ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แถลงการณ์เจตนารมณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เมื่อ 31 มกราคม พ.ศ.2558 ยืนยันนิยามคำว่า “ว่างงาน” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533

แถลงการณ์เจตนารมณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เมื่อ 31 มกราคม พ.ศ.2558 ยืนยันนิยามคำว่า “ว่างงาน” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 พร้อมคัดค้านถึงที่สุด ย้ำนิยามในร่างกฎหมายฉบับใหม่ลิดรอนสิทธิ ถือว่าสวนทางกับแนวทางการปฏิรูปประเทศ ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน

 

ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557-มกราคม 2558 และการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมาธิการฯเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2558 ยังคงยืนยันนิยามคำว่า“ว่างงาน” ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้มีการแก้ไขใหม่ในมาตรา 5 ว่าหมายถึง “การที่ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้าง” เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากนิยามกฎหมายฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันว่า ว่างงาน หมายรวมถึง กรณีที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างและลาออกจากงานในทุกกรณี

 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ขอคัดค้านนิยามในร่างกฎหมายฉบับใหม่อย่างถึงที่สุด เพราะถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ประกันตน สวนทางกับแนวทางการปฏิรูปประเทศในขณะนี้ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน ทั้งยังขัดแย้งอย่างมากกับแนวนโยบายของพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่เน้นย้ำว่าสำนักงานประกันสังคมตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ผู้ประกันตน ดังนั้นต้องสร้างมาตรฐานความโปร่งใส ชัดเจน ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน

 

รวมถึงยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ที่เกิดขึ้นมาจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ที่ช่วงนั้นลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนจำนวนมากต้องถูกเลิกจ้าง ทั้งจากเหตุโดยตรงและข้ออ้างจากสถานประกอบการเพื่อลดต้นทุนการผลิต บีบบังคับให้ลูกจ้างลาออกจากงานเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยจำนวนมาก และมีการบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547


fvoicelabour4

คสรท. ขอเรียนว่า “แม้ตามหลักการของประกันสังคมกรณีการว่างงานในทั่วโลก จะจ่ายประโยชน์ทดแทนเฉพาะผู้ว่างงานที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น” แต่สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยแล้วมีความแตกต่าง และไม่สามารถนำหลักการนี้มาใช้ได้อย่างแน่นอน

 

นับตั้งแต่ก่อตั้งคสรท.เมื่อปี 2544 คสรท.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากองค์กรแรงงานทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็น สมาชิกมาตลอดระยะเวลา 14 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่กลุ่มย่านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ภาคตะวันออก, อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, สระบุรี, อยุธยา ที่ลูกจ้างถูกบีบบังคับให้ลาออกภายใต้เงื่อนไขต่างๆ และทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานต้องสิ้น สุดลง ทั้งจากเหตุปิดกิจการเพราะผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ การย้ายฐานการผลิต การพิพาทแรงงานแล้วเลิกจ้างแกนนำและแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน รวมถึงการใช้มาตรา 75 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้แรงงานหยุดงานชั่วคราว และรวมถึงการให้งดทำงานล่วงเวลา ฯลฯ เพื่อทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง จนทนไม่ไหวต้องลาออกไปเอง

 

โดยประโยชน์ทดแทนการว่างงาน ที่ระบุเรื่องกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนด ทำให้ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้างรวม 3 เดือน ถือเป็น “คุณค่า”อย่างมากสำหรับแรงงานที่ต้องถูก นายจ้างบีบบังคับให้ออกจากงานด้วยกลวิธีต่างๆ เพราะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของแรงงานและครอบครัวได้มากในระหว่างช่วงการหา งานทำใหม่

 

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว คสรท.จึงเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระ 2-3 นั้น หากมีการตัดสิทธิการว่างงานเนื่องจากการลาออก หรือแม้แต่จะเพิ่มเงื่อนไขในการลาออกให้ได้รับสิทธิซึ่งเป็นไปตามที่กฎ กระทรวงระบุไว้นั้น ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะปกป้องไม่ให้แรงงานถูกกลั่นแกล้ง

 

PA070480PA070460

 

บทเรียนจากความล่าช้าในการออกกฎกระทรวงของผู้บังคับใช้กฎหมายในพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่จนบัดนี้หน่วยงานเกี่ยวข้องในกระทรวงแรงงานยังออกกฎกระทรวงไม่แล้วเสร็จ และทำให้แรงงานไม่สามารถได้รับความคุ้มครอง นี้จึงไม่สามารถเป็นหลักประกันใดๆได้เลยว่า แรงงานจะได้รับประโยชน์จากร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่นี้ และในที่สุดแล้วแรงงานหรือผู้ประกันตนก็จะกลายเป็นผู้สูญเสียประโยชน์ทั้ง ที่เป็นผู้จ่ายเงินสมทบ และเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริง

 

รวมทั้งต้องทบทวนให้มีการพิจารณาประเด็นอื่นๆอย่างรอบคอบร่วมด้วย เช่น ควรให้ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ ที่ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วสิ้นสุดการทำงานและการเป็นผู้ประกันตน รวมถึงในกรณีที่แรงงานข้ามชาติต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ให้ได้รับเงินบำเหน็จคืน โดยไม่ต้องรออายุครบ 55 ปี

 

ท้ายที่สุด คสรท.ขอแสดงเจตนารมณ์ตามที่เป็นมาโดยตลอดว่า หากรัฐบาลต้องการปฏิรูประบบประกันสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิมจริง กฎหมายประกันสังคมจะต้องไม่มีการลิดรอนสิทธิใดๆที่ผู้ประกันตนเคยได้รับมา ก่อน และต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายในการปฏิรูปกฎหมายประกันสังคมให้ เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานที่โปร่งใส มีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน มีความครอบคลุมในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง

 



02/Feb/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา