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ต่างประเทศมีคนขับรถ และรถประจำตำแหน่งให้ ประเทศไทยไม่มี งดเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักยอมรับได้ แต่ลดเงินเดือนนี้ทำอย่างไรดี

ก็ต้องตอบว่า อยู่ที่ผู้ถามล่ะครับว่าจะเอาอย่างไรดี ถ้าคิดว่าพร้อมที่จะรับแรงกดดัน ก็อย่าไปยอมครับ สู้ไปตามช่องทางที่ได้แนะนำ โดยยื่นคำขาดต่อนายจ้างว่า ห้ามลดเงินเดือนของข้านะเฟ้ย ไม่งั้นได้เห็นดีกันแน่ ไปเจอกันที่ศาลอะไรประมาณนี้ หรือถ้ายังไม่พร้อมที่จะรับแรงกดดัน ก็ต้องไปพูดคุยกับนายจ้างให้เข้าใจ ว่าเราเห็นแก่บริษัทนะเนี๊ยะถึงยอมลดให้ แต่ว่าจำนวนที่ขอลดอ่ะ ไม่ต้องเยอะได้ป่ะ หรือมีระยะเวลาสั้นๆได้ป่ะนาย อะไรป่ะมาณนี้ ก็จะเป็นทางออกหนึ่งบนหลักแรงงานสัมพันธ์ครับ

ยินดีต้อนรับ ท่านมงคล ยางงาม นะครับ ทนายขอแนะนำเลยคนนี้เป็นผู้มีความรู้ด้านแรงงานอย่างเชี่ยวชาญเลยครับ ที่สำคัญเป็นทีมงานของทนายความของฝ่ายกฎหมายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ด้วยครับ ว่างๆเข้ามาช่วยตอบคำถามก็จะดีมากเลยครับท่านมงคล

ทนายพร