ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การนับจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสมาชิกสหภาพแรงงาน ต้องนับจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในทุกหน่วยงานหรือทุกสาขารวมกัน ไม่ใช่นับเฉพาะจำนวนลูกจ้างสาขาที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2558

 

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ขออนุญาตศาลแรงงานก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 เนื่องจากโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง คำสั่งเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

จำเลยให้การว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์อุทธรณ์

 

ศาลฎีกาเห็นว่า เห็นว่า จำนวนลูกจ้างทั้งหมดของสถานประกอบกิจการที่ใช้เปรียบเทียบกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง จำนวนลูกจ้างทั้งหมดของสถานประกอบกิจการนั้นทุกหน่วยงานหรือทุกสาขาที่มีการบริหารงานเช่นเดียวกันรวมกัน

 

ส่วนที่ประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า “ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้น อาจตกลงกันเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้ จำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือในหน่วยงานหรือสาขาในแต่ละจังหวัดให้กำหนดโดยถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518” นั้น

 

หมายความเพียงว่า ในกรณีที่สถานประกอบกิจการมีหน่วยงานหรือสาขา ในจังหวัดอื่น ลูกจ้างอาจตกลงกันเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การนับจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของสถานประกอบกิจการนั้น เพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงาน ว่าถึงเกณฑ์ที่สหภาพแรงงานจะแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหนึ่งคนได้หรือไม่ อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45 คือ ต้องนับจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของสถานประกอบกิจการนั้นทุกหน่วยงานหรือทุกสาขารวมกัน ไม่ใช่นับเฉพาะจำนวนลูกจ้างของสาขาที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง

 

เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีโรงงานรวม 7 แห่ง โดยโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสาขาอื่นรวม 7 แห่ง มีผู้บริหารชุดเดียวกันเป็นผู้บังคับบัญชา ข้อบังคับการทำงานก็ใช้ข้อบังคับเดียวกัน การเจรจาต่อรองของคณะกรรมการลูกจ้างก็เพื่อพนักงานทั้งหมด 7 สาขา ดังนั้นการคำนวณนับจำนวนพนักงานจึงต้องนับทั้ง 7 สาขารวมกัน

 

เมื่อจำเลยมีลูกจ้างทั้งหมด รวม 23,023 คน แต่สหภาพแรงงานมีจำนวนสมาชิกเพียง 2,270 คน จำนวนสมาชิกสหภาพแรงงาน จึงไม่เกิน 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดรวมกัน การแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างเฉพาะส่วนโรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของสหภาพแรงงาน ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างคนหนึ่งด้วย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานและคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน



27/Aug/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา