ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นายจ้างลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จึงไม่อาจนำเอาความผิดเดิมที่ลงโทษแล้วมาลงโทษซ้ำโดยการเลิกจ้างได้อีก

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 555/2562

 

เรื่อง ลูกจ้างกระทำความผิดเรื่องทะเลาะวิวาท แต่นายจ้างลงโทษพักงาน 1 เดือน โดยไม่จ่ายค่าจ้างอันเป็นการลงโทษไปแล้ว นายจ้างจึงไม่อาจนำเอาการกระทำความผิดเดิมที่ลงโทษไปแล้วมาลงโทษซ้ำโดยการเลิกจ้างได้อีก การเลิกจ้างจึงมีผลเท่ากับเป็นการลงโทษเลิกจ้าง โดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดใดขึ้นใหม่อีก เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เดือนสิงหาคม 2557 โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด ค่าจ้างสุดท้ายเดือนละ 20,966 บาท วันที่ 7 ตุลาคม 2560 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา 1 เดือน โดยไม่มีการสอบสวนและไม่จ่ายค่าจ้าง

 

ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ อ้างว่าฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับฯ ก่อการทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน ฯลฯ โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ทั้งการพักงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงาน ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

จำเลยให้การว่า โจทก์และนางสาว ก. พนักงานของจำเลยทะเลาะวิวาทกันในสถานที่ทำงานในเวลาทำงาน จำเลยจึงลงโทษนางสาว ก. ด้วยการตักเตือน และไม่พิจารณาโบนัส ส่วนโจทก์ลงโทษพักงาน 1 เดือน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง

 

ต่อมาเมื่อครบกำหนดพักงาน โจทก์กลับเข้าทำงานและแจ้งไม่ประสงค์จะทำงานต่อไป ให้จำเลยเลิกจ้างและจ่ายค่าชดเชย


จำเลยจึงออกหนังสือเลิกจ้างโจทก์ และระหว่างพักงานจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์เขียนโครงการพัฒนาการตลาดและนำเสนอต่อจำเลย แต่โจทก์ไมได้เสนอ จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่ง

 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การที่จำเลยลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานดังกล่าว เป็นโทษทางวินัยที่อยู่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างสามารถลงโทษได้

 

 แต่เมื่อปรากฏว่า ในระหว่างพักงานจำเลยได้มอบหมายงานให้โจทก์ทำ โดยให้เขียนโครงการพัฒนาการตลาด เสนอต่อจำเลยในวันสุดท้ายของการพักงาน จึงมีผลเท่ากับจำเลยให้โจทก์ทำงานในระหว่างพักงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนในระหว่างนั้น

 

ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมจึงชอบแล้ว

 

และเมื่อจำเลยพักงานโจทก์โดยไม่จ่ายค่าจ้างอันเป็นการลงโทษไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจนำเอาการกระทำความผิดเดิมที่ลงโทษไปแล้วมาลงโทษซ้ำโดยการเลิกจ้างได้อีก

 

การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มีผลเท่ากับเป็นการลงโทษเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำความผิดใดขึ้นใหม่อีก การเลิกจ้างโจทก์เท่ากับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

พิพากษายืน



09/Oct/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา