ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ถูกเลิกจ้างเนื่องจากบริษัทปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่

นายบรรลือ เสียงสนั่น โจทก์

 

บริษัทไดมอนลีฟ (ไทยแลนด์) จำกัด จำเลย

 

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

 

จำเลยเลิกจ้างโจทก์สืบเนื่องมาจากจำเลยปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานทั้งหมด ต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างลง ทำให้ต้องยุบหน่วยงานและลดขนาดหน่วยงานบางหน่วย มีการปรับลดหน่วยงานทั้งบริษัทจากระดับแผนกหรือฝ่ายลงเหลือเพียงระดับงาน รวมทั้งฝ่ายจัดซื้อที่โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายก็ถูกปรับลดลงเป็นงานจัดซื้อ ไม่มีตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้ออีกต่อไป

 

การดำเนินการทั้งหมดจำเลยไม่ได้เลือกปฏิบัติเลิกจ้างเฉพาะโจทก์รายเดียว ดังนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 4,128,000 บาท แก่โจทก์

 

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่ให้เหมาะสม เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ และจำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำฟ้องหรือไม่

 

ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานและลดอัตรากำลังลูกจ้างลง ทำให้ต้องยุบและลดขนาดหน่วยงานบางหน่วย โดยปรับลดหน่วยงานทั้งบริษัทจากระดับแผนกหรือฝ่ายเหลือเพียงระดับงาน ให้หน่วยงานมีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ง่ายต่อการควบคุมดูแลทางด้านการบริหารงานและลดการทุจริต ในฝ่ายจัดซื้อที่โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย

 

จำเลยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเหลือเพียงระดับงานจัดซื้อไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร พนักงานจัดซื้อไม่มีอำนาจตัดสินใจในการจัดซื้อ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนไปตามภาวะกระแสการแข่งขันทางธุรกิจของโลกปัจจุบันที่ทวีการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตลง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติให้เลิกจ้างเฉพาะโจทก์คนเดียว

 

เห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์สืบเนื่องมาจากจำเลยปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานทั้งหมด ต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างลง ทำให้ต้องยุบหน่วยงานและลดขนาดหน่วยงานบางหน่วย มีการปรับลดหน่วยงานทั้งบริษัทจากระดับแผนกหรือฝ่ายลงเหลือเพียงระดับงาน รวมทั้งฝ่ายจัดซื้อที่โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายก็ถูกปรับลดลงเป็นงานจัดซื้อ ไม่มีตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้ออีกต่อไป

 

การดำเนินการทั้งหมดจำเลยไม่ได้เลือกปฏิบัติเลิกจ้างเฉพาะโจทก์รายเดียว ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

 

พิพากษายืน

 

(อนันต์ ชุมวิสูตร - ดิเรก อิงคนินันท์ - นิพนธ์ ใจสำราญ )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายณรงค์ ไพบูลย์วัฒนกิจ



16/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา