ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เทศบาลได้ขอใช้อัฒจันทร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อการแข่งขันกีฬา แล้วปรากฏว่าไฟฟ้ารั่วไหลมาตามรั้วของอัฒจันทร์ เข้าช็อตจนมีคนตาย เทศบาลในฐานะผู้ขอใช้สถานที่ดังกล่าวนั้นจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ตาย

จำเลยเป็นเทศบาลนครศรีธรรมราช มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยเป็นหน่วยงานของรัฐสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นาย ว. ผู้ตายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสอง

 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2549 ระหว่างเวลา 18 ถึง 21 นาฬิกา จำเลยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาชุมชนครั้งที่ 4 ที่สนามบาสเก็ตบอลบริเวณสนามหน้าเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ผู้ตายเป็นผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันกีฬาฟุตซอล ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2549 เวลา 21 นาฬิกาเศษ ระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาฟุตซอล ผู้ตายขึ้นไปบนอัฒจันทร์ มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลมาตามรั้วเหล็กของอัฒจันทร์ช็อตผู้ตายได้รับบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2549

 

บิดามารดาของผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 2,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจะกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้วและสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลยเสร็จ

 

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,266,123 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

 

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ขณะเดียวกันจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ด้วย ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน

 

จำเลยยื่นฎีกาว่า จำเลยเป็นผู้ขอใช้และดูแลสนามบาสเก็ตบอลซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเวลา 18 ถึง 21 นาฬิกา ไม่ใช่เป็นการรับมอบอาคารสนามบาสเก็ตบอลซึ่งรวมถึงไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพมาครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง

 

ทั้งเคยมีเหตุไฟฟ้ารั่วมาก่อนการแข่งขันแล้วจึงเป็นความบกพร่องขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าของอาคารที่เกิดเหตุตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง

 

ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จำเลยใช้สถานที่คือสนามกีฬาบริเวณสนามหน้าเมืองมาจัดการแข่งขัน ซึ่งประกอบด้วยสนามที่ใช้ในการแข่งขัน รวมถึงอัฒจันทร์ที่ให้ผู้เข้าชมการแข่งขัน รวมทั้งนักกีฬาใช้เป็นที่นั่งชมการแข่งขันหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬา

 

จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬา รวมถึงการดูแลความปลอดภัยให้นักกีฬาตลอดถึงคนที่เข้าชมการแข่งขันโดยเฉพาะในการแข่งขันกีฬา

 

ครั้งที่เกิดเหตุ มีการแข่งขันกีฬาในช่วงเย็นไปถึงค่ำระหว่างเวลา 18 ถึง 21 นาฬิกา ย่อมมีความจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่างตลอดระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งกระแสไฟฟ้านั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ

 

เมื่อกระแสไฟฟ้าช็อตผู้ตายที่อาคารอัฒจันทร์ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ในระหว่างการแข่งขันกีฬาที่จำเลยเป็นผู้จัดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง

 

ที่จำเลยอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยนำสืบได้เพียงว่า ก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบแล้วไม่มีส่วนชำรุดบกพร่องของกระแสไฟฟ้าในส่วนของอาคารอัฒจันทร์ ซึ่งข้อนำสืบดังกล่าวมิได้แสดงว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

 

สำหรับกรณีที่ผู้ตายใช้น้ำราดตัวจนเปียกก็ได้ความว่าเป็นเพราะผู้ตายเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตซอล หลังการแข่งขันกีฬาแล้วผู้ตายใช้น้ำราดตัวเพื่อให้สดชื่นหายเหนื่อย เมื่อผู้ตายจับราวเหล็กของอาคารอัฒจันทร์แล้วถูกกระแสไฟฟ้าช็อตจึงถึงไม่ได้ว่าเป็นความผิดของผู้ตาย

 

ดังนั้น จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในเหตุที่เกิดขึ้น ศาลฎีกาพิพากษายืนให้จำเลยชดใช้เงิน 1,266,123 บาทแก่โจทก์ทั้งสอง

 

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกา 3686/2556

 



29/Oct/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา