ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การทำงานอันเป็น “ส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบ” ของผู้ประกอบกิจการต้องเป็น “งานหลัก” เท่านั้น ถึงจะเข้ามาตรา ๑๑/๑ และได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ ๒๘๕ – ๒๙๘/๒๕๖๑ (เหมาค่าแรง มาตรา ๑๑/๑)

 

การทำงานอันเป็น “ส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบ” ของผู้ประกอบกิจการต้องเป็น “งานหลัก” เท่านั้น เมื่อการทำงาน “ขับรถประจำตำแหน่งผู้บริหาร”  ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่า “กิจการปิโตรเลียม” การทำงานของลูกจ้างจึงไม่ใช่งานหลัก แต่เป็นเพียงการทำงานที่ “ส่งผลต่อธุรกิจของผู้ประกอบกิจการโดยทางอ้อม” จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างตามมาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง

 

คดีนี้โจทก์กับพวกรวม ๑๔ คน ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ประกอบกิจการธุรกิจเกี่ยวกับการสำรวจผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียม ได้มอบหมายให้จำเลยที่ ๒ เป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน จำเลยที่ ๒ ได้มอบหมายให้จำเลยที่ ๓ เป็นตัวแทนหาคนมาทำงานเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ขับรถประจำตำแหน่งผู้บริหารของจำเลยที่ ๑

 

นับแต่เข้างานโจทก์กับพวกไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ ๑ เป็นการเลือกปฏิบัติ ขอบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยให้โจทก์กับพวกทำงานตามปกติสัปดาห์ละ ๕ วัน จ่ายค่าทำงานในวันหยุด โบนัส ค่าแท็กซี่ชั่วโมงเร่งด่วน ค่าอาหาร และสวัสดิการพร้อมดอกเบี้ย

 

จำเลยที่ ๑ ให้การว่าโจทก์กับพวกทำงานขับรถส่งพนักงานและตามคำสั่งของพนักงานที่เป็นชาวต่างชาติ งานดังกล่าวจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ ๑

 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์กับพวกอุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า บทบัญญัติมาตรา ๑๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่ปฏิบัติต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงเสมือนเป็นลูกจ้างของตน และให้ความคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง

 

แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มภาระหน้าที่แก่ผู้ประกอบกิจการ ในการตีความบทมาตราดังกล่าวจึงต้องตีความโดยเคร่งครัดก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย

 

ดังนั้นการทำงานอันเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการต้องเป็นงานหลักเท่านั้น มิใช่งานที่มีผลต่อการผลิตหรือธุรกิจโดยอ้อม อันเป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดแจ้งในการตีความและเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย

 

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๒ ให้บริการงานทำความสะอาดสำนักงาน งานทำสวน งานธุรการทั่วไป แต่จำเลยที่ ๒ จ้างจำเลยที่ ๓ ให้ส่งโจทก์กับพวกไปทำงานขับรถให้แก่พนักงานผู้บริหาร การทำงานของโจทก์กับพวกจึงเป็น “การให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่พนักงานและครอบครัวพนักงาน” ของจำเลยที่ ๑

 

 ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่า “กิจการปิโตรเลียม” ซึ่งหมายความว่า การสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่ายปิโตรเลียม ตามคำนิยามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ ๑ แต่อย่างใด

 

การทำงานของโจทก์กับพวกจึงไม่ใช่งานหลัก แต่เป็นเพียง “การทำงานที่ส่งผลต่อธุรกิจของจำเลยที่ ๑ โดยทางอ้อม” จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นนายจ้างของโจทก์กับพวกตามมาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง

 

จำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องดำเนินการให้โจทก์กับพวกได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการตามมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง

 

พิพากษายืน



01/Jan/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา