24/11/24 - 16:55 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกยกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด  (อ่าน 6435 ครั้ง)

poo

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ถูกยกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2017, 08:49:37 pm »
ดิฉันเป็นแพทย์ fulltime รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ได้ทำบันทึกข้อตกลงเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรมกับทาง รพ. โดยข้อตกลงมีผลบังคับระยะเวลา 1 ปี (เริ่ม 1กันยายน 2560) แล้ววันที่ 28 ธันวา 2560 รพ.ได้บอกยกเลิกสัญญาโดยให้ผล 1 มกราคม 2561 โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล ซึ่งดิฉันไม่ได้ทำความเสียหายให้แก่ทาง รพ. แต่เข้าใจว่าทางผู้บริหารไม่พอใจที่ดิฉันไม่เห็นด้วยกับนโยบาย รพ.ที่จะประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่คำนึงถึงมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ

ขอสอบถามว่า
สามารถเรียกร้องค่าเสียหายที่รพ.ได้บอกยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดได้หรือไม่ ถ้าได้จะได้กี่เดือนหรือได้ค่าตอบแทนที่ควรจะได้จริงถ้าทำงานครบสัญญาหนึ่งปี (สัญญาระบุว่าแพทย์ไม่ได้เป็นลูกจ้าง)
ทาง รพ.มีเงื่อนไขจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ แต่ดิฉันทำงานได้เกินการันตี ซึ่ง รพ.ก็จ่ายส่วนเกินให้ ไม่ทราบว่าจำนวนเงินที่เรียกร้องค่าเสียหาย จะเป็นค่าตอบแทนขั้นต่ำ หรือรายได้ที่ทำได้จริง

ขอบคุณค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ถูกยกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 30, 2017, 01:36:41 am »
ตอบคุณหมอตามที่สงสัยเลยนะครับ...อย่างนี้ครับ
คุณหมอถามว่า "จะเรียกร้องค่าเสียหายที่รพ.ได้บอกยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดได้หรือไม่ ถ้าได้จะได้กี่เดือนหรือได้ค่าตอบแทนที่ควรจะได้จริงถ้าทำงานครบสัญญาหนึ่งปี (สัญญาระบุว่าแพทย์ไม่ได้เป็นลูกจ้าง)ทาง รพ.มีเงื่อนไขจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ แต่ดิฉันทำงานได้เกินการันตี ซึ่ง รพ.ก็จ่ายส่วนเกินให้ ไม่ทราบว่าจำนวนเงินที่เรียกร้องค่าเสียหาย จะเป็นค่าตอบแทนขั้นต่ำ หรือรายได้ที่ทำได้จริง

ตอบ ก่อนอื่นต้องพิจารณาก่อนว่า สัญญาจ้างหมอในโรงพยาบาลเอกชนนั้น เป็น "สัญญาจ้างแรงงาน" หรือ "สัญญาจ้างทำของ" แต่แนวโน้มจะเป็นสัญญาจ้างแรงงานนั้นค่อนข้างสูงที่เดียว เนื่องจากหมอยังต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของโรงพยาบาลในการทำงาน รวมทั้งยังมีอำนาจบังคับบัญชาได้ในระดับหนึ่ง อย่างนี้จึงเข้าองค์ประกอบของสัญญาจ้างแรงงาน ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงแม้ว่าจะระบุในสัญญาว่าเเพทย์ไม่ได้เป็นลูกจ้างก็ตาม เพราะประเด็นสัญญานี้จะเป็นปัญหาค่อนข้างมากในการคำนวณภาษีจ่าย เนื่องจากในการคำนวณภาษีสัญญาจ้างทั้สองประเภทคำนวณไม่เหมือนกันครับ

กลับมาพิจารณาจากข้อสงสัยที่คุณหมอได้ถามมา ว่าสามารถเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เพียงใด โดยมีข้อตกลงกันว่าจะจ้างกัน ๑ ปี อย่างนี้ เรียกว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน "แบบมีกำหนดระยะเวลา" เมื่อนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายในส่วนที่ขาดไปเต็มตามจำนวนหรือให้เข้าใจง่ายๆก็คือต้องจ่ายให้ครบตามสัญญาแม้ไม่ได้ทำงานนั้นเอง

ส่วนประเด็นว่าจะคำนวณจากเงินการันตีหรือรายได้ที่รับจริงเป็นฐานในการคำนวนนั้น เห็นว่า เมื่อรายได้ที่ทำได้จริงเป็นรายได้อนาคตที่ไม่อาจคำนวณได้แน่นอน จึงต้องใช้ฐานรายได้การันตีในการคำนวน อย่างไรก็ตาม ก็มีแนวคำพิพากษาของผู้พิพากษาบางท่านได้ให้ความเห็นว่า ให้คิดคำนวนโดยใช้ฐาน "เฉลี่ย" ของรายได้ที่ได้รับมาเป็นฐานคำนวนครับ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาได้วางหลักไว้ครับ ก็คงต้องหาคำตอบจากคำพิพากษาต่อไปครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร