24/11/24 - 16:33 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: การเลิกจ้าง  (อ่าน 5135 ครั้ง)

wila

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
การเลิกจ้าง
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2017, 12:11:00 pm »
อยากสอบถามเกี่ยวกับการเลิกจ้างค่ะ ว่าถ้านายจ้างที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการด้านโทรทัศน์ แจ้งว่ามีแผนการยุติการรับส่งสัญญาณในระบบอนาล็อก ตามนโยบายและที่ได้รับอนุมัติจาก กสทช จึงมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในระบบอนาล็อก  แบบนี้ถือเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 121 ไหมคะ  ที่ว่านายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจําหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจํานวนลูกจ้าง เพราะนายจ้างบอกว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่เข้ากับ มาตรา 121 จะจ่ายเงินชดเชยให้แค่ 10 เดือน
แล้วถ้าธุรกิจของนายจ้างยังมีกำไรอยู่ การเลิกจ้างพนักงานแบบนี้ ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหมคะ เพราะนายจ้างไม่ได้แค่ลดจำนวนลูกจ้าง แต่เลิกจ้างพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และนายจ้างก็ไม่เคยทำอะไรที่แสดงออกถึงการช่วยเหลือพนักงานอย่างการพยายามหาตำแหน่งอื่นให้ หรือมีโครงการเกษียณก่อนกำหนด เพื่อเกลี่ยพนักงานมาก่อนเลย และเมื่อตอนต้นปีก็ยังรับพนักงานใหม่ในส่วนนี้เพิ่ม  แต่พอกลางปีอยู่ๆ ก็จะเลิกจ้างพนักงานในส่วนนี้ทั้งหมดเลยค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: การเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 09, 2017, 02:31:24 am »
ต้องขออภัยที่ทนายเข้ามาตอบช้านะครับ...อิอิ ออกตัวๆ 555

ถามมาหลายประเด็น เอาเป็นว่า ทนายตอบให้ทุกประเด็นตามที่ถามเลย ดังนี้

ประเด็นที่ ๑ ถามว่า "อยากสอบถามเกี่ยวกับการเลิกจ้างค่ะ ว่าถ้านายจ้างที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการด้านโทรทัศน์ แจ้งว่ามีแผนการยุติการรับส่งสัญญาณในระบบอนาล็อก ตามนโยบายและที่ได้รับอนุมัติจาก กสทช จึงมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในระบบอนาล็อก  แบบนี้ถือเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 121 ไหมคะ"
 
ทนายก็ขอตอบว่า กรณีเช่นนี้ถ้าพิจารณาแล้วอาจจะก้ำกึ่งว่าจะเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา ๑๒๑  ซึ่งหากจะเข้ามาตรา ๑๒๑ ชัดๆก็จะต้องการเป็นการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาทำแทนมนุษย์ เช่น เดิมเป็นพนักงานเชื่อมเหล็กตัวถึงรถยนต์ ต่อมาบริษัทได้นำเอาหุ่นยนต์เชื่อมเหล็กอัตโนมัติมาทำงานแทนพนักงานคนดังกล่าว อย่างนี้จึงจะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๑๒๑ ครับ แต่กรณีที่ถามมาก็เป็นการนำ “เทคโนโลยี” เข้ามาแทน (นำระบบดิจิตอลมาแทนอนาล็อค) ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจและเท่าที่สืบค้นฎีกาก็ยังไม่เคยมีแนวคำพิพากษามาก่อนครับ แต่ก็มีใกล้เคียงคือแนวคำพิพากษาฏีกาที่  ๕๗๓๖/๒๕๔๘ และ ๗๖๘๓-๗๖๙๓/๒๕๔๘ แต่ก็เป็นคนละกรณีกับที่ถามมาครับ
 
คำถามประเด็นที่สอง ถามมาว่า "ที่ว่านายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจําหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจํานวนลูกจ้าง เพราะนายจ้างบอกว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่เข้ากับ มาตรา 121 จะจ่ายเงินชดเชยให้แค่ 10 เดือน"

ทนายวิเคราะห์แล้วมีคำตอบว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ แต่แนวโน้มในความเห็นของทนายอาจจะเข้าตามมาตรา ๑๒๑ ครับ เพราะเป็นการเปลี่ยน “เทคโนโลยี” ซึ่งหากจะให้ยุติคงต้องให้ศาลแรงงานพิจารณาครับเพราะประเด็นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายครับ

ถามในประเด็นสุดท้ายว่า "ถ้าธุรกิจของนายจ้างยังมีกำไรอยู่ การเลิกจ้างพนักงานแบบนี้ ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหมคะ เพราะนายจ้างไม่ได้แค่ลดจำนวนลูกจ้าง แต่เลิกจ้างพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และนายจ้างก็ไม่เคยทำอะไรที่แสดงออกถึงการช่วยเหลือพนักงานอย่างการพยายามหาตำแหน่งอื่นให้ หรือมีโครงการเกษียณก่อนกำหนด เพื่อเกลี่ยพนักงานมาก่อนเลย และเมื่อตอนต้นปีก็ยังรับพนักงานใหม่ในส่วนนี้เพิ่ม  แต่พอกลางปีอยู่ๆ ก็จะเลิกจ้างพนักงานในส่วนนี้ทั้งหมดเลยค่ะ"

ทนายก็ตอบว่า ก็อาจจะไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม วิ.แรงงาน มาตรา ๔๙ หากมีการเลิกจ้างพนักงานทั้งแผนก แต่อาจจะเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ แทน แต่หากเป็นการเลิกจ้างพนักงานเพียงบางคนโดยลักษณะเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีอย่างนี้ก็จะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ

น่าสนใจครับเครสนี้

ทนายพร


wila

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: การเลิกจ้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 22, 2017, 10:22:18 am »
ขอบคุณทนายพรมากค่ะ ที่เข้ามาตอบคำถาม มีพนักงานได้รับความเดือดร้อนหลายคนมากค่ะ ครอบครัวดิฉันเองก็เดือดร้อน เพราะรายได้หลักอยู่ที่สามี แล้วบ้านที่อยู่ปัจจุบันปกติก็หักจ่ายธนาคารจากเงินเดือนสามี  และด้วยสามีก็อายุเกือบ 50 แล้ว ถ้าโดนเลิกจ้างคงหางานใหม่ไม่ได้แน่ๆ ค่ะ ไม่รู้ศาลท่านจะพิจารณาความเดือดร้อนของลูกจ้างด้วยไหม ตอนนี้ครอบครัวเครียดกับเรื่องนี้มากๆ ค่ะ ทางครอบครัวก็อยากให้บริษัทชดเชยให้อย่างเป็นธรรม เพราะเราเองก็มั่นใจว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ หลายคนที่โดนเลิกจ้างอยู่มาตั้งแต่เริ่มตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณอนาล็อก จะว่าไปก็เป็นส่วนนึงของความสำเร็จที่ทำให้บริษํัทเติบโตอยู่เหมือนกัน อยู่ๆ มาโดยลอยแพและบริษัททำเหมือนจะจ่ายค่าชดเชยให้น้อยที่สุด เสียความรู้สึกมากจริงๆ ค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2017, 10:28:49 am โดย wila »