ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลูกจ้างหยุดงานโดยลาป่วยพร้อมกัน เพื่อขอให้นายจ้างขึ้นเงินเดือนและโบนัส แม้มีใบรับรองแพทย์แต่ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์จงใจ ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๗๗๐ – ๗๗๕/๒๕๖๐ เรื่อง ลูกจ้างหยุดงานด้วยการ “ลาป่วยพร้อมกัน” พร้อมขอใบรับรองแพทย์เพื่อกดดันให้จำเลยขึ้นเงินเดือนและโบนัสตามหนังสือเวียน พฤติการณ์เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงชอบที่จะเลิกจ้างได้

 

คดีนี้โจทก์กับพวกรวม ๖ คน ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์กับพวกทำงานตำแหน่งวิศวกร หัวหน้า ส่วนฝ่ายผลิต ช่างเทคนิค ต่อมาวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

จำเลยให้การว่าก่อนจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้ง ๖ คน ซึ่งเป็นตัวแทนลูกจ้าง ได้ยื่นข้อเรียกร้องเงินโบนัสประจำปี มีการเจรจาต่อรองกันจนได้ข้อยุติและนำไปจดทะเบียน

 

โจทก์ทั้ง ๖ คน ได้นัดหยุดงานโดยใช้สิทธิลาป่วย มีการไปขอใบรับรองแพทย์ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย

 

ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วพิพากษา ยกฟ้อง

 

ศาลอุทธรณ์ฯ เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุ มีการเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันใหม่ระหว่างจำเลย กับสหภาพแรงงาน อ. ที่โจทก์ทั้ง ๖ คน สังกัดอยู่จนได้ข้อยุติมีการนำไปจดทะเบียนกันที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ และมีข้อสรุปเรื่องการจ่ายเงินเดือนพร้อมโบนัสประจำปี ๒๕๕๘ จ่ายในปี ๒๕๕๙

 

ต่อมามีหนังสือเวียนของพนักงานจำเลยไม่ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว เนื้อหาหนังสือปลุกระดม ให้พนักงานหยุดงานด้วยการลาป่วยพร้อมขอใบรับรองแพทย์มาแสดงกับจำเลย กดดันให้จำเลยขึ้นเงินเดือน และโบนัสตามหนังสือเวียน กำหนดนัดหยุดงานด้วยการลาป่วยให้ไปขอใบรับรองแพทย์ในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ และนัดรวมตัวกันหน้าบริษัทในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

 

ต่อมาวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ โจทก์ทั้ง ๖ คน รวมตัวกันลาป่วย

 

หลังเกิดเหตุจำเลยทำการสอบสวนแล้ว ได้รับพนักงานบางคนกลับ แต่ไม่รับกลับ ๑๔ คน รวมทั้งโจทก์ทั้ง ๖ คน

 

พฤติการณ์ของโจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างได้ ที่โจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่าหยุดงานเพียงวันเดียวไปพบแพทย์ คนละโรงพยาบาล มีใบรับรองแพทย์ หากไม่ป่วยจริงแพทย์คงไม่ออกหลักฐานใบรับรองแพทย์ให้

 

อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๒ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย



01/Nov/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา