ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

“4 + 3”: ช่องทางการเสนอร่างกฎหมายภาคประชาชน ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้ระบุขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ดังนี้

 

มาตรา 14 พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา 31 วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี

 

ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไขผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา

 

ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย

 

ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น คณะ รัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้

 

เมื่อพิจารณาตามมาตรา 14 นี้ รวมถึงในมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมาตรานี้ จึงเห็นได้ว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. จึงมี 3 รูปแบบที่เป็นทางการ ได้แก่

 

(1) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงชื่อเสนอร่างกฎหมายร่วมกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน

(2) คณะรัฐมนตรี (ครม.)

(3) สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.)

 

ตามมาตรา 27 ได้ระบุไว้ว่า สปช. มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางเสนอแนะเพื่อการปฎิรูปด้านต่างๆต่อ สนช., ครม. และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากเห็นว่ากรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับให้ สปช. จัดทำร่างเสนอต่อ สนช. และในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินให้จัดทำเสนอต่อ ครม. เพื่อดำเนินการต่อไป

 

อย่างไรก็ตามมีอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาได้ คือ ผ่าน คสช. โดยตรง

 

กล่าวคือ เมื่อมาพิจารณาในมาตรา 47 ได้ระบุไว้ว่า ประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ตลอดจนการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ คือ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุดจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก นั้นย่อมหมายความว่า ภาคประชาชนสามารถยื่นร่างพระราชบัญญัติให้ คสช. ได้โดยตรงเพื่อพิจารณาต่อไป เนื่องจากประกาศของ คสช. มีสถานะเทียบเท่ากับกฎหมาย

 

แต่เนื่องจาก ณ วันนี้ยังไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนั้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2557 นี้ คาดว่าทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะต้องตราข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุม การเสนอ และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้เรียบร้อยก่อน ที่จะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่างๆ ที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบรวม 38 ฉบับแล้วในเดือนกันยายน 2557 ต่อไป

 

ในประเด็นนี้มีข้อสังเกตสำคัญว่า บทเรียนจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับ 14,264 รายชื่อ (ฉบับวิไลวรรณ แซ่เตีย และคณะ) ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่มีอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นรัฐบาล ได้มีการไม่เห็นชอบให้นำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 1 ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

 

ดังนั้นข้อน่ากังวลใจ คือ ทำอย่างไรที่ในช่วงระหว่างการร่างระเบียบข้อบังคับในการพิจารณากฎหมายของ สนช. นี้ จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนให้ได้ว่า สนช.ต้องรับร่างกฎหมายภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ก่อน (ห้ามปฏิเสธไม่รับร่าง) และให้มีตัวแทนของผู้เสนอร่างกฎหมายเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการฯ แล้วหลังจากนั้นค่อยให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแต่ละฉบับทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองต่อไป เพื่อทำให้เจตนารมณ์ของประชาธิปไตยทางตรงที่ภาคประชาชนมีสิทธิในการเสนอกฎหมายได้มีส่วนร่วมและได้รับการตอบรับอย่างเป็นรูปธรรม

 

ทั้งนี้กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมีขั้นตอน ดังนี้

 

(1) หากร่างพระราชบัญญัติฉบับใดได้รับการเห็นชอบโดย สนช. แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายภายใน 20 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับจาก สนช. เพื่อให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

(2) หากร่างพระราชบัญญัติฉบับใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายัง สนช. หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ สนช. ทบทวนร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นใหม่ ทั้งนี้หาก สนช. มีมติตามเดิมให้นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

 

นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า แม้จะยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไปแล้ว แต่ยังมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างพระราชบัญญัติยังดำเนินการอยู่มาจนปัจจุบัน ได้แก่

 

# สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ทำหน้าที่รวบรวมร่างพระราชบัญญัติของแต่ละกระทรวงเพื่อส่งให้กับ สนช. และ ครม. พิจารณา

 

#  คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย (คปก.) ทำหน้าที่รวบรวมร่างพระราชบัญญัติ (ร่างกฎหมาย)ภาคประชาชนที่ได้เสนอมายัง คปก. เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกฎหมายที่ได้จัดส่งไปแล้ว

 

#  สภาพัฒนาการเมือง ทำหน้าที่จัดประเภท แยกแยะ จำแนกร่างพระราชบัญญัติเป็นหมวดต่างๆตามระเบียบ ก่อนที่จะส่งต่อสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ดังนั้นหน่วยงานทั้ง 3 หน่วยงานนี้ก็สามารถเป็น “หน่วยงานกลาง” ในการเสนอร่างกฎหมายภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. , ครม. , สปช. และ คสช. ได้เช่นเดียวกัน

 

เรียบเรียงโดยบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ 14-08-57



14/Aug/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา