ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลดจำนวนลูกจ้างเพราะขาดทุน ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๒๖ – ๒๓๐๔/๒๕๖๑ เรื่อง นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาตลอด จึงได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตลง ทั้งก่อนเลิกจ้างได้จัดทำโครงการสมัครใจลาออก และโครงการเกษียณก่อนกำหนด แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องเลิกจ้างประจำ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนค่าแรงสูงได้ตรงจุดกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายปี

 

แม้ภายหลังเลิกจ้างจะรับลูกจ้างประจำที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนสัญญาใหม่เป็นรายปีแทนก็ตาม ก็เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการที่นายจ้างมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

คดีนี้ลูกจ้างทั้ง ๗๙ คน ฟ้องว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างกับพวกโดยไม่เป็นธรรม เนื่องจากภายหลังเลิกจ้างแล้ว ลูกจ้างได้จ้างลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเข้าทำงานใหม่ในตำแหน่งหน้าที่เดิม เพียงแต่เปลี่ยนสัญญาจ้างจากเดิมที่เป็นลูกจ้างรายเดือนเป็นสัญญาระยะสั้น และจ่ายค่าจ้างเพียงวันละ ๓๐๐ บาท โดยไม่มีสวัสดิการอื่นที่เคยได้รับ

 

ขอบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายแก่ลูกจ้างกับพวกพร้อมดอกเบี้ย

 

นายจ้างให้การว่านายจ้างประกอบกิจการจำหน่ายภายชนะเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีลูกจ้างรวม ๒,๓๒๑ คน มีโรงงานอยู่จังหวัด A ลูกจ้างผลิตสินค้าส่งไปจำหน่ายต่างประเทศร้อยละ ๘๐ ของกำลังการผลิต ส่วนอีกร้อยละ ๒๐ จำหน่ายภายในประเทศ

 

นายจ้างประสบปัญหาขาดทุนในปี ๒๕๕๕ จำนวน ๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๕๖ ขาดทุน ๑๑๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท สาเหตุจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ ๓๐๐ บาท ทำให้ต้นทุนค่ำจ้างสูง นายจ้างพยายามแก้ปัญหาลดต้นทุนการผลิต ปรับราคาสินค้า จัดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโครงการสมัครใจลาออก

 

กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงานอย่างมีเหตุผลพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง ๓ ปี

 

ศาลแรงงานภาค ๑ พิจารณาแล้วเห็นว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างกับพวกรวมทั้งลูกจ้างอื่น ๖๕๑ คน เฉพาะที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น ก่อนเลิกจ้างสหภาพฯ และนายจ้างต่างยื่นข้อเรียกร้องขอแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

 

แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ สหภาพฯจึงหยุดงาน ส่วนลูกจ้างปิดงาน

 

ต่อมาทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ หลังจากนั้นนายจ้างจัดทำโครงการสมัครใจลาออก โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่ทำงานกับนายจ้างมานานและมีอายุมาก ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อหาทางออกร่วมกัน นายจ้างจงใจเลิกจ้างลูกจ้างกับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ แทนการเลิกจ้างลูกจ้างรายปีเพื่อลดจำนวนสมาชิกสหภาพฯ ลดอำนาจต่อรองของสหภาพฯ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าเสียแก่ลูกจ้างกับพวกพร้อมดอกเบี้ย นายจ้างและลูกจ้างอุทธรณ์

 

ศาลฎีกาเห็นว่า ก่อนเลิกจ้างนายจ้างและสหภาพฯ ต่างยื่นข้อเรียกร้องฯ นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาโดยตลอดได้แจ้งให้สหภาพฯ ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ต้องประสบภาวะขาดทุนและต้องลดภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิตลง ได้แก่ ค่าจ้าง และสวัสดิการที่สูงมากเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว

 

ต่อมาตกลงกันได้โดยสหภาพฯ ยอมลดข้อเรียกร้องลง แต่ในส่วนสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินก็ยังคงมีอยู่จึงไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในส่วนของต้นทุนค่าแรง ทั้งก่อนเลิกจ้างนายจ้างได้จัดโครงการสมัครใจลาออก โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดแต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างประจำ

 

เนื่องจากลูกจ้างประจำมีโบนัส สวัสดิการสูงมีการปรับค่าจ้างทุกปี จึงมีต้นทุนค่าแรงที่สูงกว่าลูกจ้างรายปี การเลิกจ้างลูกจ้างประจำจึงเป็นการแก้ไขปัญหาต้นทุนค่าแรงสูงได้ตรงจุดกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายปี

 

นอกจากนี้ในการเลิกจ้าง นายจ้างมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ที่ถูกเลิกจ้างอย่างชัดเจน ไม่ได้เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งลูกจ้างคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเฉพาะ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกจึงย่อมมีผลกระทบต่อสหภาพแรงงานฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

แม้ภายหลังเลิกจ้างนายจ้างได้รับลูกจ้างประจำที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมอีกแต่ก็เปลี่ยนสัญญาใหม่เป็นลูกจ้างรายปีแทน เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างกับพวกก็เพื่อมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ซึ่งถือเป็นการบริหารจัดการอย่างหนึ่ง

 

เป็นกรณีที่มีเหตุผลจำเป็นและเพียงพอที่จะเลิกจ้าง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างกับพวกจึงเป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างประสบปัญหาทางธุรกิจที่จำเป็นต้องลดรายจ่ายเพื่อความอยู่รอดของลูกจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิพากษากลับให้ยกฟ้อง



06/Sep/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา