ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 กับรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย : 8 ประเด็น ลุ่มๆดอนๆกับอนาคตการปฏิรูปด้านแรงงาน มองผ่านมาตรา 41, 42, 44, 47, 48, 74,133,178

นับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2558 ที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะที่ได้ยกร่างขึ้นมา หลังจากนั้นทางคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง และเผยแพร่ต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 และได้นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงจนกลายเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ที่ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่จะถึงนี้

 

จากการทบทวนสาระสำคัญที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2540 ฉบับปี 2550 และข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็น “แรงงาน” เท่านั้น พบว่า รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติมีประเด็นที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)  รวม 8 ประเด็น ซึ่งพบในมาตรา 41, 42, 44, 47, 48, 74,133 และ 178 ดังนี้

 

ประเด็นที่ 1) มาตรา 41 ระบุว่า

บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ

(1) ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

(2) เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว

(3) ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ

 

ข้อสังเกตต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติในมาตรา 41 พบว่า มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และปี 2550 ที่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และการฟ้องหน่วยงานของรัฐ ได้ครอบคลุมถึงการที่ “บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน” ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติได้ตัดถ้อยคำในส่วนนี้ออกไป ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าถึงกระบวนการพิจารณาอย่างเป็นธรรมได้ โดยไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับผลการชี้แจงจากหน่วยงานรัฐเพียงเท่านั้น เช่น กรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ฟ้องร้องศาลปกครองกรณีสำนักงานประกันสังคมไม่ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ตามที่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้กำหนดไว้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางผู้ร้องต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อจะได้ข้อมูลอย่างรอบด้านและเป็นธรรม

 

อ่านได้ทั้งหมดได้ที่ http://voicelabour.org/?p=24639

และ http://www.ilaw.or.th/node/4207

และ http://www.komchadluek.net/news/politic/232629



24/Jul/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา