ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ผลการพิจารณาวาระ 3 ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ....ฉบับ สนช. เมื่อ 5 มีนาคม 2558

ณ วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 20.38 น. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 179 คน ได้ลงมติเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าว ซึ่งได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558

 

โดยมีผู้เห็นชอบ 173 คน ไม่เห็นชอบ 0 คน งดออกเสียง 5 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน

 

นี้คือ 16 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายฉบับนี้ นับจากครั้งสุดท้าย คือ ปี 2542

 

นับต่อไปอีก 4 เดือน ภายหลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 บังคับใช้กับผู้ประกันตนทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2557 สนช. ได้รับหลักการวาระ 1 ของร่างกฎหมายประกันสังคมที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 รวม 29 เรื่อง

 

ซึ่งต่อมาภายหลังการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พบว่า มีการแก้ไขร่างกฎหมายประกันสังคม ซึ่งแตกต่างจากฉบับที่รับหลักการในวาระ 1 รวม 14 เรื่อง

 

อีกทั้งยังมีผู้ขอแปรญัตติในบางมาตรารวม 7 เรื่อง  

 

อย่างไรก็ตามจากผลการพิจารณาในช่วงลงมติรายมาตราที่คณะกรรมาธิการฯได้มีการแก้ไขและมีผู้ขอแปรญัตติ พบประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง คือ

 

(1) ในมาตรา 40 ที่คณะกรรมาธิการฯได้แก้ไขว่า “การจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน” ซึ่งจากเดิมในร่างรัฐบาลเขียนไว้ว่า “การจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ ประกันตนมาตรา 40 แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน”

 

ในมาตรานี้ภายหลังการอภิปรายแล้ว ทางคณะกรรมาธิการฯได้ขอแก้ไขในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ ให้คงไว้เหมือนเดิมตามร่างรัฐบาล คือ รัฐสมทบไม่เกินกึ่งหนึ่งที่ผู้ประกันตนสมทบ

 

(2) ในมาตรา 77 ทวิ คณะกรรมาธิการฯไม่มีการแก้ไข โดยคงไว้ตามร่างรัฐบาล คือ “กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย สามารถเลือกใช้สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือไม่ก็ตาม และไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย”

 

อย่างไรก็ตามในมาตรานี้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอแปรญัตติโดย “ขอตัดทิ้งทั้งมาตรา” โดยเห็นว่ามีความแตกต่างและไม่เป็นธรรมกับผู้ประกันตนซึ่งมีสัญชาติไทยที่ไม่สามารถขอรับได้ ซึ่งจะขอรับได้เมื่ออายุ 55 ปี

 

ในมาตรานี้ภายหลังการอภิปรายแล้ว ทางผู้ขอแปรญัตติได้ขอถอนประเด็นที่นำเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปว่าให้คงไว้เหมือนเดิมตามร่างรัฐบาล คือ ได้รับบำเหน็จชราภาพเมื่อผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทยได้สิ้นสุดจากความเป็นผู้ประกันตนและเดินทางกลับประเทศต้นทาง

 

สามารถแสดงเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนได้ในรูปตารางเรียงตามมาตราร่าง พ.ร.บ. ดังนี้

 

อ่านต่อจนจบได้ที่นี่ครับ click หรือกดตรงนี้ครับ

 



10/Mar/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา