24/11/24 - 07:39 am


ผู้เขียน หัวข้อ: การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยขณะลูกหนี้ผิดนัด แต่พ้นวิสัยเพราะความผิดบุคคลภายนอก  (อ่าน 8265 ครั้ง)

naive

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
1. ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยขณะลูกหนี้ผิดนัด (แต่พ้นวิสัยเพราะความผิดบุคคลภายนอก) เมื่อลูกหนี้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ไปแล้วตามมาตรา 217 ลูกหนี้จะรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากผู้ทำละเมิดตามม.227 ได้หรือเปล่าคะ
(อ่านในหนังสือ เจอแต่ตัวอย่างกรณีสัญญาประกันภัย)

2. แล้วถ้าเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมจากลูกหนี้(บนฐานเรื่องการผิดนัด)แล้ว เจ้าหนี้จะไปเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดอีกในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิได้ไหมคะ แล้วจะเรียกได้เท่าไหร่(เต็มจำนวนไหมคะ)
(จะเหมือนกรณีที่ผู้เสียหายได้รับเงินจากบริษัทประกัน หรือเงินสวัสดิการอื่นๆ แล้วยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดหรือเปล่าคะ)

เช่น ก. ซื้อรถยนต์จาก ข. กำหนดส่งมอบพรุ่งนี้ ปรากฎว่า ข. ไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ตามเวลาที่ตกลงกัน (ข. ผิดนัด) ขณะผิดนัด นาย ค.บุคคลภายนอก ขับรถมาชนรถยนต์ของนาย ก. เสียหาย เช่นนี้ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคะ(ก. เจ้าของรถยนต์ หรือ ข)


3. กรณีม.228 หากทรัพย์เพียงบุบสลาย (มิได้ถึงขนาดทำให้การชำระหนี้พ้นวิสัย) แต่ผู้ทำละเมิดได้ให้ของแทนแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกให้ส่งมอบของนั้นได้ไหม / หรือเจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดตามมาตรานี้ได้ไหมคะ

ขอถามเรื่องอื่นด้วยนะคะ
4. กรณีที่มีเจ้าหนี้สามัญหลายคนเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอ จะต้องเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ทุกคนเท่าๆกัน หรือเฉลี่ยให้ตามสัดส่วนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่คะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่าา  :)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2017, 09:56:33 pm โดย naive »


ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ และขอเน้นย้ำอีกครั้งนะครับว่า ทนายจะตอบคำถามกรณีที่เป็นปัญหาที่เกิดจากการดำรงชีวิตประจำวันแล้วเกิดปัญหาเท่านั้น ส่วนที่จะให้วินิจฉัยข้อกฏหมายเพื่อที่จะไปประกอบการเรียนหรือการสอบนั้น ท่านสามารถค้นคว้าได้ตามคำพิพากษาฏีกา ก็จะเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมายและดีต่อผู้เรียนมากว่าครับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามมา ทนายก็จะตอบให้ตามที่ถามเลยครับ

1. ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยขณะลูกหนี้ผิดนัด (แต่พ้นวิสัยเพราะความผิดบุคคลภายนอก) เมื่อลูกหนี้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ไปแล้วตามมาตรา 217 ลูกหนี้จะรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากผู้ทำละเมิดตามม.227 ได้หรือเปล่าคะ
(อ่านในหนังสือ เจอแต่ตัวอย่างกรณีสัญญาประกันภัย)

ตอบ หลักการเดียวกันกับสัญญาประกันภัยครับ โดยอาศัยหลัก ป.แพ่ง ม.๒๒๗ ดังว่าครับ

2. แล้วถ้าเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมจากลูกหนี้(บนฐานเรื่องการผิดนัด)แล้ว เจ้าหนี้จะไปเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดอีกในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิได้ไหมคะ แล้วจะเรียกได้เท่าไหร่(เต็มจำนวนไหมคะ)
(จะเหมือนกรณีที่ผู้เสียหายได้รับเงินจากบริษัทประกัน หรือเงินสวัสดิการอื่นๆ แล้วยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดหรือเปล่าคะ)

ตอบ หากเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมครบจำนวนแล้ว ก็ถือว่าไม่ได้รับความเสียหายแล้ว คงเรียกค่าสินใหม่อีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ม.๕ กรณีที่จะเรียกค่าสินไหมเพิ่มเติมได้ก็ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ค่าสินไหมหรือค่าเสียหายไม่ครบถ้วนตามที่”ควรจะได้” เช่น ทำสัญญาประกันไว้ ห้าพันบาท บริษัทประกันจ่ายให้ ห้าพันบาท ตามสัญญา แต่ความเสียหายเกิดขึ้นคิดเป็นเงินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีอย่างนี้ ก็สามารถเรียกค่าสินไหมในส่วนที่ขาดไปกับผู้ทำละเมิดได้อีกห้าพันบาท เป็นต้น

เช่น ก. ซื้อรถยนต์จาก ข. กำหนดส่งมอบพรุ่งนี้ ปรากฎว่า ข. ไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ตามเวลาที่ตกลงกัน (ข. ผิดนัด) ขณะผิดนัด นาย ค.บุคคลภายนอก ขับรถมาชนรถยนต์ของนาย ก. เสียหาย เช่นนี้ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคะ(ก. เจ้าของรถยนต์ หรือ ข)
ตอบ อย่าคิดเยอะครับ เมื่อ ก. ซื้อรถแล้วแต่ยังไม่ส่งมอบ ก. ก็ไม่ต้องรับรถ  ไปหาซื้อคันใหม่ เพราะถือว่า ข.ผู้ขายผิดสัญญา ง่ายกว่าครับ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของ ข. ก็ให้ ข.ไปเรียกค่าสินไหมจาก ค. ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดดีกว่าครับ

3. กรณีม.228 หากทรัพย์เพียงบุบสลาย (มิได้ถึงขนาดทำให้การชำระหนี้พ้นวิสัย) แต่ผู้ทำละเมิดได้ให้ของแทนแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกให้ส่งมอบของนั้นได้ไหม / หรือเจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดตามมาตรานี้ได้ไหมคะ
ตอบ กรณีจะให้ลูกหนี้ส่งมอบของแทนนั้น จะต้องเป็นกรณีตาม ม.๒๒๘ และเป็นกรณีที่การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย เจ้าหนี้จึงจะสามารถเรียกให้ลูกหนี้ส่งมอบของนั้นได้ หากเป็นเพียงบุบสลาย จะนำ ม.๒๒๘ มาปรับใช้ น่าจะไม่ถูกต้องครับ ลองกลับไปอ่านและทำความเข้าใจ ม.๒๒๘ อีกครั้งนะครับ

ขอถามเรื่องอื่นด้วยนะคะ
4. กรณีที่มีเจ้าหนี้สามัญหลายคนเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอ จะต้องเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ทุกคนเท่าๆกัน หรือเฉลี่ยให้ตามสัดส่วนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่คะ

ตอบ ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าหนี้นั้น เป็นชำระหนี้ที่แบ่งได้หรือไม่ได้ หากเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งชำระได้ ก็ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามส่วนเท่าๆกัน แต่หากเป็นหนี้ที่ไม่สามารถแบ่งชำระหนี้ได้  และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์แก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดด้วยกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น ให้ไปดู ม.๒๙๐ และ ม.๓๐๒ นะครับ

ทนายพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2017, 02:30:35 am โดย ทนายพร »


Backfor69

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณคับ เป้นประโยชน์กับผมมาก

anundaza01

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ และขอเน้นย้ำอีกครั้งนะครับว่า ทนายจะตอบคำถามกรณีที่เป็นปัญหาที่เกิดจากการดำรงชีวิตประจำวันแล้วเกิดปัญหาเท่านั้น ส่วนที่จะให้วินิจฉัยข้อกฏหมายเพื่อที่จะไปประกอบการเรียนหรือการสอบนั้น ท่านสามารถค้นคว้าได้ตามคำพิพากษาฏีกา ก็จะเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมายและดีต่อผู้เรียนมากว่าครับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามมา ทนายก็จะตอบให้ตามที่ถามเลยครับ

1. ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยขณะลูกหนี้ผิดนัด (แต่พ้นวิสัยเพราะความผิดบุคคลภายนอก) เมื่อลูกหนี้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ไปแล้วตามมาตรา 217 ลูกหนี้จะรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากผู้ทำละเมิดตามม.227 ได้หรือเปล่าคะ
(อ่านในหนังสือ เจอแต่ตัวอย่างกรณีสัญญาประกันภัย)

ตอบ หลักการเดียวกันกับสัญญาประกันภัยครับ โดยอาศัยหลัก ป.แพ่ง ม.๒๒๗ ดังว่าครับ

2. แล้วถ้าเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมจากลูกหนี้(บนฐานเรื่องการผิดนัด)แล้ว เจ้าหนี้จะไปเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดอีกในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิได้ไหมคะ แล้วจะเรียกได้เท่าไหร่(เต็มจำนวนไหมคะ)
(จะเหมือนกรณีที่ผู้เสียหายได้รับเงินจากบริษัทประกัน หรือเงินสวัสดิการอื่นๆ แล้วยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดหรือเปล่าคะ)

ตอบ หากเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมครบจำนวนแล้ว ก็ถือว่าไม่ได้รับความเสียหายแล้ว คงเรียกค่าสินใหม่อีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ม.๕ กรณีที่จะเรียกค่าสินไหมเพิ่มเติมได้ก็ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ค่าสินไหมหรือค่าเสียหายไม่ครบถ้วนตามที่”ควรจะได้” เช่น ทำสัญญาประกันไว้ ห้าพันบาท บริษัทประกันจ่ายให้ ห้าพันบาท ตามสัญญา แต่ความเสียหายเกิดขึ้นคิดเป็นเงินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีอย่างนี้ ก็สามารถเรียกค่าสินไหมในส่วนที่ขาดไปกับผู้ทำละเมิดได้อีกห้าพันบาท เป็นต้น

เช่น ก. ซื้อรถยนต์จาก ข. กำหนดส่งมอบพรุ่งนี้ ปรากฎว่า ข. ไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ตามเวลาที่ตกลงกัน (ข. ผิดนัด) ขณะผิดนัด นาย ค.บุคคลภายนอก ขับรถมาชนรถยนต์ของนาย ก. เสียหาย เช่นนี้ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคะ(ก. เจ้าของรถยนต์ หรือ ข)
ตอบ อย่าคิดเยอะครับ เมื่อ ก. ซื้อรถแล้วแต่ยังไม่ส่งมอบ ก. ก็ไม่ต้องรับรถ  ไปหาซื้อคันใหม่ เพราะถือว่า ข.ผู้ขายผิดสัญญา ง่ายกว่าครับ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของ ข. ก็ให้ ข.ไปเรียกค่าสินไหมจาก ค. ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดดีกว่าครับ

3. กรณีม.228 หากทรัพย์เพียงบุบสลาย (มิได้ถึงขนาดทำให้การชำระหนี้พ้นวิสัย) แต่ผู้ทำละเมิดได้ให้ของแทนแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกให้ส่งมอบของนั้นได้ไหม / หรือเจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดตามมาตรานี้ได้ไหมคะ
ตอบ กรณีจะให้ลูกหนี้ส่งมอบของแทนนั้น จะต้องเป็นกรณีตาม ม.๒๒๘ และเป็นกรณีที่การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย เจ้าหนี้จึงจะสามารถเรียกให้ลูกหนี้ส่งมอบของนั้นได้ หากเป็นเพียงบุบสลาย จะนำ ม.๒๒๘ มาปรับใช้ น่าจะไม่ถูกต้องครับ ลองกลับไปอ่านและทำความเข้าใจ ม.๒๒๘ อีกครั้งนะครับ

ขอถามเรื่องอื่นด้วยนะคะ
4. กรณีที่มีเจ้าหนี้สามัญหลายคนเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอ จะต้องเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ทุกคนเท่าๆกัน หรือเฉลี่ยให้ตามสัดส่วนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่คะ

ตอบ ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าหนี้นั้น เป็นชำระหนี้ที่แบ่งได้หรือไม่ได้ หากเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งชำระได้ ก็ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามส่วนเท่าๆกัน แต่หากเป็นหนี้ที่ไม่สามารถแบ่งชำระหนี้ได้  และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์แก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดด้วยกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น ให้ไปดู ม.๒๙๐ และ ม.๓๐๒ นะครับ

ทนายพร

ขอบคุณมากๆครับ