ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แม้การทำงานล่วงเวลาจะเป็นความสมัครใจของลูกจ้าง แต่การที่สหภาพแรงงานจูงใจลูกจ้างไม่ให้ทำงานล่วงเวลา ถือเป็นการแทรกแซงอำนาจการตัดสินใจของลูกจ้าง และต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง มีเหตุสมควรเลิกจ้างได้

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2559 ระหว่างบริษัทโออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ร้อง และนายสายยนต์ กัณหา ผู้คัดค้าน

 

การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทำการจูงใจให้ลูกจ้างของผู้ร้องให้ไม่ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น แม้การทำงานล่วงเวลาจะเป็นไปตามความสมัครใจของลูกจ้างของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ความสมัครใจนั้นต้องมิได้เกิดจากการชักจูงของบุคคลใด

 

การที่ผู้คัดค้านจูงใจลูกจ้างของผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลาจึงเป็นการแทรกแซงอำนาจในการตัดสินใจของลูกจ้างผู้ร้องเพื่อมิให้ทำงานล่วงเวลาแก่ผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของผู้ร้อง อันถือว่าผู้คัดค้านกระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและเป็นการประพฤติตนอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

 

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า นายสายยนต์ กรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับลูกจ้างผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2552 เป็นเหตุให้ผู้ร้องเสียหาย ขอให้ศาลอนุญาตผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน

 

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

 

ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

 

ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า จากข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติว่า ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างของผู้ร้องในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2556 ลูกจ้างในโรงงานของผู้ร้องส่วนใหญ่ไม่ทำงานล่วงเวลาเนื่องจากผู้ร้องย้ายนายสุชาติ ประธานสหภาพแรงงานโออิชิ นวนคร ให้ไปทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้คัดค้านมีส่วนในการจูงใจลูกจ้างผู้ร้องไม่ทำงานล่วงเวลา แต่มิได้ข่มขู่ลูกจ้าง แล้ววินิจฉัยว่าการกระทำผู้คัดค้านจึงไม่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

 

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่

 

เห็นว่า การที่ผู้คัดค้านทำการจูงใจให้ลูกจ้างของผู้ร้องให้ไม่ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น แม้การทำงานล่วงเวลาจะเป็นไปตามความสมัครใจของลูกจ้างของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่งก็ตาม

 

แต่ความสมัครใจนั้นต้องมิได้เกิดจากการชักจูงของบุคคลใด การที่ผู้คัดค้านจูงใจลูกจ้างของผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลา จึงเป็นการแทรกแซงอำนาจในการตัดสินใจของลูกจ้างผู้ร้องเพื่อมิให้ทำงานล่วงเวลาแก่ผู้ร้อง

 

การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของผู้ร้อง อันถือว่าผู้คัดค้านกระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและเป็นการประพฤติตนอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต

 

ผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าการกระทำของผู้คัดค้านไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้เลิกจ้างนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังขึ้น

 

พิพากษากลับเป็นว่า อนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน

 

(ภาวนา สุคันธวณิช-วิชัย เอื้ออังคณากุล-ปกรณ์ สุวรรณพรหมา)



18/Nov/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา