ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างส่งสหภาพแรงงานเป็นค่าบำรุงสหภาพแรงงาน เป็นข้อตกลงอย่างอื่นที่ไม่ใช่สภาพการจ้าง

ความหมายของสภาพการจ้างนั้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 หมายความว่า เงื่อนไขการจ้าง หรือการทำงาน การกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการทำงาน นิยามดังกล่าวนี้มีความหมายที่กว้างขวางมาก เสมือนกับว่าอะไรที่เกี่ยวกับการทำงานแล้วล้วนแต่เป็นสภาพการจ้างทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างส่งสหภาพแรงงานเป็นคำบำรุงสหภาพแรงงานและค่าฌาปนกิจสงเคราะห์เป็นข้อตกลงอย่างอื่นที่ไม่ใช่สภาพการจ้าง [คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680//2532]

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3680/2532

สหภาพแรงงานยางไฟร์สโตน (ประเทศไทย)

     โจทก์

บริษัทยางสยาม จำกัด

     จำเลย

 

บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ที่ยินยอมให้หัก แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุง ค่าฌาปนกิจ ดังนี้ เป็นข้อตกลงอย่างอื่น มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม

 

โจทก์ฟ้องว่า

จำเลยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการหักค่าจ้างจากสมาชิกสหภาพแรงงานยางไฟร์สโตน (ประเทศไทย) ในแต่ละเดือนเพื่อเป็นค่าบำรุงและค่าฌาปนกิจ ตามรายชื่อและลายมือชื่อยินยอมจากพนักงานของจำเลยที่เป็นสมาชิกแต่ละคนไม่เกินคนละ 75 บาท มอบให้แก่ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพโจทก์เดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ 1 ปี

 

ต่อมาระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โดยจำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยมิชอบ จำเลยได้ออกประกาศจำเลยจะไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกต่อไป แต่จะให้สมาชิกสหภาพซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยชำระค่าสมาชิกให้กับสหภาพโจทก์โดยตรง และหลังจากนั้นเป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมหักค่าจ้างจากสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยทำให้โจทก์และสมาชิก สหภาพซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์

 

โจทก์ได้ร้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนประกาศของจำเลยที่ 4/2532 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 และให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2530 ข้อ 3.6 โดยหักค่าจ้างของสมาชิกแต่ละเดือนเพื่อเป็นค่าบำรุงและค่าฌาปนกิจให้แก่ สหภาพโจทก์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2532 เป็นต้นไปทุกเดือนส่งมอบให้แก่โจทก์

 

จำเลยให้การว่า

บันทึกข้อตกลงนั้น ไม่ใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพราะไม่เป็นไปตามคำจำกัดความของคำว่าสภาพการจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงนำพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาใช้บังคับไม่ได้ ความผูกพันตามข้อตกลงจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในลักษณะ นิติกรรมสัญญาทั่ว ๆ ไปและตามบันทึกข้อตกลง ระยะเวลาที่ใช้บังคับก็สิ้นสุดลงไปแล้ว กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่จะนำมาตรา 12 มาใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ข้อตกลงดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน เมื่อครบกำหนดย่อมสิ้นสุดทันทีโดยไม่ต้องแจ้งหรือบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยไม่มีหน้าที่หรือข้อผูกพันที่จะต้องหักค่าจ้างจากสมาชิกสหภาพในแต่ละเดือนดังกล่าวได้

 

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 บัญญัติไว้ว่า ในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างจะนำหนี้อื่นมาหักมิได้ คำว่าหนี้อื่นนั้น ศาลฎีกาได้พิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานว่า หมายถึงหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง และหนี้ตามข้อตกลงข้อ 3.6 นั้นเป็นหนี้ค่าบำรุงสหภาพแรงงานและค่าฌาปนกิจซึ่งเป็นหนี้ระหว่างสหภาพแรงงานกับสมาชิก ไม่ใช่เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง จึงเป็นหนี้อื่น ห้ามมิให้นำมาหักจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 ดังนั้นแม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้นำหนี้อื่นมาหักจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 30 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

 

ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

 ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "โจทก์อุทธรณ์ว่า บันทึกข้อตกลงข้อ 3.6 ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งได้เสนอและเจรจาตกลงกันโดยชอบกับได้จดทะเบียนต่อกรมแรงงาน ทั้งสมาชิกของสหภาพโจทก์ก็ยินยอมเห็นชอบและยินยอมให้หักค่าจ้างตามข้อตกลง นี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องปฏิบัติตาม

 

พิเคราะห์แล้ว ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "สภาพการจ้าง" หมายความว่าเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้างสวัสดิการ การเลิกจ้างหรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการทำงาน และคำว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"หมายความว่าข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

 

แต่ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 3.6 เป็นเรื่องตกลงให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ตามรายชื่อและลายมือชื่อที่ยินยอมให้หักค่าจ้างไม่เกินคนละ 75 บาทต่อเดือน แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุงค่าฌาปนกิจ ซึ่งเป็นข้อตกลงอย่างอื่นไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างหรือลูกจ้างอัน เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานแต่อย่างใดบันทึกข้อตกลงข้อ 3.6 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยหักค่าจ้างดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก เมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ต่อไป..."

 

พิพากษายืน

(ศักดา โมกขมรรคกุล - มาโนช เพียรสนอง - นำชัย สุนทรพินิจกิจ )



20/Mar/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา